สารก่อมะเร็ง
สารก่อมะเร็งในชีวิตประจำวันที่อาจไม่คาดคิด

สารก่อมะเร็ง (Carcinogen) คือ สาร รังสี หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับโดยไม่คาดคิดจากการสัมผัส บริโภค สูดดม เข้าไปเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งขึ้นบนอวัยวะในร่างกายของมนุษย์ การใช้ชีวิตประจำวันในสังคมยุคปัจจุบันที่จะต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลา ทำให้ละเลยในเรื่องของสุขภาพทั้งด้านการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ หรือรับควันมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการจราจรบนท้องถนน 

 

 

สารก่อมะเร็งมีอะไรบ้าง

 

องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ IARC (International Agency for Research on Cancer) ระบุสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ได้แก่

 

  • ดื่มสุรา

 

  • การสูบบุหรี่

 

  • ได้รับควันบุหรี่

 

  • เนื้อสัตว์แปรรูป

 

  • พยาธิใบไม้ในตับ

 

 

 

  • อะฟลาทอกซิน

 

  • เบนโซ (เอ) ไพรีน

 

  • มลพิษทางอากาศ

 

  • ฝุ่นไม้

 

  • รังสีอัลตราไวโอเลต

 

 

มลพิษในอากาศ

 

 

สารก่อมะเร็งในอาหาร

 

อาหารปิ้งย่าง

 

  • การนำเนื้อสัตว์ที่นำมาประกอบอาหารด้วยวิธีปิ้ง ย่าง เผา หรือรวมควัน จะต้องใช้การเผาไหม้ที่มีความร้อนสูง ซึ่งจะมีสารเบนโซ (เอ) ไพรีน ออกมาเมื่อรับประทานเข้าไปเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตับ และท่อน้ำดี

 

เมนูดิบ

 

  • เนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุกล้วนแล้วแต่มีพยาธิ ตัวอ่อนหรือไข่ของมันอยู่ หากบริโภคเข้าไปเสี่ยงต่อมะเร็งท่อน้ำดี

 

เนื้อสัตว์แปรรูป

 

  • ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง ปลาร้า ลูกชิ้น หมูยอ จะมีไนโตรซามีน และ โพแทสเซียมไนเตรตที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง

 

อาหารแห้ง

 

  • การถนอมอาหารด้วยการตากแห้ง เช่น ถั่วป่น พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ขนมปัง หากเก็บไว้นานเกินไป จะเกิดเชื้อราอย่าง  Aflatoxin เมื่อบริโภคเข้าไปเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดมะเร็งตับ

 

 

เนื้อสัตว์ปิ้งย่าง

 

 

สารก่อมะเร็งกล่องโฟม

 

การนำวัสดุจากโฟมมาเป็นภาชนะใส่อาหาร วันละ 1 มื้อ ติดต่อกันนาน 10 ปี จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งได้มากกว่าผู้ที่รับประทานอาหารจากจาน ชาม ถ้วย ปิ่นโต ถึง 6 เท่า เพราะโฟมมีสารโพลีสไตรีนโมโนเมอร์เจือปนมากับอาหารที่มีความร้อนสูง และบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดมะเร็งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • เม็ดเลือดขาว

 

 

 

  • ตับ

 

  • น้ำเหลือง

 

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นขยะที่ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนาน

 

 

โฟมบรรจุอาหาร

 

 

สารก่อมะเร็งในบุหรี่

 

บุหรี่จะมีสารทาร์ลักษณะคล้ายกับน้ำมันดิน รวมทั้งเมื่อมีการเผาไหม้สูบควันเข้าไปยังกระแสโลหิต ทำลาย DNA ในเซลล์ จะทำให้เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติ จนเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น

 

  • ปอด

 

  • กล่องเสียง

 

  • ลำคอ

 

  • หลอดอาหาร

 

อีกทั้งยังมีสารพิษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิโคติน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนไดออกไซด์ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

 

 

 

  • ไอเรื้อรัง

 

 

สูบบุหรี่

 

 

สารก่อมะเร็งในผักผลไม้

 

ผู้ประกอบการบางรายต้องการยืดอายุของผัก ผลไม้หรือทำให้สด ใหม่เสมอ จึงใช้สารเคมีอย่างยาฆ่าแมลง ในกลุ่ม Chlorinated Hydrocarbon

 

  • เช่น Aldrin

 

  • เคลเทน

 

  • Dichlorodiphenyltrichloroethane

 

  • Chlordane

 

  • Dieldrin

 

หากรับประทานไปโดยไม่ล้างให้สะอาด จะทำให้ผัก ผลไม้ จะถูกสารเหล่านี้ยับยั้งขัดขวางการเกิดขึ้นของมะเร็ง หรือบริโภคที่ผ่านการแปรรูปโดยการหมัก ดอง เชื่อมหวาน แช่อิ่ม สารต้านอนุมูลอิสระอย่าง Antioxidant จะถูกทำลายลง ดังนั้นควรล้างให้สะอาดก่อนนำมาบริโภค เพื่อป้องกันสารตกค้างที่ก่อโรคมะเร็งได้ในอนาคต

 

 

การเกิดโรคมะเร็งเป็นขบวนการหลายขั้นตอน มีกลไกที่สลับซับซ้อนที่ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเนื้องอกชนิดร้าย สารที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นมักจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญอย่างปอดและตับ ซึ่งมาจากการสูดดมมลพิษและรับประทานอาหารที่ผิดสุขอนามัย ดังนั้นหากท่านใดที่อยู่ในความเสี่ยงเหล่านี้ สามารถมาทำการตรวจหาความผิดปกติได้ที่โรงพยาบาลเพชรเวช

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ และคัดกรองโรคตับ