Petcharavejhospital.com
โปรโมชั่นสุขภาพ
คลายความกังวลใจ เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

เพิ่มเติม

เพิ่มเติม
บุคลากรแพทย์
นพ.ชัยสิทธิ์ สุริยานุสรณ์
คลินิกอายุรกรรม
ดูประวัติแพทย์
พญ.แพร ทรัพย์สำรวย
สูตินรีเวช
ดูประวัติแพทย์
นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์
ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด
ดูประวัติแพทย์
นพ.อุเทน บุญอรณะ
ศูนย์สมองและระบบประสาท
ดูประวัติแพทย์

เพิ่มเติม
บทความสุขภาพ
ตรวจสุขภาพประจำปี ทำไมถึงสำคัญ ?
การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลร่างกาย เพราะทุกวันที่เราใช้ชีวิต ไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าภายในร่างกาย จะได้รับผลกระทบจากมลพิษใดบ้าง ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปี จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยค้นหา  และทำให้รู้ทันโรค เพื่อจะได้รักษาอย่างทันท่วงที      ตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญอย่างไร         มีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้าย ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ, สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ, การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ, อายุ, เชื้อโรคที่ถูกพัฒนาตามธรรมชาติ เป็นต้น สาเหตุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ ซึ่งอาการอาจจะไม่ได้แสดงออกมาในทันที แต่ร่างกายจะสะสมเชื้อโรค ส่งผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ลดสมรรถภาพลง หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนเกิดการเจ็บป่วยขึ้น ถึงตอนนั้นการรักษาอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แพทย์ทำได้เพียงบรรเทาความรุนแรงของโรคที่ร่างกายได้รับผลกระทบเท่านั้น ถ้าหากท่านตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยที่สุดเพียงปีละ 1 ครั้ง หากวินิจฉัยตรวจพบความผิดปกติ แพทย์จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันโรค, ภาวะแทรกซ้อน และความผิดปกติ อื่น ๆ ได้     รายการตรวจสุขภาพประจำปี     รายการตรวจแบบพื้นฐาน     ​ ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ (Physical Examination)     ตรวจหาค่าดัชนีมวลกาย วัดสัญญาณชีพ (BMI and Vital Signs)     ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)     ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)     ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)     ตรวจหาระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol)     ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)     ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (ชนิดดี) (HDL)     ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (ชนิดไม่ดี) (LDL)     ตรวจการทำงานของไต (BUN)     ตรวจการทำงานของไต (Creatinine & eGFR)     ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)     ตรวจการทำงานของตับ (SGOT)     เอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray)     รายงานผลการตรวจสุขภาพ (A4) (Check-up Report)     รายการตรวจเฉพาะทางเพิ่มเติม     ขึ้นอยู่กับราคาของโปรแกรม, เพศ และอายุของผู้เข้ารับบริการ รวมถึงสิทธิประสังคม ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงพยาบาล     สุขภาพปาก และฟัน (Dental Examination)     ตรวจวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Auto Refraction)     ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (Hb-A1C)     ตรวจหาระดับกรดยูริกในเลือด (Uric acid)     ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ (Alkaline phosphatase)     ตรวจการทำงานของตับ (Liver function test)     ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag)     ตรวจหาภูมิคุ้มกันไว้รัสตับอักเสบบี (Anti HBs)     ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH)     ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Free T3)     ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Free T4)     ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ (CEA)     ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)     ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA-125)     ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)     ตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ (OB-GYN)     ตรวจหามะเร็งปากมดลูก (Thin Prep)     ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวด์ (Digital Mammogram With Breast Ultrasound)     ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)     ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)     ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)     ข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างรายการตรวจสุขภาพประจำปี 2567 ของโรงพยาบาลเพชรเวช ซึ่งรายการตรวจของแต่ละสถานพยาบาลอาจจะแตกต่างกัน และเปลี่ยนแปลงไปตามโปรแกรม หรือแพ็กเกจของสถานพยาบาลนั้น     หากร่างกายแข็งแรงจำเป็นต้องตรวจสุขภาพไหม         สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ หรือความผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับร่างกาย และได้รับวัคซีนป้องกันโรคแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำ, รับประทานอาหารคลีน, ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการลดความเสี่ยง หรืออาการรุนแรง ในกรณีหากร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้ามา ซึ่งไม่มีผู้ใดที่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน ว่ามันทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม หรือเกิดความผิดปกติตรงจุดใด ดังนั้น จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือกับอุปกรณ์ของแพทย์ เข้ามาเป็นตัวช่วยตรวจสุขภาพ และเจ้าหน้าที่คอยบริการบอกข้อมูลตามความประสงค์ของผู้รับบริการ ความจำเป็นสำหรับการตรวจสุขภาพจึงเป็นเรื่องวิจารณญาณของแต่ละบุคคล     เทคโนโลยีการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเพชรเวช     เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan     สามารถวินิจฉัยโรค และความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกายได้ โดยเฉพาะสมอง, ช่องท้อง, บริเวณอก และกระดูก สามารถสร้างภาพจากการฉายรังสีเอกซ์ ความเร็วสูงชนิด 128 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ โดยใช้เวลาไม่เกิน 0.5 วินาที     คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI     การทำงานจะคล้ายกับเครื่อง CT Scan แต่จะสามารถสร้างภาพได้ละเอียดกว่า พร้อมหาตำแหน่งความผิดปกติ หรือการเกิดโรคชัดขึ้น โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวประมวลผล ซึ่งจะใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุความเข้มสูง     Digital Mammogram & Ultrasound     ใช้ในการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านม และความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยง หรือผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป     ห้องปฏิบัติการ (Laboratory)     ตรวจความผิดปกติจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น โลหิต, ปัสสาวะ, อุจจาระ, เนื้อเยื่อ และน้ำลาย เป็นต้น ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ รวดเร็ว อุดมไปด้วยประสิทธิภาพ ผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2560 โดยสภาเทคนิคการแพทย์     Cath Lab ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ     เป็นห้องประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดอื่น ๆ ในร่างกาย ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอ และบันทึกเป็นระบบเทปโทรทัศน์แบบดิจิทัล ที่สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทางตามความต้องการ เพื่อตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียดมากขึ้น     EST เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ     เป็นการทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ ว่ามีภาวะขาดเลือดหรือไม่ โดยให้ผู้ป่วยวิ่งบนลู่วิ่ง, การวิ่งสายพาน หรือปั่นจักรยาน วิธีดังกล่าวจะเป็นการสร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่าขณะที่ร่างกายกำลังออกแรงอย่างหนัก หัวใจมีภาวะขาดเลือดหรือไม่     ECHO เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง     ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูขนาดของห้องหัวใจ ตามแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อบนหน้าจอ จากการแปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์ และนำสัญญาณเหล่านั้นมาแปลงเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ      จะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลเพชรเวชจะเน้นการป้องกันสมอง และหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก หากเกิดความผิดปกติขึ้น หรือมีความเสี่ยงร้ายแรง อาจถึงแก่ชีวิตได้ อีกทั้งยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีในการตรวจรักษา รับรองผู้เข้ารับบริการตรวจสุขภาพประจำปีทุกเพศ และทุกวัย รวมทั้งการตรวจคัดกรองโรคแต่ละโปรแกรม แต่ผู้ป่วยควรเลือกโปรแกรมให้เหมาะสมกับตัวท่านด้วย   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   รวมข้อสงสัยโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี   รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2567   ศูนย์ตรวจสุขภาพ
