ต่อมลูกหมากมีลักษณะคล้ายเมล็ดเกาลัดอยู่รอบท่อปัสสาวะในบริเวณปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ และผลิตน้ำเมือก ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าต่อมลูกหมากคือลูกอัณฑะ แต่อัณฑะจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะย่อยสลายฮอร์โมนเพศชายมากขึ้นทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในต่อมลูกหมากมีปริมาณเพิ่มขึ้น การที่ต่อมลูกหมากโตขึ้นผิดปกติอาจเป็นที่มาของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) เป็นมะเร็งที่พบได้มากในเพศชาย โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยเกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากเจริญเติบโตผิดปกติ และรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนมะเร็งอุดตันทางเดินปัสสาวะในที่สุด โดยเซลล์มะเร็งเหล่านี้จะสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไต ตับ และปอด ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหาย และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การแบ่งระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์จะพิจารณาดูจากขนาดของก้อนเนื้อและการกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ดังนี้
โรคนี้เป็นโรคที่ค่อย ๆ สะสมและจะไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรกจนกระทั่งเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตไปกดทับท่อปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการปัสสาวะ ดังนี้
หากเชื้อมะเร็งลุกลามอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมาอีก เช่น ปวดหลัง ปวดสะโพก น้ำหนักลด อ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก การตรวจหาความผิดปกติจึงมีความจำเป็น โดยโรคนี้สามารถใช้วิธีตรวจได้หลายประการ ดังนี้
โรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการกระจาย และแพร่เข้าไปในอวัยวะใกล้เคียงจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา เช่น
ขึ้นชื่อว่ามะเร็งหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความจำเป็นเพราะจะช่วยให้เราสามารถทราบว่าเรามีความเสี่ยงของการเป็นโรคใดหรือไม่ หากตรวจพบจะสามารถวางแผนในการรักษาที่ถูกต้อง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย