เชื่อว่าถ้าหากพูดชื่อของโรคนี้ขึ้นมา หลายคนคงสงสัยว่ามันคือโรคอะไร ถ้าหากเด็กมีไข้, ผื่นขึ้น และสิ่งที่แปลกคือสีของลิ้นแดงคล้ายกับสตรอว์เบอร์รี อย่าเพิ่งไว้วางใจว่าเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา เพราะอาจเสี่ยงเป็น “ไข้อีดำอีแดง” ได้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับโรคนี้กันให้มากขึ้น เพื่อให้ท่านสามารถดูแลลูกได้อย่างปลอดภัย และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคนี้
“ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever)” คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มักพบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนอายุ 5-15 ปี เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่เรียกว่า “สเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (Group A Streptococcus)” ซึ่งเป็นเชื้อตัวการเดียวกับที่ทำให้เกิดคออักเสบ แต่ในบางรายเชื้อนี้อาจกระตุ้นให้เกิดผื่นและอาการเฉพาะอื่น ๆ ตามมาได้
โรคนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทาง
ละอองฝอยในอากาศจากการไอหรือจามที่แพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น
การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
การใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วย เช่น ช้อน, แก้วน้ำ, ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
เชื้อสามารถแฝงอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ และแพร่สู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าหากได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะสามารถหยุดแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
ไข้ขึ้นสูงแบบทันที ร่วมกับมีอาการเจ็บคอ
มีผื่นขึ้นตามตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ, แขน, ขา และลำตัว
ผื่นจะมีลักษณะคล้ายกับกระดาษทราย
ลิ้นแดงนูนและอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ายสตรอว์เบอร์รี
ผิวลอกหลังจากผื่นเริ่มหายประมาณ 1 สัปดาห์
โรคไข้รูมาติก ที่อาจมีผลกระทบต่อหัวใจ
ไตอักเสบแบบเฉียบพลัน
แพทย์จะประเมินอาการร่วมกับการตรวจร่างกาย และอาจมีการเก็บตัวอย่างจากคอด้วยวิธี Strep Test : Rapid และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการติดเชื้อ
ยาเพนิซิลลิน (Penicillin)
อะม็อกซิซิลลิน (Amoxicillin)
อีริโทรไมซิน (Erythromycin)
ควรรับประทานยาต่อเนื่องให้ครบตามที่แพทย์สั่งแม้อาการจะดีขึ้นแล้ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ดื่มน้ำให้มาก ๆ
หากได้รับการรักษาแล้ว จากนั้นเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น ปวดข้อ, ปัสสาวะมีสีแดงหรือเลือดปน, มีไข้, เหนื่อยง่าย เป็นต้น ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการทันที
รักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด
แยกของใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ, จานชาม และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องดูแลผู้ป่วย
ควรเฝ้าระวังอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ควรให้เด็กไปโรงเรียนจนกว่าจะได้รับยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และอาการหายดีแล้ว
ให้เด็กพักผ่อนในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท
ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
เช็ดตัวลดไข้เมื่อร่างกายเด็กมีอุณหภูมิสูง
ทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวในบ้าน, โรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็กเสมอ
หากอาการของเด็กไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือเริ่มสังเกตว่ามีอาการแทรกซ้อน ควรพาเข้าพบแพทย์ทันที
ไข้อีดำอีแดง เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในเด็ก ถ้าหากรู้เท่าทันจะสามารถรักษาและป้องกันได้ การหมั่นสังเกตอาการ และติดตามอย่างใกล้ชิดคือกุญแจสำคัญของพ่อแม่ ในการปกป้องลูกจากโรคนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง