ท้องผูกเรื้อรัง
ท้องผูกเรื้อรัง อีกหนึ่งโรคสำคัญที่ควรระวังไว้

 

โดยปกติแล้ว หลายท่านน่าจะประสบพบเจอกับอาการท้องผูกกันมาบ้าง และมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่ในอนาคตอาจจะกลายเป็นท้องผูกเรื้อรังได้ จึงต้องหาทางรับมือกับอาการนี้ให้ดี

 

 

สาเหตุของท้องผูกเรื้อรัง 

 

 

  • เกิดท้องผูกจากการอุดกั้นของลำไส้

 

 

  • ฤทธิ์ของยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้แพ้ ยากันชัก 

 

 

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป ชอบอั้นอุจจาระ หรือมีน้ำหนักตัวเยอะ

 

 

  • โรคไส้ตรงปลิ้น

 

 

  • โรคบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูด เกิดการไม่คลายตัวระหว่างการขับถ่ายอุจจาระ

 

 

ท้องผูกเรื้อรัง อาการเป็นอย่างไร

 

 

 

 

  • เบ่งอุจจาระไม่ออก

 

 

  • อุจจาระเป็นก้อน และแข็งกว่าปกติ

 

 

  • มีการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

 

 

  • ขับถ่ายอุจจาระได้ไม่สุด 

 

 

  • รู้สึกเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ และมีเลือดปนออกมา

 

 

ท้องผูกเรื้อรัง มีผลต่อร่างกายอย่างไร

 

 

 

 

  • แรงดันภายในช่องท้องสูงขึ้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนขึ้นได้

 

 

  • ทำให้กล้ามเนื้อช่วงอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ 

 

 

 

 

  • ส่งผลให้เกิดลำไส้อุดตัน 

 

 

อาการแทรกซ้อนของท้องผูกเรื้อรัง 

 

 

หากผู้ป่วยท่านใดที่เป็นท้องผูกเรื้อรัง แล้วมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน 

 

 

  • ถ่ายอุจจาระปนเลือด

 

 

  • มีก้อนที่ท้อง

 

 

 

 

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย ผอมลงมาก

 

 

 

 

การวินิจฉัยท้องผูกเรื้อรัง 

 

 

ในเบื้องต้น แพทย์จะมีการซักถามประวัติคนไข้ อาการต่าง ๆ และทำการตรวจร่างกายทั่วไป และอาจจะมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น

 

 

 

 

  • ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย เช่น กล้ามเนื้อหูรูด กล้ามเนื้อช่องท้อง กล้ามเนื้อเชิงกราน เป็นต้น

 

 

วิธีการรักษาท้องผูกเรื้อรัง

 

 

เกิดจากลำไส้ทำงานผิดปกติ

 

 

แพทย์จะหาสาเหตุว่ามีโรค หรืออาการต่าง ๆ ที่ส่งผลทำให้ลำไส้ เกิดการทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้น้อยลงหรือไม่ จากนั้นจะทำการรักษา เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์อาจจะให้ยากระตุ้น ทำให้ประสาทของลำไส้ทำงานได้เป็นปกติ

 

 

เกิดจากความผิดปกติบริเวณกล้ามเนื้อหูรูด

 

 

หากผู้ป่วยมีความผิดปกติบริเวณกล้ามเนื้อหูรูด ทวารหนักส่วนปลาย หรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อาจจะใช้วิธีการรักษา โดยการฉีดโบท็อกซ์ หรือผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหานี้

 

 

ท้องผูกเรื้อรัง ป้องกันได้อย่างไร 

 

 

  • สร้างนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลา 

 

 

  • ไม่อั้นอุจจาระ และรีบเร่ง ใช้เวลาในการขับถ่ายให้เพียงพอ

 

 

 

 

  • บริโภคอาหารที่มีไฟเบอร์สูงให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ขนมปังธัญพืช เป็นต้น

 

 

  • ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจจะทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็งได้ 

 

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานปกติ

 

 

หลายท่านที่มีนิสัยชอบอั้นอุจจาระ ขับถ่ายไม่เป็นเวลา หรือเลือกบริโภคอาหารไม่ดี ระวังจะเสี่ยงเป็นท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งอาจจะกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตได้ หากผู้ป่วยท่านใด เป็นท้องผูกมานาน หรือเริ่มมีอาการที่รุนแรง ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

รวมมิตรโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่ควรรู้

 

ขับถ่ายให้เป็นเวลา ช่วยลดความเสี่ยงอุจจาระอุดตัน