หัวใจขาดเลือด
ทุก 1 ชั่วโมง คนไทยจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 2-3 ราย

หัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย จากสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข พบผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 21,870 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นช่วงวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีจำนวนเยอะมากที่สุด และหากดูข้อมูลย้อนหลังกลับไปเป็นเวลา 4 ปี จะพบว่ามีอัตราการเพิ่มสูงถึง 1.7 ต่อประชากร 100,000 คน และแนวโน้มในปีถัดไปก็คาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นควรทำความเข้าใจกับปัญหา เพื่อทำก่อนป้องกันก่อนที่มันจะเกิดขึ้นกับตัวท่านเอง

 

 

หัวใจขาดเลือดเกิดจากอะไร

 

เมื่อหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จึงไม่สามารถนำโลหิตและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

 

  • ความเครียด

 

  • รับประทานอาหารไขมันสูง

 

  • สูบบุหรี่

 

  • บริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

  • ไม่ออกกำลังกาย

 

  • น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • ระดับไขมันและน้ำตาลในโลหิตสูง

 

 

อาหารไขมันสูง

 

 

อาการหัวใจขาดเลือด

 

  • จุกแน่นหน้าอก

 

  • เหงื่อออก

 

  • ใจสั่น

 

  • หายใจไม่ทัน

 

  • ปวดร้าวไปยังแขนซ้าย

 

  • จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อน

 

 

ใจสั่น

 

 

การตรวจและวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

 

ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น

 

ECHO การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง

 

  • Echocardiogram เป็นการดูขนาดหัวใจขณะกล้ามเนื้อบีบตัว ตรวจการทำงานของหัวใจ ด้วยคลื่นความถี่สูงจาก Transducer ผ่านผนังทรวงอกเข้าไปถึงหัวใจและเกิดการสะท้อนกลับ คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงสัญญาณเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ

 

EST ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย

 

  • เป็นการตรวจว่ามีภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่ ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการวิ่งบนลู่หรือปั่นจักรยาน จะสร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และต้องการออกซิเจนมาและโลหิตหล่อเลี้ยงหัวใจ หากมีอาการเจ็บหน้าอก ความดันเลือดลดลง เป็นสัญญาณของความผิดปกติที่ควรเข้ารับการรักษา

 

Electrocardiogram

 

  • ตรวจการทำงานไฟฟ้าหัวใจ มันสามารถทำงานได้ด้วยกระแสไฟฟ้าควบคุมจังหวะในการเต้น หากเกิดความผิดพลาด ย่อมส่งผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจรวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

 

พบแพทย์หลังจากทำบอลลูนหัวใจ

 

 

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

 

ใช้ยา

 

  • เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ผ่านทางหลอดเลือดดำ

 

  • Nitroglycerine บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก

 

  • ยาลดไขมันในเส้นเลือด

 

การขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน

 

  • โดยการใส่สายอุปกรณ์ เข้าไปทางเส้นเลือดแดง ขยายหลอดเลือดที่อุดตันอยู่ ช่วยให้โลหิตไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น

 

ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

 

  • นำหลอดเลือดแดงและดำจากบริเวณอื่นของร่างกายมาต่อกัน เพื่อทดแทนหลอดเลือดเดิมที่ตีบหลายตำแหน่ง

 

 

ออกกำลังกาย

 

 

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

 

สิ่งควรหลีกเลี่ยง

 

  • การสูบบุหรี่

 

  • ดื่มแอลกอฮอล์

 

  • รับประทานอาหารไขมันสูงในปริมาณมาก

 

  • อารมณ์โกรธ โมโห

 

  • ไม่ออกกำลังกาย

 

สิ่งที่ควรปฏิบัติ

 

  • บริโภคอาหารที่มีประโยชน์

 

  • ทำกิจกรรมสันทนาการ โดยการ เล่นกีฬา ฟังเพลง เป็นต้น

 

  • ควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมันและน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

 

ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปสำหรับหัวใจขาดเลือด ท่านใดที่มีกังวล กลัวจะประสบกับโรคร้ายนี้ สามารถเข้ามารับบริการตรวจหัวใจได้ที่โรงพยาบาลเพชรเวช เพราะมีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจแบบ ECHO EST EKG และ CT Coronary Calcium Score รวมทั้งแพทย์เฉพาะทางที่คอยให้คำแนะนำในการดูแลหัวใจ

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์หัวใจ