dentistry
Dentistry
 

It is a department that examines and treats oral health for good health and to extend the life of your teeth for as long as possible. Oral health is something that everyone cannot overlook. Consider what would happen if you have oral health problems, such as bad breath that would make others look at you differently, or problems with your teeth. If you leave these problems unaddressed, it will have negative impacts on both your appearance and may lead to diseases that could result in losing your teeth.

 

>>>>additional details

 

_____________________________

 

Contact for further information

Service is available every day

Operating hours: Monday to Friday from 8:00 am.-6:00 pm.

Operating hours on Saturdays, Sundays, and public holidays: 8:00 am.-6:00 pm.

Building/Floor: A/14

Contact number: 1390 ext. 355

Line Official :  @petcharavej  click  

Pediatric Dentistry

Many people have problems with unwanted teeth, such as overlapping teeth, crooked teeth, etc. We believe that everyone wants to improve these problems to have a better appearance when meeting other people. One of the ways to treat these problems is "orthodontics," which requires studying and knowing details to make a decision on whether to have treatment.

 

Who should have orthodontic treatment?

 

  • People who have a significant gap between their teeth

  • People who have problems with their teeth, making it difficult to eat

  • People who have problems with the alignment of their teeth

  • People who have problems with both upper and lower teeth sticking out

 

Getting braces for the first time

 

  • When getting braces for the first time, it is important to choose a safe place. Therefore, it is necessary to research the source of information beforehand. We believe that no one wants to experience the negative effects or side effects that may occur, such as swelling, inflammation, or decay. In addition to choosing a high-quality location, getting braces is a delicate process that requires expertise. Therefore, it is important to choose an experienced dentist for safety. Normally, the process takes about 2-3 years, depending on the care of the teeth during the process and the condition of the teeth before getting braces.

 

Benefits of getting braces

 

  • Improves the shape and alignment of teeth

  • Increases self-confidence and appearance

  • Makes teeth easier to clean, resulting in better dental health.

Orthodontics

คือ วิธีการรักษาโดยอาศัยการผ่าตัดในช่องปาก ซึ่งโดยทั่วไปอาจจะคิดว่าเป็นเพียงแค่การผ่าตัดฟันคุด หรือถอนฟันคุดเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วการรักษาโดยวิธีนี้เป็นการรักษาที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นภายในบริเวณดังกล่าวทุกประการ

 

โรคในช่องปากและการรักษาด้วยการผ่าตัด

 

  • ฟันคุด เป็นปัญหาเกี่ยวกับฟันกรามใหญ่ซี่ด้านในสุด ซึ่งเป็นฟันกรามแท้ที่มักจะออกมาตอนช่วงอายุระหว่าง 18-20 ปี หากฟันกรามซี่นี้งอกออกมาอย่างเป็นปกติในตำแหน่งที่ถูกต้องและมีเหงือกโดยรอบสุขภาพดี แต่ส่วนใหญ่แล้วนั้นฟันกรามซี่นี้มักจะงอกออกมาผิดตำแหน่งและอาจจะสร้างความเจ็บปวดได้ เนื่องจากเป็นซี่ที่อยู่ด้านในสุดทำให้ทำความสะอาดได้ยาก เมื่อทันตแพทย์เอกซเรย์ดูตำแหน่งการวางตัวของฟันกรามซี่นี้ แล้วพบว่ามีความผิดปกติก็จะผ่าตัดเอาฟันกรามเจ้าปัญหาซี่นี้ออกไปเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายในช่องปากอย่างอื่นตามมา

  • โรคฟันผุ สาเหตุของโรคชนิดนี้เกิดจากแบคทีเรียทำลายแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิวของฟัน ทำให้บนผิวฟันสะสมความเป็นกรดไว้สูงจนกระทั่งทำให้ฟันถูกกัดกร่อนเป็นรูผุ โรคฟันผุจะมีวิธีการรักษาในเบื้องต้นคือการอุดฟัน แต่หากปล่อยให้ลุกลามจนแบคทีเรียเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันแพทย์ก็จะถอนฟันซี่ที่ผุนี้ออกไป เพราะเชื้อแบคทีเรียได้ทำลายฟันไปมากจนเหลือแต่รากฟัน

  • การผ่าตัดเพื่อจัดแต่งขากรรไกร คือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติหรือปรับแต่งตำแหน่งของขากรรไกรที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว เช่น แก้ไขภาวะถอยของกระดูกขากรรไกรล่าง แก้ไขภาวะเบี้ยวไม่สมมาตรของกระดูกขากรรไกรล่าง เป็นต้น

 

นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายกระดูก ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาโรคฟันที่เกิดจากการมีปริมาณของกระดูกขากรรไกรที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอ เช่น ปัญหาการมีรูปหน้าที่ผิดปกติ เป็นต้น

