Petcharavejhospital.com
Health promotion
Without extra charge

More

More
Doctor
Dr.PEAR SUBSAMROUY
Obstetrics and Gynecologist Clinic
Doctor profile
Dr.WARIN WESARACHAWIT
Surgery Center
Doctor profile
Dr.PHUWASIT TRIJAKSUNG
Surgery Center
Doctor profile
Dr.UTAIN BOONORANA
Neuroscience Center
Doctor profile

More
Health articles
อาหารติดคอ อุบัติเหตุจากการกลืนผิดปกติ
อาหารติดคอ คือ อุบัติเหตุขณะรับประทานอาหาร โดยการกลืนตามปกติแล้ว จะผ่านโคนลิ้นเข้าไปในคอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร กล่องเสียงจะยกขึ้นมาชิดกับฝาปิดร่วมกับการกลั้นหายใจ เพื่อไม่ให้เศษอาหารติดอยู่ในหลอดลม เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าสู่ทางเดินอากาศหายใจขณะอาหารอยู่ในช่องปากจึงเกิดการสำลัก ฝาปิดกล่องเสียงจะเปิดพร้อมกับการหายใจเข้าอย่างแรง สิ่งที่เราเคี้ยวเข้าไปจึงติดอยู่บริเวณอวัยวะทางเดินอาหารหรือช่วงทรวงอก     สาเหตุที่ทำให้อาหารติดคอ   ประมาท   เช่น การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด, รีบรับประทานจนเกินไป, ไม่ระมัดระวังกระดูกจากเนื้อสัตว์หรือเมล็ดผลไม้   เด็กเล็ก   วัยนี้จะหยิบจับอะไรก็มักจะนำเข้าปาก บางอย่างไม่ใช่ของที่รับประทานจึงทำให้ติดคอได้ รวมทั้งฟันกรามยังไม่แข็งแรงที่จะสามารถเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่   อุบัติเหตุ   โดยเฉพาะผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือเพิ่งได้รับการรักษาทางทันตกรรมและช่องปาก   โรคหรือภาวะความผิดปกติ   หลอดอาหารเป็นอัมพาต   โรคประสาทที่ส่งผลต่อการกลืน   ผู้ป่วยทางจิตเวช         อาการเมื่ออาหารติดคอ   ทางเดินอาหาร   เจ็บคอขณะพูดหรือกลืน รวมทั้งหน้าอก   น้ำลายไหล   อาเจียน   กล่องเสียง   ไอ   เสียงแหบ   หายใจเสียงดัง   หอบ   ตัวเขียว   ดิ้นทุรนทุราย   หลอดลม   หายใจลำบาก   มีเสมหะปนโลหิตหรือหนอง   เกิดความผิดปกติแทรกซ้อน โดยเฉพาะปอดและทางเดินหายใจ         การวินิจฉัยอาหารติดคอ   ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติ ถามอาการเจ็บปวดที่ตรงบริเวณใด อาหารที่รับประทานครั้งล่าสุดคืออะไร หลังจากนั้นก็ตรวจร่างกายเบื้องต้น โดยการดูคอ หากมีเศษอาหารติดค้างอยู่ที่บริเวณโคนลิ้น ต่อมทอนซิล แพทย์จะใช้เครื่องมือคีบออกมา หากไม่พบจะใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีนำมาหาความผิดปกติบที่หน้าอก หรือช่องท้อง ได้แก่   การเอกซเรย์   เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)   สอดกล่องส่องเข้าไปในปาก         อาหารติดคอปฐมพยาบาลอย่างไร   วัยผู้เด็กโตหรือผู้ใหญ่   ยืนอยู่ด้านหลังผู้ป่วย   โอบรอบใต้รักแร้ มือข้างหนึ่งกำแล้วหันกำปั้นด้านนิ้วหัวแม่มือเข้าไปที่หน้าท้องผู้ป่วย แล้ววางไว้เหนือสะดือแต่สูงต่ำกว่าลิ้นปี่ มืออีกข้างโอบกำปั้นไว้   รัดกระตุกที่หน้าท้องเข้าพร้อมกัน แรง ๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก หรือผู้ป่วยสามารถพูด ร้องออกมาได้   โทรแจ้งเจ้าหน้าที่นำตัวส่งโรงพยาบาลทันที   ผู้ป่วยหมดสติ   จัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงาย ทำ CPR   กดหน้าอกนวดหัวใจ ช่วยหายใจโดยการเปิดปากนำสิ่งแปลกปลอมออกมา   เด็กเล็ก   จัดท่าทางของน้องให้นอนคว่ำหน้าพาดท่อนแขนไว้   ประคองศีรษะให้ต่ำกว่าลำตัว   ใช้ฝ่ามือกระแทกบริเวณสะบักด้านหลัง   สลับกับการนอนหงาย 5 ครั้ง ติดต่อกันอย่างรวดเร็ว   หากเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากให้ล้วงออก   หากทำแล้ว 3 ครั้ง อาการยังไม่ดีขึ้น รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน         การป้องกันอาหารติดคอ   สำหรับผู้ใหญ่ควรระมัดระวังขณะรับประทานอาหารโดยการ   นั่งตัวตรง อิ่มเสร็จแล้วห้ามนอนทันที ควรนั่งพักหรือเดินย่อยสัก 15 – 20 นาที   แบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็กพอดีคำ   เคี้ยวให้ละเอียด อย่างช้า ๆ   หากเหนื่อยหรือรีบเร่งควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหาร รวมทั้งการพูดคุยหรือเดิน   รับประทานอาหารที่บดเคี้ยว สลับกับอาหารเหลว เพื่อให้กลืนอาหารง่ายไม่ฝืดคอ   อาหารที่แข็งหรือแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุปช่วยให้นุ่มขึ้น   เด็กเล็ก   สั่งสอนห้ามนำสิ่งของเข้าปาก   แสดงท่าทางขณะรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะให้เป็นตัวอย่าง ไม่โยนอาหารเข้าปากให้เห็น   ระมัดระวังเศษกระดูก ก้างปลา เมล็ดผลไม้ ก่อนรับประทานอาหาร   เลือกเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับความแข็งแรงของฟัน     อาหารติดคอสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เกิดการระคายเคือง เป็นแผลบริเวณหลอดอาหาร สามารถร้ายแรงถึงขั้นขาดอากาศหายใจกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา และเสียชีวิตลงในที่สุด หากอุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นขณะรับประทานอาหารได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างปลอดภัยแล้ว ก็ควรที่จะมาตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้       เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง     คลินิกหูคอจมูก     ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง
Read more
การยศาสตร์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความเสี่ยงสุขภาพ
การยศาสตร์ (Ergonomics) คือ วิทยาการทำงาน โดยใช้วิทยาศาสตร์เชื่อมโยงสัมพันธ์กับเนื้องาน บุคลากร สภาพแวดล้อม เพื่อออกแบบลักษณะของการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพหรืออันตรายจากอุบัติเหตุ หากนำหลักการนี้มาใช้ย่อมส่งผลดีต่อภาพรวมทั้งหมดขององค์กรทั้งนายจ้าง พนักงาน ผู้ประกอบกิจการ เพราะนักวิชาการ ผู้วิจัย ตระหนักถึงสุขภาพอนามัยที่ดีของทุกฝ่าย     การยศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร   ปัญหาสุขภาพที่มาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นสิ่งที่พนักงานหลายคนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสายผลิตที่ลักษณะเนื้องานจะต้องทำแบบเดิมซ้ำ ๆ จำเจ เป็นระยะเวลานาน จึงมีความเสี่ยงมากกว่าสายงานอื่น ซึ่งมันส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน เกิดการขาด ลา งานบ่อย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่งสูงขึ้น รวมทั้งรายได้ที่ลดลงจากการสูญเสียความสามารถของบุคลากร   ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงาน ในรูปแบบเครื่องจักรกล ต่าง ๆ จึงต้องทำให้มนุษย์ปรับตัวเข้ากับเครื่องมือเหล่านี้ เพื่อความสะดวกสบาย ลดขั้นตอนการดำเนินงาน เพิ่มยอดขายหรือผลผลิต ดังนั้นจึงต้องใช้หลักการยศาสตร์ลดความเสียหายจากอันตรายที่เกิดกับบุคลากร โดยใช้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ ดังนี้   ความชำนาญ   ความเหมาะสม   เพศ   ตำแหน่งหรือพื้นที่   ลักษณะการเคลื่อนไหว   ระยะเวลา   สภาพแวดล้อม         การยศาสตร์มีอะไรบ้าง   กายวิภาคศาสตร์   ศึกษาขนาด รูปร่าง อิริยาบถท่าทาง ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ   ชีวกลศาสตร์ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้แรงขณะทำงาน   สรีรวิทยา   ศึกษาการใช้พลังงานที่ไม่สมดุลกัน เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย   สภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะ เช่น แสงไฟ อากาศ เสียง   จิตวิทยา   ใช้ความชำนาญ วิเคราะห์ภาพรวมของเนื้องาน และตัดสินใจก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่ก่อความเสียหายต่อองค์กร         ประโยชน์ของการยศาสตร์   ลดต้นทุน   ค่าใช้จ่ายทางการรักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าแรง เป็นต้น   เพิ่มผลผลิต   เมื่อมีการปรับปรุงในสายการผลิตผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางที่ดี ออกแรงหรือเคลื่อนไหวน้อย ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงาน   ปรับปรุงคุณภาพ   หากพนักงานเจ็บป่วย สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้เช่นกัน ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง   เพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากร   องค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพของพนักงาน จะไม่เกิดความร่วมมือ เกิดการขาดงาน ลาออกมากขึ้น   สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย   การส่งเสริมความปลอดภัยสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงาน ภาพรวมในทิศทางที่ดีขึ้น         การออกแบบตามหลักการยศาสตร์   ออกแบบเบื้องต้น   ทำความเข้าใจระบบและผลิตภัณฑ์   นำมาวิเคราะห์จาก 2 ปัจจัยนี้   ตัดสินใจเลือกใช้บุคลากร เครื่องมือ ในการผลิตสินค้าออกจำหน่าย   รายละเอียด   จากการวิเคราะห์สามารถสร้างรายละเอียด ระบบการทำงานหรือรูปแบบของผลิตภัณฑ์   การทดสอบ   นำบุคลากรทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีเครื่องมือจักรกลเป็นระบบตามที่วางไว้หรือไม่ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามยอดที่คาดการณ์ไว้มากน้อยเพียงใด หลังจากนั้นจึงนำมาแก้ไขคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น      มนุษย์เรานั้นมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ความรู้และความสามารถ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะพบเห็นคนทำงานแล้วจะมีความเจ็บป่วย เมื่อยล้า หมดกำลังใจ เมื่อนำหลักการยศาสตร์นำมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่แค่สุขภาพ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพของพนักงาน หรือยอดขาย การลดค่าใช้จ่าย แต่มันรวมถึงการวางแผนพัฒนาองค์กรในอนาคต       ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม     ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : info@petcharavej.com  หรือสอบถามช่องทาง Line : @petcharavej คลิก
Read more
44
Years of caring
256
Corporate Clients
901
Counter IPD/OPD : Month
452
Surgery Technology : Month