อ่านเพิ่มเติม
เช็คความพร้อมร่างกายด้วยการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน
  สำหรับบุคคลที่หางานใหม่ อาจจะเริ่มตื่นตัวที่ต้องสมัครงานกับองค์กรในฝัน หลังจากยื่นสมัครงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำขั้นต่อไป คือการตรวจสุขภาพเพื่อประกอบการสมัครงาน ดังนั้นเรามาดูความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการตรวจสุขภาพก่อนเข้างานกัน     ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน         การเข้าทำงานในแต่ละครั้งล้วนมีความสำคัญ ไม่ใช่แค่ต่อตัวเรา แต่ยังมีความสำคัญต่อผู้ประกอบการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะการที่สถานประกอบการรับบุคคลเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร จำเป็นจะต้องมั่นใจว่าบุคลากรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ และสร้างคุณประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้น องค์กรจึงต้องมีการให้บุคลากรตรวจสุขภาพ เป็นการสร้างหลักประกันว่าบุคคลนั้นจะสามารถทำงานได้ และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในองค์กร การตรวจสุขภาพก่อนเข้างานคือสิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะเป็นกฎระเบียบพื้นฐานขององค์กรโดยทั่วไปอยู่แล้ว     ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน     ความแข็งแรงทางร่างกาย จะส่งผลให้เราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ยังส่งผลให้โครงสร้างขององค์กรเกิดความแข็งแรงตามไปด้วย         การตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน นอกจากจะมีประโยชน์ต่อตัวท่านเอง และยังมีประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมงาน เพราะไม่ต้องเสี่ยงเป็นโรคติดต่อที่อาจเกิดจากตัวเราเป็นผู้แพร่เชื้อ   ใบรับรองแพทย์ ยังถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแรงงานต่างด้าว เนื่องจากจะต้องนำไปยื่น เพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานที่กระทรวงแรงงาน โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถยืนยันตัวตน เพื่อตรวจสุขภาพโดยใช้ Passport เพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากไม่ทำการตรวจสุขภาพก่อน จะเท่ากับว่าไม่มีใบรับรองแพทย์เพื่อใช้ยื่นขอใบอนุญาตในการทำงาน     ต้องตรวจรายการใดบ้าง     การตรวจสุขภาพของแต่ละองค์กร จะมีรายการตรวจแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับประเภทงานที่ทำ แต่โดยทั่วไปมักตรวจอยู่ที่ประมาณ 6-9 รายการ ซึ่งเป็นการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานสำคัญ ที่มักใช้ประกอบการพิจารณาหลังจากสัมภาษณ์งาน ได้แก่      การตรวจเอกซเรย์ปอด      ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด      ตรวจหาหมู่เลือด      ตรวจปัสสาวะ     ตรวจสุขภาพโดยแพทย์      ตรวจวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์     ตรวจตาบอดสี     ตรวจหาสารเสพติด     ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี     นอกจากนี้ อาจจะมีรายการเพิ่มเติมที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละโรงพยาบาลที่ท่านเข้ารับการตรวจ อาจจะมีแพ็กเกจการตรวจสุขภาพของเพศหญิง ที่อาจเพิ่มรายการตรวจเข้ามา เช่น     ตรวจการตั้งครรภ์     ราคาของการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน         ค่าใช้จ่ายของการตรวจสุขภาพ จะขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลแต่ละแห่ง โดยอาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 500-2,000 บาท เพื่อรองรับกับความต้องการของผู้ที่อยากให้คนในองค์กรแข็งแรง และปราศจากโรคติดต่อที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลากรอื่นภายในองค์กร     การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เป็นเรื่องพื้นฐานที่หลายองค์กรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากท่านเป็นพนักงานใหม่ที่จะเข้าร่วมงานกับองค์กรนั้น จำเป็นต้องตรวจสุขภาพเพื่อให้มั่นใจว่า ตัวท่านปลอดภัย และแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อใดที่จะทำให้บุคคลอื่นได้รับผลกระทบจากตัวท่าน   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง    รวมข้อสงสัยโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน   โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน   ศูนย์ตรวจสุขภาพ
อ่านเพิ่มเติม
24
ชม. อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
58
ONLINE : IPD
1500
รับผู้ป่วยเฉลี่ย : วัน
45
ปี ที่ดูแล