 

วิธีดูแลรักษาสุขภาพในช่องปาก

 

  • การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพราะเป็นสารที่ช่วยลดการฟันผุได้

  • งดการดื่มสุราและการสูบบุหรี่

  • แปรงฟันให้ถูกวิธีและควรเลือกใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม แต่ก็ไม่นุ่มจนเกินไปเพราะจะทำให้ไม่สามารถกำจัดแผ่นจุลินทรีย์ที่เคลือบฟันอยู่ออกไป และควรเลือกแปรงสีฟันที่มีปลายแหลมที่สามารถสอดเข้าไปได้ถึงกระพุ้งแก้มด้านในได้

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากมากที่สุด คือ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การรับประทานของหวานมากเกินไป เป็นต้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานของหวาน ผัก หรือผลไม้ที่มีรสหวานมากเกินไป

Oral and maxillofacial surgery

คือ การให้บริการเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยสุขภาพในช่องปากและฟันด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ รวมทั้งการให้คำปรึกษาทั่วไป เช่น การอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน ฟันปลอมทั้งชนิดติดแน่นและถอดได้ รวมถึงการรักษารากฟัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีสุขอนามัยที่ดีและมีอายุการใช้งานได้นาน 

 

การตรวจวินิจฉัยโรค

 

การตรวจวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นจะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำได้จากการสังเกตุด้วยตาเปล่าและการซักถามประวัติของคนไข้ประกอบด้วย

 

การรักษาด้วยทันตกรรมทั่วไป

 

  • การขูดหินปูน (Dental Scaling) คือ การกำจัดคราบหินปูนที่เป็นเชื้อแบคทีเรีย โดยการขูดเอาก้อนหินปูนที่เกาะอยู่บริเวณฟัน หรือซอกฟันออกมีทั้งชนิดใต้เหงือก และเหนือเหงือกออกทั้งหมด โดยเครื่องมือที่ใช้ในการขูดหินปูนจะมี 2 ชนิด คือ ใช้แรงมือขูดกับใช้ที่ขูดไฟฟ้า

  • การอุดฟัน เป็นการกรอฟันในบริเวณที่ผุออกแล้วจึงทำการอุดฟันต่อด้วยทันตวัสดุ เช่น อมัลกัม ซึ่งเป็นวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน หรือในกรณีที่บริเวณที่ผุมีขนาดใหญ่มาก ๆ อาจจำเป็นต้องทำการอุดด้วยการทำ Inlays & Onlays 

  • การถอนฟัน เป็นการรักษาฟันผุที่รุนแรงถึงขึ้นทะลุถึงโพรงประสาท นอกจากนี้ยังมีการถอนฟันเพราะต้องการจะจัดฟันด้วย โดยทันตแพทย์จะพิจารณาถถึงหลาย ๆ ปัจจัย เช่น การซ้อนทับกันของฟัน ลักษณะการสบกันของฟัน ความสมมาตรของฟันและกระดูกขากรรไกร

 

ประกันสังคมกับการรักษาฟัน

 

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการรักษาเกี่ยวกับฟัน ไม่ว่าจะเป็นการถอนฟัน การจัดฟัน หรือแม้กระทั่ง การขูดหินปูนสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ โดยจะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง 900 บาท/ปี การใช้สิทธิ์สามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 วิธี ได้แก่

  • การรับบริการทางคลินิกทั้งภาพรัฐและเอกชนทั่วไป ผู้ใช้สิทธิ์จะต้องสำรองจ่ายไปก่อนล่วงหน้า จากนั้นให้นำหลักฐานที่ต้องการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ยื่นเอกสารทั้งหมดที่ได้จากสำนักงานประกันสังคม หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขาที่ผูู้ใช้บริการสะดวกเพื่อรอรับเงินคืนจากสำนักงานประกันสังคมภายในวงเงิน 900 บาท/ปี

  • หากรับบริการที่คลินิกทันตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีป้ายระบุว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ไม่ต้องสำรองจ่าย” ผู้ใช้สิทธิ์สามารถใช้บัตรประชาชนเป็นหลักฐานเข้ารับบริการได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ภายในวงเงิน 900 บาท/ปี

 

 

-

ทันตกรรมประดิษฐ์ คือ การส่งเสริมหรือการรักษาทดแทนสภาพฟันที่มีความเสียหายหรือที่เกิดการสูญเสียฟัน เช่น ทำฟันเทียม ครอบฟัน รากฟันเทียม เป็นต้น ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้มักจะเป็นการใช้วัสดุต่าง ๆ เข้ามาทดแทนฟันที่เสียหายไป

 

บริการทางการแพทย์

 

  • การครอบฟัน

  • ทำรากฟันเทียม

  • ทำฟันเทียม

  • ทำสะพานฟัน

  • การอุดฟัน

  • การทำฟันปลอมทั้งปากหรือบางส่วน

 

ประโยชน์ของทันตกรรมประดิษฐ์

 

  • ทำให้ฟันไม่เคลื่อนหรือล้ม

  • ทำให้สามารถทำความสะอาดฟันได้มากขึ้น

  • ส่งผลให้มีรูปหน้าที่ดีขึ้นเนื่องจากฟันที่มีระเบียบ

  • ส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารหรือการบดเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ในบางรายสามารถส่งผลต่อการพูดให้ดีขึ้นได้

 

การทดแทนฟันที่สูญเสียไป

 

  • การปลูกรากฟันเทียม เป็นการทดแทนสำหรับผู้ที่สูญเสียรากฟันโดยการฝังไททาเนียมแล้วทำการยึดครอบฟันลงไป

  • สะพานฟัน เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันเนื่องจากมีผลถาวร คือการครอบฟันตรงบริเวณฟันซี่อื่น ๆ และเชื่อมต่อฟันปลอมเข้าไป

  • ครอบฟัน เป็นการครอบลงบนฟันจริงมีจุดประสงค์เพื่อใช้ยึดสะพานฟันหรือใช้ยึดรากฟันเทียม

  • ฟันปลอม ทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปสามารถสร้างมาจากโลหะและพลาสติก

  • อุดฟัน เป็นวิธีที่คนส่วนมากนิยมทำกันโดยสามารถเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย เช่น ทอง เรซิน และเงิน เป็นต้น

 

การดูแลฟันปลอม

 

  • ควรแช่น้ำไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน และห้ามใส่ในน้ำร้อนเพราะจะส่งผลให้ชำรุดได้

  • ระมัดระวังในการจับฟันปลอมเพราะมีความบอบบางและชำรุดได้ง่าย

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงทุกวัน

  • เมื่อฟันปลอมเกิดการชำรุดให้นำมาให้แพทย์ห้ามทำการซ่อมแซมด้วยตนเอง

-

การรักษาคลองรากฟัน คือ การรักษาอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคลองรากฟัน เช่น อาการอักเสบ อาการติดเชื้อ หรือการทำความสะอาดบริเวณดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสร้างคลองรากฟันปลอมขึ้นมาเพื่อใช้งานทดแทนจุดที่เสียหายไป

 

อาการมีปัญหาของคลองรากฟัน

 

  • ฟันมีลักษณะเสียหาย เช่น ผุ กร่อน เป็นต้น และเกิดความเสียหายถึงโพรงประสาทฟัน

  • ฟันที่เปลี่ยนสีไปจากเดิมจากอุบัติเหตุ

  • ผูัที่มีตุ่มหนองเกิดขึ้นบริเวณในช่องปาก

  • มีอาการบวมเกิดขึ้นบริเวณเหงือก

 

หากไม่รักษาคลองรากฟันจะเป็นเช่นไร

 

  • ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลง

  • ฟันเกิดการล้มและเอียง

  • ส่งผลให้ปวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเนื่องจากต้องเคี้ยวอาหารข้างเดียว

  • หากรักษาแทนด้วยการถอนฟันอาจทำให้กระดูกบริเวณดังกล่าวเสียหายได้

  • ฟันที่คู่กับซี่ดังกล่าวที่สูญเสียไปจะส่งผลต่อการเคี้ยวอาหารและเสียบุคลิกภาพ

 

การดูแลรักษาฟันหลังการทำคลองรากฟัน

 

  • ไม่ใช้บริเวณที่พึ่งไปรักษาในการขบหรือเคี้ยวของแข็ง

  • หากมีการนัดหมายจากแพทย์ควรเข้าพบตามเวลาที่กำหนดเพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดี

  • ควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพื่อให้การใช้งานคลองรากฟันได้นานมากยิ่งขึ้น

  • ควรรับการบูรณะฟันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น

  • ระมัดระวังในการเคี้ยวอาหารเพราะหากวัสดุเสียหายจะส่งผลให้แผลเกิดการติดเชื้อได้

 

ข้อดีของการทำคลองรากฟัน

 

  • สามารถใช้งานฟันตรงจุดดังกล่าวโดยไม่จำเป็นต้องถอดออกเหมือนฟันเทียม

  • มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารใกล้เคียงกับฟันปกติ

  • ปรับตัวได้ง่ายกว่าการทำฟันเทียม

  • ได้ผลลัพธ์ที่ปลอดภัยกว่าการรักษาด้วยการถอนฟัน

 

ข้อจำกัดของคลองรากฟัน

 

