เครียดลงกระเพาะ คือ ภาวะความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารที่เกิดจากความเครียด รวมทั้งทำให้โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารมีอาการทรุดหนักลง ซึ่งอวัยวะต่าง ๆ ในส่วนนั้นมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดความเครียด สมองจะสั่งการให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ และกระเพาะอาหารจะถูกกระตุ้นให้บีบตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ในช่องท้องมีการระคายเคืองจนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือรุนแรงจนถึงขั้นกระเพาะทะลุได้
มีกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น หรือมีการหลั่งกรดในการย่อยอาหารน้อยลง
หลอดอาหารมีการบิดเกร็งมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร
การเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดี
ลำไส้ใหญ่มีการตอบสนองต่อความเครียด ส่งผลให้การขับถ่ายมีความผิดปกติ
ลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย
ต่อมไทรอยด์จะมีการเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหารเยอะขึ้น ทำให้เกิดอาการหิว และส่งผลให้นอนไม่หลับ
ขณะท้องว่างจะปวดท้องบริเวณส่วนบนช่วงลิ้นปี่-กลางอก
หลังจากรับประทานอาหารจะจุก, แสบ, เสียดแน่นหน้าอก และบริเวณลิ้นปี่
รับประทานอาหารได้น้อยลง เพราะอิ่มเร็วขึ้น
คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องอืด หรือเรอเปรี้ยว
ในบางรายอาจมีการขับถ่ายออกมาเป็นสีดำ หรือมูกเลือด
อาการเครียดทั่วไป เช่น มีปัญหาในด้านการนอนหลับ, หงุดหงิด, ใจสั่น หรือหายใจเร็ว เป็นต้น
กลุ่มบุคคลอายุประมาณ 18-35 ปี จะมีความเสี่ยงสูง
ผู้ที่มีบุคลิกชอบวิตกกังวลกับทุกเรื่อง
ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและมีความเครียดสะสมสูง
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
ลำไส้อักเสบ
กระเพาะอาหารอักเสบ, แผลในกระเพาะอาหาร หรือกรดไหลย้อน
ท้องเสีย, ท้องผูก
หากรุนแรงอาจเกิดภาวะกระเพาะทะลุ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
แพทย์จะสอบถามประวัติ อาการ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุของความเครียด และอาจพิจารณาใช้วิธีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมในกรณีที่สงสัยว่ามีโรคแทรกซ้อน เช่น การส่องกล้องกระเพาะอาหารเพื่อตรวจดูเยื่อบุของกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินความเครียด เพื่อประเมินภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยเพิ่มเติม
รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ, ตรงเวลา และรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา เป็นต้น
รับประทานผัก, ผลไม้, นมรสเปรี้ยว และโยเกิร์ต ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาหารเหล่านี้ มีจุลินทรีย์ที่ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย ส่งผลให้ระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีความเครียด ควรปรึกษาปัญหาจากบุคคลรอบข้างที่ไว้ใจได้ หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น นักจิตวิทยา
ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น ออกกำลังกาย, ฟังเพลง, ฝึกการหายใจ และนั่งสมาธิ
วางแผนการทำงาน และจัดสรรเวลาชีวิตให้มีความสมดุลกัน
พบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และทำการวินิจฉัยโรคอื่น ๆ เพิ่มเติม
อาหารรสจัด และอาหารที่มีไขมัน, น้ำตาล หรือโซเดียมในปริมาณสูง
ความเครียด และการวิตกกังวล
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ชา, กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนสูง
งดสูบบุหรี่
เครียดลงกระเพาะ สามารถรักษาให้หายได้ เพียงแค่ต้องเข้าใจอาการ และปรับพฤติกรรมตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร, การฝึกคลายเครียด หรือหากิจกรรมผ่อนคลายทำ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และทำการรักษาอย่างตรงจุด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง