โรคนิ้วล็อค
ปลดนิ้วล็อคโรคที่เกิดจากการพิมพ์งาน

เทคโนโลยีก้าวไกล และเอื้ออำนวยให้แก่เราในหลาย ๆ ด้าน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งานแทนการจดบันทึก สามารถเข้าถึงข่าวสารได้เพียงแค่อยู่หน้าจอโทรศัพท์ แต่ความสะดวกสบายที่ได้รับอาจจะนำพามาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ โดยที่ไม่ทันรู้ตัว หนึ่งในโรคที่มีสาเหตุมาจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ นั่นก็คือ โรคนิ้วล็อค 

 

โรคนิ้วล็อคคืออะไร

 

โรคนิ้วล็อค หรือ Trigger Finger เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของปลอกเอ็นนิ้วมือทำให้มีการหนาขึ้นส่งผลให้ไม่สามารถยืด หรือหดนิ้วได้ตามปกติ โดยนิ้วที่พบว่ามักเกิดอาการดังกล่าวคือ นิ้วโป้ง นิ้วกลาง และนิ้วนาง หรืออาจจะเกิดขึ้นได้ทุกนิ้ว และอาจเกิดขึ้นได้ทั้งนิ้วมือทั้งสองข้างอีกด้วย

 

อาการของโรคนิ้วล็อค

 

ความรุนแรงของโรคแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ เริ่มแรกมักจะมีอาการเจ็บที่ฝ่ามือ หรือโคนนิ้วมือ อาการต่อมาจะรู้สึกสะดุดเวลากำมือ หรือเหยียดนิ้วมือออก อาการที่เริ่มเข้าขั้นรุนแรงจะเป็นอาการกำมือแล้วเกิดมือล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ตามปกติจนต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยเหยียดนิ้วออก ส่วนอาการที่เป็นอันตรายคือ ไม่สามารถกำมือได้ และอาจมีอาการนิ้วผิดรูปอีกด้วย โดยอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในตอนเช้า หรือตอนตื่นนอน

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนิ้วล็อค

 

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนิ้วล็อค คือ ผู้ที่ต้องพิมพ์งาน หรือทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับข้อ เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น และผู้ที่ต้องทำงานยกของหนักเป็นประจำ นอกจากนี้ผู้หญิงตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ้วล็อคได้เช่นกันเนื่องจากระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป

 

นิ้วล็อครักษาได้

 

โรคนิ้วล็อคมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย ได้แก่

  • แช่น้ำอุ่น แช่น้ำอุ่นประมาณ 15 นาที เพื่อให้อาการให้ทุเลาลงวิธีนี้มักจะนิยมทำในช่วงเช้า หรือหลังตื่นนอน
  • ฉีดสารสเตียรอยด์ เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้มีความเสี่ยงเพราะหากรักษาไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เส้นเอ็นเสียหายมากกว่าเดิมได้
  • ดามนิ้ว เป็นการรักษาโดยการใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว เพื่อทำให้นิ้วตรง และไม่เกร็ง หรืองอเกินไปขณะนอนหลับ
  • การผ่าตัด หากการรักษาในข้อที่กล่าวไปแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนิ้วล็อคให้สามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้ง่ายขึ้น และยังสามารถลดอาการปวดได้อีกด้วย

 

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

 

พูดคุยกับเรา :   LINE คลิก  


____________________________________
 

ติดต่อศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด

 

วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-19.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 18.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ : 1390