Petcharavejhospital.com
โปรโมชั่นสุขภาพ
คลายความกังวลใจ เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

เพิ่มเติม

เพิ่มเติม
บุคลากรแพทย์
นพ.ชัยสิทธิ์ สุริยานุสรณ์
ดูประวัติแพทย์
พญ.แพร ทรัพย์สำรวย
ดูประวัติแพทย์
นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์
ดูประวัติแพทย์
นพ.อุเทน บุญอรณะ
ดูประวัติแพทย์

เพิ่มเติม
บทความสุขภาพ
รู้จักความดันโลหิต สูงหรือต่ำเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  ปัญหาสุขภาพที่ใครสักคนหนึ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นได้มีหลายโรค เนื่องจากปัจจัยรอบตัวที่เต็มไปด้วยมลพิษและเชื้อโรคที่มากขึ้น แต่หลายคนอาจลืมไปแล้วว่าหนึ่งในโรคที่ควรระวังและมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกยุคสมัยโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับมลภาวะรอบตัว คือ โรคความดันโลหิต ที่มีทั้งความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ ด้วยความเสี่ยงที่สามารถเป็นได้ทุกช่วงวัย เราจึงควรศึกษาข้อมูลของโรคนี้ก่อนจะสายเกินไป     ความดันโลหิตคืออะไร ?   ความดันโลหิตเป็นค่าความดันของกระแสเลือดที่ส่งแรงกระทบกับผนังหลอดเลือดแดง โดยเกิดจากกระบวนการสูบฉีดเลือดของหัวใจ สามารถวัดความดันโลหิตได้ 2 ค่า คือ ค่าความดันช่วงบนจากการบีบตัวของหัวใจ และค่าความดันช่วงล่างจากการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากค่าความดันโลหิต คือ ความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ โดยเราสามารถตรวจหาอาการดังกล่าวได้ด้วยการวัดค่าความดันโลหิต     การเตรียมตัวเพื่อเข้าวัดความดันโลหิต   ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ กาแฟ ไม่ควรออกกำลังกาย และควรปรับสภาวะอารมณ์ให้เป็นปกติ ไม่ควรมีภาวะทางอารมณ์เหล่านี้ เช่น โมโห โกรธ เครียด เป็นต้น   สวมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ  ไม่รัดแน่นจนเกินไป   พักก่อนทำการตรวจวัดความดันเป็นเวลา 5-15 นาที   ควรปัสสาวะก่อนทำการวัดความดัน   ไม่ควรพูดคุยมากเกินไปในขณะที่ทำการวัดความดัน     ความดันโลหิตต่ำ คือ ?    เป็นภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากความดันเลือดซิสโตลิกและไดแอสโตลิกต่ำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นทั้งคู่ได้ โดยทั่วไปอาการของความดันโลหิตต่ำอาจหายเองได้หากผ่านไปช่วงขณะหนึ่ง แต่บางรายที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการต่อไป     สาเหตุของการเกิดความดันโลหิตต่ำ   ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินซี โปรตีน ส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรงและเกิดการคลายตัวมากเกินไป   มีการสูญเสียโลหิตกะทันหัน เช่น การเสียเลือดขณะเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น   การสูญเสียน้ำกะทันหัน เช่น ท้องเสียหรือเหงื่อออก   ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง หรือโรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น    การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาลดความดัน         ความเครียด ภาวะซึมเศร้า พักผ่อนน้อย     อาการของความดันโลหิตต่ำ   ปกติแล้วความดันโลหิตต่ำจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากอยู่ในภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นชั่วคราว ดังนี้         เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมกะทันหัน   ใจเต้นแรง ใจสั่น   กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ    ตาพร่ามัว คลื่นไส้   เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย กระหายน้ำ   หน้ามืดเมื่อมีการเปลี่ยนท่านั่ง หรือลุกขึ้นยืนกะทันหัน      ประเภทของความดันโลหิตต่ำ มีอะไรบ้าง ?    ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหาร    ส่วนมากจะมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ซึ่งการรับประทานอาหารเยอะเกินไป อาจทำให้เลือดไหลไปที่ระบบทางเดินอาหารมากกว่าปกติ   ความดันโลหิตต่ำจากความเสียหายของระบบประสาท   อาการของความดันโลหิตต่ำประเภทนี้พบได้น้อยมาก ซึ่งหากเกิดอาการขึ้นมา จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลางที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบประสาท เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต หรือการหายใจ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลกระทบให้เกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน และความดันโลหิตสูงเมื่อนอน    ความดันโลหิตต่ำจากความผิดปกติของสมอง   ส่วนมากจะเกิดขึ้นในเด็กและผู้ใหญ่ ความดันโลหิตต่ำประเภทนี้เกิดมาจากความผิดพลาดของสมองและหัวใจ ทำให้เป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำหลังจากยืนเป็นเวลานาน   ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนอิริยาบถแบบกะทันหัน   เกิดจากความดันโลหิตที่ลดลงอย่างเฉียบพลัน เมื่อลุกขึ้นยืนหรือนั่ง โดยระยะเวลาของอาการจะอยู่ประมาณ 5 - 10 นาทีหลังจากมีการเปลี่ยนอิริยาบถ      การวินิจฉัยความดันโลหิตต่ำ    การตรวจเลือด เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ   การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการทดสอบจังหวะการเต้นของหัวใจ ว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่   การทดสอบระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ เพื่อดูค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยขณะเปลี่ยนอิริยาบถ   การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เพื่อบันทึกการทำงานของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงด้วยเครื่องบันทึกการทำงานของหัวใจขนาดเล็ก    การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อดูการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพราะความผิดปกติของหัวใจบางชนิด อาจตรวจพบเมื่อหัวใจทำงานหนักหรือมีการสูบฉีดเลือดมากขึ้น   ตรวจปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง แพทย์จะส่งบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ป่วย เพื่อเก็บปัสสาวะในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นจะนำเข้าห้องตรวจปฏิบัติการ โดยระหว่างก่อนคืนบรรจุภัณฑ์ให้แพทย์ ผู้ป่วยควรเก็บปัสสาวะไว้ในที่เย็น     การดูแลร่างกายเมื่อความดันโลหิตต่ำ   หากมีอาการความดันโลหิตต่ำควรนั่งพัก หรือนอนลงทันทีโดยพยายามยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง    หลีกเลี่ยงการยืน หรือนั่งนาน ๆ   หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในเวลากลางคืน และพยายามลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง   เคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้เพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการไขว้ขา หรือบิดตัว เป็นต้น         พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนดึก เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตต่ำลง     เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ   อาหารกลุ่มโปรตีน เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ไข่ เนื้อสัตว์    วิตามินบี เช่น เนื้อหมู ไก่ ถั่ว ข้าวกล้อง ไข่แดง ตับ ผักใบสีเขียวเข้ม   ไขมันดีจากปลา    หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันหรือโซเดียมสูง เช่น เบคอน ไส้กรอก หมูยอ เป็นต้น   หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ผลไม้ดอง   หลีกเลี่ยงขนมอบทุกชนิด เพราะมีส่วนประกอบโซเดียมสูง     ความดันโลหิตสูง คือ ?   หากวัดค่าความดันโลหิตปกติจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งวัดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ (ความดันช่วงบนและช่วงล่าง) แต่หากวัดแล้วได้ค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง โดยหากต้องการความแน่นอนมากขึ้น ควรวัดเพิ่มอีกหลังได้ค่าความดันโลหิตสูงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง อีกประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ นอกจากนี้ค่าความดันที่สูง อาจไม่ได้หมายถึงการเป็นความดันโลหิตสูงเสมอไป     สาเหตุของการเกิดความดันโลหิตสูง   โดยปกติผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูงมักจะตรวจไม่พบสาเหตุ แต่หากมีการตรวจพบ มักมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะอื่น ๆ เช่น    พันธุกรรม   โรคไต หลอดเลือดแดงตีบ หลอดเลือดไตตีบ    เกิดเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต   โรคประจำตัว เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น   เกิดจากพฤติกรรมหรือสาเหตุเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป         นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ      อาการของความดันโลหิตสูง   ปวดศีรษะเฉียบพลัน อาเจียน         ใจสั่น เหนื่อยง่ายแบบผิดปกติ   เจ็บหน้าอกรุนแรง   สูญเสียการมองเห็นจากตาข้างใดข้างหนึ่งชั่วขณะ   แขนและขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง      ความดันโลหิตสูง มีระดับความรุนแรงใดบ้าง ?    