ไข้ไทฟอยด์
ไข้ไทฟอยด์ โรคอันตรายที่หลายคนไม่คุ้นชื่อ

ไข้ไทฟอยด์, ไข้สากน้อย (Typhoid, Enteric fever) โรคที่น้อยคนจะรู้จัก ยังเคยมีประวัติว่าไข้ไทฟอยด์ เคยก่อให้เกิดความเจ็บปวด และการสูญเสียในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกด้วย แต่ประเทศที่มีแหล่งอุตสาหกรรม หรือพัฒนาแล้ว จะพบโรคนี้ได้น้อย

 

 

สาเหตุการเกิดไข้ไทฟอยด์

 

 

 

 

ไข้ไทฟอยด์ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรง ที่เรียกว่า Salmonella Typhi โดยสามารถติดต่อได้ ผ่านการแพร่กระจายจากคนสู่คน เช่น การรับประทานอาหาร น้ำที่มีการปนเปื้อน และการสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีเชื้อ เป็นต้น แต่ถึงแม้ผู้ป่วยที่เป็นไข้ไทฟอยด์ จะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้ว แต่เชื้ออาจจะยังค้างอยู่ภายในถุงน้ำดี หรือลำไส้ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงนับเป็นพาหะนำโรค 

 

 

ไข้ไทฟอยด์ มีอาการอย่างไร

 

 

  • ช่วงแรกจะมีไข้ต่ำ แต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลางคืน

 

 

 

 

 

 

  • ผื่นขึ้นที่บริเวณหน้าอก และท้อง

 

 

 

 

  • เบื่ออาหาร และน้ำหนักตัวลดลง

 

 

ไข้ไทฟอยด์ จะมีระยะฟักตัวอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แต่จะแสดงอาการช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 นับจากตอนที่ได้รับเชื้อ 

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ไทฟอยด์

 

 

 

 

  • มีฝีกระจายทั่วร่างกาย กระดูก เยื่อบุหัวใจ และถุงน้ำดีเกิดการอักเสบ

 

 

  • มีการตกเลือดในลำไส้ 

 

 

กลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อไข้ไทฟอยด์

 

 

  • ผู้อาศัย หรือผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

 

 

  • การทำงานในห้องปฏิบัติการที่มีความเสี่ยง ที่จะได้รับการสัมผัสกับเชื้อโรค

 

 

  • มีบุคคลใกล้ตัว หรือบุคคลในครอบครัว ป่วยเป็นไข้ไทฟอยด์

 

 

การวินิจฉัยไข้ไทฟอยด์

 

 

การทดสอบไวดาล

 

 

 เป็นการตรวจหาแอนติบอดี้ร่างกายของเชื้อในส่วนที่เป็น O และ H มักจะตรวจพบหลังจากที่ผู้ป่วยเกิดอาการมาแล้ว 7-10 วัน แต่วิธีนี้จะได้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับการเพาะเชื้อ

 

 

การทดสอบทูเบ็กซ์

 

 

  เป็นการตรวจหาแอนติบอดี้ร่างกายของผู้ป่วย ที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านแอนติเจนของเชื้อ

 

 

การเพาะเนื้อเยื่อ หรือเชื้อจากของเหลวภายในร่างกาย

 

 

แพทย์จะสามารถหาสายพันธุ์ของแบคทีเรียได้ โดยใช้ตัวอย่างเล็กน้อยจากอุจจาระ ปัสสาวะ เลือด ไขกระดูก หรือไขสันหลัง ร่วมกับการใช้กล้องจุลทรรศน์

 

 

ไข้ไทฟอยด์ มีวิธีรักษาอย่างไร

 

 

 

 

  • การให้ยาลดไข้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไข้ขึ้นสูง เช่น ให้ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง

 

 

  • การเช็ดตัวให้ผู้ป่วย เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย

 

 

  • อาจให้สารน้ำทดแทนผ่านทางหลอดเลือด หากผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย และอาเจียนอย่างรุนแรง

 

 

  • การผ่าตัด สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ลำไส้ทะลุ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง

 

 

การป้องกันไข้ไทฟอยด์

 

 

 

 

  • ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งทั้งก่อน และหลังรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ

 

 

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผัก และผลไม้ดิบที่ไม่สามารถปอกเปลือกออกได้ (ถ้าไม่มั่นใจว่ามีความสะอาด)

 

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่มีสารปนเปื้อน

 

 

  • ฉีดวัคซีนต้านไข้ไทฟอยด์ แต่จะมีผลป้องกันแค่ 2-5 ปี และระยะเวลาในการป้องกัน จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ได้รับ 

 

 

ไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคติดต่อที่มีความอันตราย และน่ากลัวมาก เพราะมีอาการ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยสามารถเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ทุกท่านควรป้องกันตัวเองให้ดี ดื่มน้ำที่สะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน

ล้างมือทุกครั้ง ทั้งก่อน และหลังเสร็จกิจธุระ หากท่านใดมีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นไข้ไทฟอยด์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ รักษา และรับคำแนะนำในการป้องกันตนเองจากแพทย์