การรักษารูปแบบนี้ไม่สามารถทำได้ติดต่อกันทุกซี่ ทำได้บางซี่เท่านั้นโดยการทำต้องผ่านความคิดเห็นและการตัดสินใจจากแพทย์ โดยจะยึดปัจจัยต่าง ๆ ในการตัดสินใจ เช่น ความเสียหายของบริเวณนั้น ลักษณะของรากฟัน เป็นต้น 

-

โรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ คือ โรคที่สร้างความเสียหายให้กับบริเวณเนื้อเยื่อของช่องปากไม่ว่าจะเป็นเหงือกหรือกระดูกหุ้มรากฟันก็ตาม โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคชนิดนี้มักจะไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่ม แต่หลังจากส่วนอื่น ๆ ในช่องปากเริ่มถูกทำลายจะส่งผลออกมาให้เห็นในภายหลัง เช่น มีอาการปวดหรือบวม เหงือกร่น ฟันโยกและ ฟันหลุด เป็นต้น โรคดังกล่าวสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โรครำมะนาด"

 

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

 

  • ได้รับสารพิษที่มีเชื้อจุลินทรีย์

  • มีหินปูนในช่องปาก

  • ร่างกายขาดสารอาหาร

  • การเรียงตัวไม่เป็นระเบียบของฟัน

  • การใส่ฟันปลอมที่ไม่ถูกวิธี

  • ริมฝีปากปิดไม่สนิท

  • มีเศษอาหารติดฟัน

  • การแปรปรวนหรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย

 

โรคเหงือกอักเสบ สาเหตุของอาการเหงือกบวม

 

เหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหา "เหงือกบวม" เพราะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยปกติแล้วเชื้อแบคทีเรียมักเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของฟันทำให้เกิดคราบสะสม เมื่อคราบเหล่านี้สะสมเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการเหงือกบวมได้ในที่สุด หากมีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้ฟันเป็นหนองได้ อย่างไรก็ตามยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดเหงือกบวมได้ เช่น ฟันปลอมที่ใช้ไม่ได้คุณภาพ หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาจำพวกควบคุมความดันโลหิตและเกิดจากโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อเหงือก เช่น โรคมะเร็งในช่องปาก เป็นต้น

 

อาการของโรคเหงือกอักเสบ

 

  • เหงือกมีสีแดงจัดและดูมันวาว

  • เลือดออกในช่องปากได้ง่าย

  • อาจมีหนองไหลในช่องปากหากผู้ป่วยใช้มือกด

  • ร่องปริทันต์มีขนาดลึกมากขึ้น

 

การรักษาโรคเหงือกอักเสบ

 

  • ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์เพื่อขูดหินปูดพร้อมการเการากฟันต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

  • เมื่อทำการรักษาเสร็จแล้วแพทย์จะนัดตรวจผลลัพธ์ที่ออกมา โดยหากอาการยังไม่ดีขึ้นผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าเหงือก

  • ต้องดูแลความสะอาดของช่องปากอย่างละเอียดโดยเฉพาะซอกฟัน

  • หากแพทย์นัดตรวจต้องมาตามนัดหมายแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาทุก ๆ 6 เดือน

 

วิธีแปรงฟันหลังการรักษาโรคเหงือกอักเสบ

 

  • แปรงวันละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย

  • แปรงเบา ๆ

  • ใช้แปรงสีฟันที่มีปลายมน และมีขนนุ่ม

  • ใช้ไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้ง

 

การป้องกันโรคเหงือกอักเสบ

 

โรคในบริเวณดังกล่าวนี้ต่อให้รักษาหายแล้วก็ตาม ยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้อีก เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการทานอาหารและไม่ได้รับการดูแลรักษาความสะอาดของฟัน ดังนั้นการแปรงฟันทุกวันจึงสามารถช่วยป้องกันโรคปริทันต์ได้ด้วยนั่นเอง นอกจากนี้การเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรู้จักกับสภาพฟันของเราเพื่อเตรียมตัวรับมือหรือป้องกันปัญหาที่อาจนำไปสู่การสูญเสียฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ 

 

โรคเหงือกอักเสบกับการจัดฟัน

 

หากผู้ป่วยต้องการจัดฟันขณะที่ยังเป็นโรคดังล่าวนี้อยู่ควรรักษาโรคนี้ให้หายก่อนเป็นอย่างน้อย 4 เดือน ในความเป็นจริงแล้วก่อนการจัดฟันหากเราเป็นโรคในช่องปากชนิดใดก็ควรรักษาโรคนั้น ๆ ให้หายก่อนเสมอ โดยการจัดฟันขณะเป็นโรคปริทันต์จะทำให้ทำความสะอาดฟันได้ยากขึ้น และอาจส่งผลให้อาการของโรคดังกล่าวหรือโรคอื่น ๆ แย่ลงด้วย