ความดันโลหิตระดับที่ดี ค่าความดันจะต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท    ความดันโลหิตระดับปกติ ค่าความดันจะอยู่ระหว่าง 120-129/80- 84 มิลลิเมตรปรอท   ความดันโลหิตระดับค่อนข้างสูง ค่าความดันจะอยู่ระหว่าง 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท    ความดันโลหิตสูง ระดับเริ่มแรก ค่าความดันโลหิตจะอยู่ระหว่าง 140-159/90-99 มิลลิเมตรปรอท   ความดันโลหิตสูง ระดับปานกลาง ค่าความดันโลหิตจะอยู่ระหว่าง 160-179/100-109 มิลลิเมตรปรอท   ความดันโลหิตสูง ระดับรุนแรง ค่าความดันโลหิตจะมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป     การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง    แพทย์จะวินิจฉัยโดยดูจากการวัดค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยเป็นหลัก และจะมีการตรวจหลายครั้ง เพื่อความแม่นยำของผลตรวจ หลังจากนั้นแพทย์จะดำเนินการรักษาตามสาเหตุของอาการต่อไป     การดูแลตนเองเมื่อเกิดความดันโลหิตสูง   หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน   ยาที่ผู้ป่วยรับประทานอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้ และรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด   ควบคุม และจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์         ดูแล และรักษาสุขภาพจิตให้เป็นปกติ พยายามผ่อนคลาย ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี หมั่นบริหารสุขภาพจิตอยู่เสมอ เช่น การนั่งสมาธิ การเล่นโยคะ ร้องเพลง หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ได้     เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง   ธัญพืชชนิดต่าง ๆ โดยเน้นไปที่ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพื่อเพิ่มกากใยและช่วยในการขับถ่าย พร้อมลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง   ผักและผลไม้ เพื่อเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานภายในร่างกาย   เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลาหรือเนื้อแดงที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง เป็นต้น   ไขมันหรือน้ำมัน ควรรับประทานไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน เน้นรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันดี เพราะไขมันจะช่วยดูดซึมวิตามินชนิดละลายน้ำด้วย    ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง ถั่วอัลมอนด์ ควรรับประทาน 30 กรัมหรือ 2 ช้อนโต๊ะ/วัน      ความดันโลหิตเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย และสามารถหายเองได้ แต่หากท่านใดเกิดอาการผิดปกติขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายได้ ห้ามปล่อยให้หายเองตามธรรมชาติเด็ดขาด   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   ศูนย์ตรวจสุขภาพ   ตรวจสุขภาพประจำปี 2567   เวียนหัว บ้านหมุน สัญญาณบอกโรคที่ไม่ควรนิ่งเฉย   เป็นความดันสูง-ต่ำควรทำอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม
โรคอ้วน สัญญาณเตือนของความเสี่ยงหลายโรคร้าย
  อ้วน เป็นคำที่มีความหมายบาดลึกลงไปถึงขั้วหัวใจ และเป็นปัญหาที่หลายคนกำลังประสบอยู่ บางคนอาจจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคอ้วน แต่บางคนกลับยังไม่รู้ตัว แถมยังคงทำพฤติกรรมเสี่ยงที่เปรียบเหมือนการนับถอยหลังเวลาชีวิตของตัวเอง เพราะโรคนี้สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรงได้     สาเหตุของโรคอ้วน   โรคอ้วน เป็นชื่อเรียกสภาวะทางร่างกายที่มีการสะสมไขมันในปริมาณมาก เพราะร่างกายได้รับพลังงานมากกว่าที่ต้องการในแต่ละวัน และไม่สามารถเผาผลาญออกไปได้จนหมด จึงมีการสะสมพลังงานส่วนเกินไว้ในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วนขึ้นได้ เช่น    ปัจจัยที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม   เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์   โรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วน เช่น โรคถุงน้ำรังไข่ หรือภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ เป็นต้น         โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ   การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนสเตียรอยด์ ยาแก้อาการซึมเศร้า เป็นต้น      โรคอ้วนมีเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร ?    คนที่เป็นโรคนี้ สามารถสังเกตตัวเองได้ง่าย ๆ คือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น แขนและขาใหญ่ขึ้น พุงใหญ่ขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีวัดดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งคำนวณได้จากสูตรน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ตัวอย่างเช่น    นายเพชรเวชน้ำหนัก 56 กิโลกรัม ส่วนสูง 165 เซนติเมตร (1.6 เมตร) เมื่อเข้าสูตรน้ำหนัก 56 กิโลกรัมหารด้วยส่วนสูง 1.6 เมตร จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 20.56   หากมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 แสดงว่ากำลังเป็นโรคอ้วน และวิธีสุดท้ายที่จะบอกได้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือไม่ คือการวัดรอบเอว โดยผู้ชายจะต้องมีเส้นรอบเอวไม่เกิน 90 เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงจะต้องมีเส้นรอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตร     ชนิดของโรคอ้วน   อ้วนลงพุง         ผู้ป่วยจะมีการสะสมไขมันที่บริเวณช่องท้อง และอวัยวะภายในเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลำไส้ หรือกระเพาะอาหาร เป็นต้น ซึ่งไขมันในบริเวณนี้ จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น   อ้วนทั้งตัว    ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายโดยไม่ได้เจาะจงว่าอยู่ในตำแหน่งใด เพราะไขมันจะกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย     ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอ้วน   พฤติกรรมการกิน รับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมากจนเกินไป เช่น ขนมหวาน อาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม เป็นต้น   กรรมพันธุ์ หากพ่อและแม่เป็นโรคอ้วน ลูกมีสิทธิ์ที่จะเป็นด้วยมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าพ่อหรือแม่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นโรคอ้วน ลูกมีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคอ้วน 40 เปอร์เซ็นต์   ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย คือการเผาผลาญไขมันออกจากร่างกาย หากเราไม่ออกกำลังกายไขมันส่วนเกินจะไม่ถูกกำจัดออกไป และจะยังคงสะสมอยู่ในร่างกายของเรา   อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคอ้วน เพราะร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลง     ผลกระทบที่เกิดจากโรคอ้วน   มีอาการเหนื่อยหอบ หรือเหงื่อออกได้ง่าย หากทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก    ไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้อย่างสะดวกสบาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายจะยากลำบากกว่าบุคคลอื่น         มีอาการนอนกรน และหายใจติดขัด จนอาจเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้     ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน   โรคนี้ส่งผลต่อภาพรวมของร่างกายอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ได้แก่   โรคข้อเสื่อม    เนื่องจากคนที่เป็นโรคอ้วนมักมีน้ำหนักตัวมากกว่าคนทั่วไป จึงส่งผลโดยตรงต่อการเคลื่อนไหว แน่นอนว่ารวมถึงข้อเข่าที่ต้องรับน้ำหนักตัวในการเดินในแต่ละก้าวด้วย ดังนั้น โรคนี้จึงเป็นเหมือนตัวเร่งความเสี่ยงให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง   โรคหัวใจและหลอดเลือด    เมื่อเป็นโรคอ้วน เลือดของเราจะมีไขมันและคอเลสเตอรอลมากขึ้น เป็นผลให้เส้นเลือดในร่างกายมีขนาดที่หนาขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวกจนเกิดการอุดตัน และหากปล่อยไว้สามารถส่งผลร้ายแรงจนถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตายได้   โรคเบาหวาน    อย่างที่เราทราบกันดีว่าคนที่เป็นโรคอ้วนลงพุงแบบนี้ จะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เนื่องจากตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้ไม่ดีเหมือนคนทั่วไป จึงมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพราะร่างกายต้องการใช้อินซูลินเพื่อย่อยน้ำตาลนั่นเอง   ไขมันพอกตับ   เกิดจากตับมีปริมาณไขมันมากเกินไป เนื่องจากพฤติกรรมการทานอาหารที่มีไขมัน เมื่อตับมีปริมาณไขมันสะสมมากเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดไขมันพอกตับได้ในที่สุด   กรดไหลย้อน   เนื่องจากผลกระทบจากโรคอ้วน ส่งผลให้ความดันในร่างกายเพิ่มมากขึ้นในบริเวณช่องท้อง รวมไปถึงกระเพาะอาหาร เป็นผลให้อาหารรวมถึงกรดในกระเพาะอาหาร ถูกดันกลับไปที่หลอดอาหารจนกลายเป็นกรดไหลย้อนในที่สุด   ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ    ภาวะนี้เกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้ลำคอมีไขมันเยอะ จนเป็นเหตุให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ส่งผลให้เป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ   ภาวะแทรกซ้อนอื่น   เช่น ประจำเดือนเกิดความผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น    ถ้าหากน้ำหนักตัวลดลง ปริมาณไขมันในร่างกายจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ภาวะเหล่านี้บรรเทาลงเช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในการรักษาโรคอ้วน รวมถึงการดูแลพฤติกรรมการทานอาหารของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว     การวินิจฉัยโรคอ้วน   โรคนี้สามารถตรวจหาได้ด้วยวิธีการดูค่า BMI ถ้าหากผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น ซักถามประวัติ พร้อมสอบถามพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหาร เป็นต้น จากนั้นจะเป็นการดูประวัติสุขภาพของครอบครัว ถ้าหากผู้ป่วยเข้าข่ายการเป็นโรคอ้วน แพทย์อาจจะมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจหาค่าระดับน้ำตาลหรือไขมันภายในเลือด เพื่อดูความผิดปกติ และจะดำเนินการเข้าสู่การรักษาต่อไป      การรักษาโรคอ้วน   สำหรับการรักษาในเบื้องต้น ผู้ป่วยต้องควบคุมอาหารและดูแลสุขภาพมากขึ้น เช่น ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้น้ำหนักลดลงและได้สุขภาพที่ดียิ่งขึ้น แต่ในบางกรณีแพทย์อาจให้ทานยาที่มีผลต่อการลดน้ำหนัก แต่กรณีนี้ต้องอยู่ภายในการดูแลของแพทย์และต้องทำตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ในบางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดก่อนการเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป เช่น การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร หรือการผ่าตัดบายพาส และการส่องกล้องเพื่อเย็บกระเพาะอาหาร เป็นต้น      การป้องกันโรคอ้วน   การป้องกันโรคนี้ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องพึ่งความตั้งใจและการไม่ปล่อยปละละเลย เช่น   ควบคุมและปรับพฤติกรรมการทานอาหารให้ดีขึ้น พยายามไม่ทานอาหารจำพวกของทอดติดมันมากเกินไป         การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง    ควรชั่งน้ำหนักเป็นประจำเพื่อให้รู้แนวทางในการปฏิบัติตนเอง เพื่อให้มีน้ำหนักตรงตามมาตรฐานต่อไป     ทำไมต้องเข้าพบแพทย์หรือต้องลดน้ำหนักเมื่อเป็นโรคอ้วน ?    เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ    หากลดน้ำหนักจะเป็นการช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น    เป็นการลดไขมันไตรกรีเซอไรด์ ไขมันเลว คอเลสเตอรอล และเพิ่มไขมันดีให้กับร่างกายแทน    ช่วยลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีกว่าเดิม     โรคอ้วน เป็นโรคที่เกิดจากความอยากทานตามใจปากของเราเสียมากกว่า ดังนั้นหากเราชนะใจตนเองได้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารพร้อมกับการออกกำลังกาย เราจะห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ได้หลายโรครวมถึงโรคอ้วนด้วย หากผู้ป่วยท่านใดมีอาการผิดปกติที่รุนแรง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาในทันที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   ศูนย์ตรวจสุขภาพ   ตรวจสุขภาพประจำปี 2567   ไลฟ์สไตล์กับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง   โรคอ้วนในเด็ก โรคที่ผู้ปกครองต้องดูแลใส่ใจอย่างจริงจัง
อ่านเพิ่มเติม
24
ชม. อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
58
ONLINE : IPD
1500
รับผู้ป่วยเฉลี่ย : วัน
46
ปี ที่ดูแล