ศูนย์หัวใจ
Heart Center
 


 

ความพร้อม = โอกาส
ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทา
ง และเทคโนโลยีมาตรฐาน

 

 


ศูนย์หัวใจ เป็นศูนย์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อบริการผู้ป่วยโรคหัวใจที่ครอบคลุม และได้มาตรฐาน ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และการป้องกัน ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความปลอดภัยอย่างถึงที่สุดในทุก ๆ การรักษา

 

ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก

 

ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกเป็นการรักษาโรคที่เกี่ยวกับหัวใจที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยโรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจ และทรวงอก โดยมีการผ่าตัด ดังนี้

 

หลอดเลือดหัวใจ

 

  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบที่ใช้และไม่ใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม เป็นการผ่าตัดในขณะที่หัวใจยังเต้นอยู่ แต่จะนำเครื่องมือมายึดเกาะหัวใจหยุดนิ่ง ซึ่งวิธีนี้จะลดอัตราการเสียชีวิต เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวเร็ว

  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว เป็นการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจตีบทำได้โดยการสร้างทางเบี่ยงข้ามส่วนที่อุดตันของเส้นเลือดซึ่งจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น และหัวใจก็จะทำงานได้ดีขึ้น

 

ลิ้นหัวใจ

 

ลิ้นหัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปิด และเปิดให้เลือดผ่านเข้าออก หรือควบคุมทิศทางการสูบฉีดของเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากลิ้นหัวใจเกิดการตีบ และรั่วจะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ โดยการรักษาจะทำได้หลายประการ ดังนี้

 

  • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ (Ambul atory valve care) การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถทําได้โดย 2 วิธี คือ การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Heart Valve Regurgitation) ผู้ป่วยจะกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ แต่หากลิ้นหัวใจเกิดความเสียหาย หรือมีหินปูนเกาะจะต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยลิ้นที่เป็นโลหะ หรือทำมาจากเยื่อหุ้มหัวใจของสัตว์ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลการรักษาที่ดี และผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่มีผลแทรกซ้อน
     

  • ผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting) เป็นการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาย ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการผ่าตัดเบี่ยงเสริมเส้นเลือดหัวใจที่เกิดการตีบตัน หรือการตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ ทำให้เลือดสามารถเคลื่อนผ่านไปได้ โดยการผ่าตัดแพทย์จะพิจารณาถึงตำแหน่งที่หลอดเลือดเกิดการอุดตัน เพื่อเลือกหลอดเลือดมาต่อ ในระหว่างการผ่าตัดแพทย์จะใช้ยาหยุดการเต้นของหัวใจ และใช้อุปกรณ์ที่ช่วยให้เลือดยังไหลเวียนในร่างกาย แต่ไม่ผ่านหัวใจ จากนั้นจะทำการต่อปลายหลอดเลือดเข้ากับหลอดเลือดแดงใหญ่ และต่อปลายหลอดเลือดอีกข้างหนึ่งเข้ากับหลอดเลือดใต้บริเวณที่ตีบ หรืออุดตัน วิธีนี้จะทำให้ช่วยบรรเทาภาวะหัวใจขาดเลือด

 

หัวใจพิการแต่กำเนิด

 

  • ผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องบน และล่าง จะทำในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น โดยจะผ่าตัดเพื่อเบาเทาอาการในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายรุนแรง และจะมีการผ่าตัดซ่อมแซมอย่างถาวร

  • ผ่าตัดปิดเส้นเลือด

  • ผ่าตัดที่มีความซับซ้อนของหัวใจพิการแต่กำเนิด

 

หลอดเลือดอวัยวะอื่น ๆ

 

  • ผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง แพทย์จะใช้หลอดเลือดเทียมเข้าไปทดแทนหลอดเลือดที่โป่งพอง

  • ผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง แพทย์จะใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวดเข้าไปแทนที่หลอดเลือดที่โป่งพองในช่องท้องผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง

  • ผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในทรวงอก

 

____________________________________


ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลเพชรเวช

 

วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-15.30 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 15.00 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ
: 1390

 

ดูแผนที่โรงพยาบาล : GOOGLE MAPS


__________________________________

 

แพคเกจที่เกี่ยวข้อง

Balloon Angioplasty & stent

เป็นวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดหัวใจมีการอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ และอาจทำให้หัวใจขาดเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอก บริเวณราวนมกับลิ้นปี่ และอาจมีอาการลามไปที่อวัยวะอื่นด้วย เช่น คอ กราม และแขน เป็นต้น โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีการใส่อุปกรณ์พิเศษ คือ บอลลูน (Balloon) และขดลวด (stent) เพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนได้มากขึ้น

 

วิธีการรักษาการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

 

  • ขั้นตอนที่ 1 : ใช้สายสวนสอดไปยังตำแหน่งที่มีหลอดเลือดตีบ

  • ขั้นตอนที่ 2 : บอลลูนจะถูกขยายให้พองตัวแนบไปกับผนังหลอดเลือดและกดทับส่วนที่ตีบ

  • ขั้นตอนที่ 3 : บอลลูนจะทำให้แฟบลง แล้วนำออกไปจากหลอดเลือดหัวใจ โดยบริเวณด้านในของหลอดเลือดจะมีความกว้างขึ้นทำให้การไหลของเลือดดีขึ้นด้วย

 

วิธีการรักษาการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยขดลวด (stent)

 

ขดลวดที่ใช้จะเป็นขดลวดชนิดเคลือบยา (Drug Eluting Stent) โดยตัวยาจะค่อย ๆ ถูกปลดปล่อยไปยังบริเวณที่ต้องการรักษา วิธีนี้จะช่วยลดความจำเป็นในการรักษาซ้ำจากการที่หลอดเลือดหัวใจได้รับการฝังขดลวดเกิดการตีบเมื่อเวลาผ่านไป โดยมีวิธีดังนี้

 

  • ขั้นตอนที่ 1 : ใส่สายสวนชนิดขดลวดเข้าไปยังหลอดเลือดที่ตีบและขยายบอลลูนให้พองตัวขึ้น

  • ขั้นตอนที่ 2 : ขดลวดขยายตัวกดทับผนังหลอดเลือด นำบอลลูนที่ถูกทำให้แฟบลงออกจากหลอดเลือด

  • ขั้นตอนที่ 3 : ขดลวดจะยังคงอยู่ถาวร เพื่อขยายหลอดเลือดให้ยังคงเปิดกว้าง และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

 

การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้บอลลูนและการใส่ขดลวด เป็นวิธีการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวเร็ว กลับบ้านได้ไวขึ้น ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษาว่าจะพิจารณาให้ผู้ป่วยทำการรักษาด้วยวิธีใด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

โรคหัวใจเป็นโรคที่มีความอันตรายสูง อีกทั้งยังมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่สำหรับชนิดที่รุนแรง และเสี่ยงเสียชีวิตสูงได้แก่ โรคหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่เราต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้น  

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

เกิดได้จากระบบไฟฟ้าของหัวใจที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดูแลตนเอง และโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ นอกจากนี้หัวใจของผู้ป่วยจะมีการสูบฉีดเลือดที่เปลี่ยนไป และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนอาการที่แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัดนั้นมีน้อยมาก โดยส่วนมากผู้ป่วยที่รู้ตัวมักรู้ได้จากการตรวจสุขภาพหัวใจ แต่ยังมีอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจสังเกตได้ว่ามีความเสี่ยง ได้แก่

 

  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย

  • หายใจไม่อิ่ม

  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก

  • รู้สึกใจสั่น

 

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

 

เกิดจากหลายสาเหตุทั้งอายุที่มากขึ้น จากไข้รูมาติก ที่ส่งผลต่อการทำงานของลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้หัวใจจะทำงานหนัก เลือดไม่ไหลเวียน และมีโอกาสเสียชีวิตสูง อาการของผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่วที่เห็นได้ทั่วไป เช่น เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เป็นต้น นอกจากนี้อาการของผู้ป่วยจะแสดงออกแตกต่างกันตามจุดที่ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหายได้เช่นกัน ได้แก่

 

  • ลิ้นหัวใจด้านซ้าย อาการเหนื่อยจะมากขึ้นกว่าปกติ และอาการจะยังคงอยู่แม้ว่าจะไม่ได้ทำกิจกรรมใดเลย

  • ลิ้นหัวใจด้านขวา ผู้ป่วยจะท้องอืด แขนขา และหัวใจบวม อวัยวะฝั่งขวาจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง

 

โรคหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว

 

เกิดจากหัวใจที่ทำงานผิดปกติไม่สามารถฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หรือเกิดปัญหากับการรับเลือด หากปล่อยไว้ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคนี้มักเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการทานอาหาร และการไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุต้น ๆ ของหัวใจล้มเหลว อาการที่บ่งบอกว่าเสี่ยงหัวใจล้มเหลว ได้แก่

 

  • วิงเวียนศีรษะ

  • เท้าและขาบวม

  • หายใจลำบาก

  • เหนื่อยล้า

 

โรคหัวใจที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจเท่านั้น ด้วยความที่โรคหัวใจมีสาเหตุการเกิดที่หลากหลาย รวมไปถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นเราจึงควรดูแลตนเองควบคู่กับการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำเพื่อหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

Cath Lab

ห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดอื่น ๆ ในร่างกาย โดยจะแสดงผลเป็นภาพปรากฏขึ้นบนหน้าจอ และบันทึกเป็นระบบเทปโทรทัศน์แบบดิจิทัลที่สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทางตามความต้องการ โดยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงพยาบาล และเจ้าหน้าที่เทคนิคเชี่ยน ทีมสหสาขาวิชาชีพที่พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย และจิตใจตลอด 24 ชั่วโมง

 

Cath lab ตรวจอะไรได้บ้าง

 

  • ปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ เพื่อดูตำแหน่งผิดปกติและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ดูการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากพบความผิดปกติแพทย์จะทำการรักษาทันที

  • สามารถใช้ตรวจวินิจฉัย และรักษาภาวะหลอดเลือดสมองด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคสมองขาดเลือด เป็นต้น โดยจะทำการตรวจรักษาด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง เพื่อดูความผิดปกติตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการตรวจที่ให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำกว่าการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซเรย์

 

วิธีตรวจ Cath lab

 

แพทย์จะเลือกฉีดยาชาบริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ แล้วจะใส่ท่อขนาดเล็กปราศจากเชื้อโรคประมาณ 2 มิลลิเมตรเข้าไปจ่ออยู่ที่ทางออกของเลือด จากนั้นจะฉีดสีเพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดหรือไม่ โดยแพทย์จะสามารถดูได้จากหน้าจอภาพแบบดิจิทัลผ่านกล่องเอกซเรย์พิเศษ โดยจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที หากมีความผิดปกติแพทย์จะทำการสวนขดลวดเข้าไปเพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาต่อไป 

 

โดยการตรวจและการรักษาวิธีนี้จะทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว เพราะไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ และมีความเสี่ยงน้อยกว่า สามารถกลับบ้านไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

Coronary Artery Angiography

สวนหัวใจ (Cath Lab)

 

  • การฉีดหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Angiography) คือ การใส่สายสวนเข้าไปบริเวณข้อมือ หรือบริเวณขาหนีบ โดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย จากนั้นจะทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ พร้อมบันทึกภาพเอกซเรย์ของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นไว้ เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้ยาสลบ ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่เท่านั้น

  • ElectroPhysiologic Study (EPS) คือ การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • การทำบอลลูนขยายลิ้นหัวใจ (Balloon Valvuloplasty) เป็นการนำอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายบอลลูนเข้าไปยังบริเวณลิ้นหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด และดันไขมันในหลอดเลือดไม่ให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด

  • การปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจ หรือเส้นเลือดเกินโดยวิธีสวนหัวใจ (ASD/PDA Device) เป็นการรักษาโรคหัวใจที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างโดยผ่านสายสวนหัวใจ ทำได้โดยการนำอุปกรณ์โลหะเข้าไปปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจผ่านสายสวนที่เข้าทางหลอดเลือดดำบริเวณขา หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อมาคลุมภายใน 3–6 เดือน

 

ระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจ

 

  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ (Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) AICD เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาได้ทันทีหากมีการพบว่าหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ โดยจะเป็นการผ่าตัดเอาอุปกรณ์ฝังในร่างกายเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัตินี้จะมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดฝ่ามือ โดยแพทย์จะผ่าตัดฝังอุปกรณ์ดังกล่าวไว้บริเวณใต้ชั้นไขมัน และจะมีการติดตามเพื่อประเมินการทำงานประมาณ 3-4 ครั้งต่อปี และอุปกรณ์นี้จะมีอายุประมาณ 4-6 ปี

  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker implantation) PPM เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ไม่สามารถรับเลือดไปเลี้ยงในปริมาณที่มากพอ ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง และอาจทำให้เกิดการวิงเวียนศีรษะ และหมดสติได้ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้านี้จะทำงานโดยส่งสัญญาณไฟฟ้าไปปรับให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใส่สายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (endocardial lead placement) และการติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (epicardial lead placement)

  • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงการรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง Radiofrequency Ablation (RF Ablation) เป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดเปิดช่องอก แต่ใช้สายสวนเข้าไปในหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงบริเวณต้นขา หรือหลอดเลือดดำใต้ไหปลาร้า และบริเวณลำคอ จากนั้นจะปล่อยพลังงานความถี่คลื่นอิเล็กโทรดเพื่อทำลายเนื้อเยื่อเป้าหมายด้วยความร้อนให้เกิดเป็นรอยแผลเป็น ซึ่งเป็นการตัดเส้นทางเดินผิดปกติของกระแสไฟฟ้าได้

  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง Cardiac Resynchronization Therapy (CRT) เป็นเครื่องที่ช่วยกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าห้องล่างทั้งฝั่งซ้าย และฝั่งขวาให้บีบตัวพร้อม ๆ กัน โดยจะทำงานตลอดเวลาในทุกการบีบของหัวใจ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหากล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่พร้อมกัน วิธีนี้จะช่วยลดการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้

Heart disease in children

โรคหัวใจในเด็ก

 

“โรคหัวใจ” หนึ่งในความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิด หากเด็กมีภาวะความเสี่ยง และไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ เด็กอาจมีอันตรายถึงชีวิต สำหรับอาการที่บ่งบอกว่าเด็กเสี่ยงโรคหัวใจ ได้แก่

 

  • มีอาการเหนื่อยง่าย หายใจหอบเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ดูดนมได้น้อยและช้า มีอาการหอบตอนดูด กินนมได้น้อยกว่าปกติ
  • มีการเติบโตของกล้ามเนื้อที่ช้า เช่น การยืน การเดินช้า เป็นต้น
  • ตัวเขียว หากปล่อยไว้นานจะมีอาการนิ้วปุ้ม

 

อาการเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าเด็กมีความเสี่ยง “โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด” นอกจากนี้โรคหัวใจในเด็กยังสามารถเกิดที่บริเวณอื่นได้ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น

 

วินิจฉัย และรักษาโรคหัวใจในเด็ก

 

  • การวินิจฉัย ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การตรวจออกซิเจนในกระแสเลือด เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (ECHO)
  • การรักษา ทำได้ด้วยการทานยา และในบางรายอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดปิดเส้นเลือด (Ductus arteriosus) ผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจ ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ด้านหัวใจเท่านั้น

 

หากจำเป็นต้องผ่าตัดไม่ควรรอช้า เพื่อความปลอดภัยของเด็กเอง สำหรับใครที่เป็นห่วงความปลอดภัยจากการผ่าตัดทางเรามีเครื่อง ECMO หรือ Extra Corporeal Membrane Oxygenator ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นปอด และหัวใจให้เด็กหลังผ่าตัด จนกว่าเด็กจะมีอาการแข็งแรงขึ้น

Non-Invasive Cardiology Laboratory

“โรคหัวใจอันตราย แต่คุณตรวจเช็กได้ก่อน” ด้วยเทคโนโลยีการตรวจโรคด้านหัวใจทั้งการตรวจหาความเสี่ยง ตรวจสภาวะการทำงานที่ผิดปกติในหัวใจ และการติดตามผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

 

คือการตรวจอวัยวะที่ต้องการด้วยการเอกซเรย์ โดยรายละเอียดที่ได้จะดีกว่าการเอกซเรย์แบบปกติทั่วไป นอกจากจะสามารถใช้ตรวจโรคหัวใจแล้ว CT Scan ยังสามารถใช้ตรวจระบบกระดูก สมอง และหลอดเลือด สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจต้องพึงระวังข้อห้าม เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ควรเข้าใช้ CT Scan ดังนั้นก่อนเข้ารับบริการจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

 

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score)

 

เป็นการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ความเร็วสูง (CT Scan) เพื่อหาปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ที่สามารถนำไปวินิจฉัยความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากภาวะที่อาจตามมามีอันตรายสูงถึงขั้นเสียชีวิต คือ ภาวะหัวใจตายเฉียบพลัน การตรวจเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป รวมไปถึงผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ การตรวจใช้เวลาไม่นาน และไม่เจ็บ ภาพที่ได้จากการสแกนมีรายละเอียดสูงทำให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้อย่างแม่นยำ

 

การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง Holter Monitor

 

เป็นการบันทึกสภาวะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง จุดประสงค์เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากนี้ยังสามารถใช้บันทึกเพื่อหาสาเหตุของอาการหัวใจสั่นได้อีกด้วย

 

ตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary Computed Tomography Angiogram)

 

เป็นการใช้เครื่องเอกซเรย์ความเร็วสูงตรวจหลอดเลือดหัวใจค้นหาความรุนแรงของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยการตรวจจะทำให้เห็นโครงสร้างของหัวใจ และระบบเส้นเลือด รวมถึงใช้สำหรับติดตามอาการ และผลการรักษาสำหรับผู้ที่เคยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาหลอดเลือดหัวใจมาก่อน เช่นเดียวกับการตรวจแบบอื่นก่อนเข้ารับการตรวจจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายว่าสามารถใช้บริการได้หรือไม่ เนื่องจากการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีข้อจำกัดบางประการ เช่น หญิงมีครรภ์ หรือผู้ที่มีอาการแพ้สารทึบรังสีจะไม่สามารถเข้ารับการตรวจได้

 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)

 

เป็นการตรวจการทำงานของไฟฟ้าหัวใจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาความผิดปกติ และความเสี่ยงโรคทางหัวใจ รวมไปถึงตรวจสอบอาการเจ็บหน้าอก การตรวจแบบ EKG นี้ สามารถตรวจได้ทุกคน แต่หากผู้ที่เข้ารับการตรวจไม่มีอาการแสดงออกมาขณะทำการตรวจจะทำให้ไม่เจอโรค ดังนั้นอาจต้องใช้การตรวจรูปแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การตรวจการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) เป็นต้น

 

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo cardiograph)

 

เป็นการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนจากความถี่สูง โดยคลื่นเสียงเหล่านี้จะสามารถสะท้อนอวัยวะที่คลื่นเคลื่อนผ่าน ก่อนที่จะปรากฏเป็นภาพบนหน้าจอที่จะแสดงทั้งภาพการทำงานของหัวใจ ระดับความรุนแรงของโรค และสามารถใช้ติดตามผลการรักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย แต่มีข้อจำกัดคือภาพที่เห็นจะมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างหัวใจ หากเป็นโรคถุงลมโป่งพองภาพที่แสดงออกมาอาจไม่ชัดเจน

 

การตรวจการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

 

เป็นการทดสอบสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยจะตรวจดูระหว่างที่กำลังวิ่งบนสายพาน นอกจากจะสามารถตรวจการทำงานของหัวใจได้แล้ว ยังสามารถตรวจภาวะหัวใจขาดเลือดได้ หากระหว่างการทดสอบหัวใจมีการทำงานผิดปกติจะทำให้แพทย์สังเกตได้ทันที เพราะอาการบางอย่างจะไม่แสดงออกมาหากร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ

Critical Care Unit (CCU)

หออภิบาลผู้ป่วยหนักหัวใจ  (CCU)

 

สำหรับดูแลผู้ป่วยอาการหนักจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดอย่างเร่งด่วน หรือผู้ที่ผ่านการรักษาด้วยการผ่าตัด และต้องดูอาการต่อไป รวมถึงผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ โดยทีมแพทย์พร้อมด้วยอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเฉพาะด้านเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากภาวะวิกฤติโดยเร็ว

 

หอผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardio Ward)

 

หรือห้องพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยญาติสามารถเข้าพักและเยี่ยมได้ภายในห้องกว้าง พร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในห้องที่ครบครัน