โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน ลักษณะอาการที่คล้ายโดนผีเข้าสิง
โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน ลักษณะอาการที่คล้ายโดนผีเข้าสิง

โรคสมองอักเสบจากภาวะแพ้ภูมิต้านทานต่อตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (Anti-NMDAR Encephalitis) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Autoimmune Encephalitis) คือ โรคที่เนื้อสมอง หรือเยื่อหุ้มสมองมีการอักเสบ  โดยร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานบางส่วนผิดปกติ จนเกิดการทำลายของสมอง ผู้ป่วยมักจะมีลักษณะอาการคล้ายโดนผีเข้าสิง เหมือนกับผู้ป่วยจิตเวช หากไม่ทำการรักษาให้ทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

สาเหตุโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน

 

โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันเอ็นเอ็มดีเอ เกิดจากการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยเนื้องอก และจะมีตัวรับเอ็นเอ็มดีเอที่อยู่บนเซลล์ในเนื้องอก เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจเจอเนื้องอกจึงสร้างแอนติบอดีขึ้นมาทำลาย แต่โปรตีนชนิดตัวรับเอ็นเอ็มดีเอจะอยู่ที่บริเวณเซลล์สมอง แอนติบอดีจึงไปจับกับตัวรับเอ็นเอ็มดีเอในสมอง และทำลายเซลล์สมอง  โดยเนื้องอกนั้นมักจะเกิดที่รังไข่ ปอด เต้านม และอัณฑะ และสามารถพบผู้ป่วยโรคนี้ได้จากภาวการณ์อักเสบภายหลังการติดเชื้อสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส

 

 

อาการโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน

 

ในระยะแรกจะมีอาการคล้ายโรคไข้หวัด ได้แก่

      

  • มีไข้

      

  • ปวดศีรษะ

      

  • อ่อนเพลีย

      

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย

 

ในระยะต่อมาจะมีอาการทางประสาท ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวให้เป็นปกติ ได้แก่

      

  • นอนไม่หลับ

      

  • กระสับกระส่าย

      

  • หูแว่ว

      

  • เห็นภาพหลอน

      

  • มีนิสัยก้าวร้าว หรือเซื่องซึมผิดปกติ

      

  • มีอาการชักเกร็ง

      

  • เคี้ยวปาก

      

  • แลบลิ้น

      

  • มือ และเท้าขยับไปมา

      

  • อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หรือต่ำลงผิดปกติ

      

  • ความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติ

      

  • อัตราการเต้นของหัวใจสูงผิดปกติ

 

ในระยะต่อมาจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น

      

  • ความรู้สึกตัวลดลง

      

  • ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น

      

  • ซึมลง

      

  • สูญเสียการรับรู้สิ่งรอบข้างเป็นระยะเวลานาน หรืออาการโคม่า (Coma)

      

  • เสียชีวิตในที่สุด

 

 

การวินิจฉัยโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน

 

ขั้นต้นแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย และตรวจร่างกาย ได้แก่

      

  • ตรวจภาพถ่ายรังสี MRI เพื่อหาความผิดปกติบริเวณสมองส่วนหน้า

      

  • ตรวจน้ำไขสันหลัง เพื่อดูการอักเสบของสมองจากภาพถ่ายรังสี MRI

      

  • ตรวจหาแอนติบอดีต่อตัวรับเอ็นเอ็มดีเอจากน้ำไขสันหลัง และในเลือด

 

รวมทั้งการวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการใกล้เคียงกัน เช่น โรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคซึมเศร้า หรือโรคจิตเภท

 

 

ปวดศีรษะ

 

 

การรักษาโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน

      

  • การใช้ยาลดการอักเสบของสมอง แพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูงทางหลอดเลือดของผู้ป่วย

      

  • การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา หรือการให้ยาอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือด (intravenous immunoglobulin; IVIg)  

      

  • ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดี หรือไม่มีการตอบสนองต่อการรักษา แพทย์เพิ่มการให้ยาปรับภูมิคุ้มกัน

      

  • การผ่าตัดเนื้องอก

      

  • การบำบัดฟื้นฟู ทั้งทางด้านร่างกาย และการพัฒนาสติปัญญา

      

  • หากผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณายากดภูมิ และยาปรับภูมิ เพื่อป้องกันโรคกำเริบขึ้นมา

 

 

ผู้ป่วยโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันสามารถพบได้ทุกเพศ และทุกช่วงวัย แต่มักจะพบในเพศหญิงอายุน้อย และในวัยเจริญพันธุ์  ทั้งนี้ไม่ใช่มนุษย์เพียงเท่านั้น มีการค้นพบว่าหมีขั้วโลกที่มีชื่อว่า Knut ใน Berlin Zoological Garden ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันเอ็นเอ็มดีเอ หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ประมาณ 4 ปี พบโรคนี้ครั้งแรกในสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นครั้งแรก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI