ปัสสาวะบ่อย อันตรายหรือไม่ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ปัสสาวะบ่อย อันตรายหรือไม่ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

ปัสสาวะบ่อย (Frequent Urination) คือ ภาวะความผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หากกำลังเดินทางหรือทำงานอยู่ ก็ต้องรีบมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ แม้กระทั่งในตอนกลางคืนที่ไปรบกวนการนอนหลับ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและก่อโรคร้ายในอนาคต  สำหรับปกติทั่วไปแล้วเมื่อรู้สึกอยากขับถ่ายของเหลวแต่ติดภารกิจอยู่ ก็สามารถอั้นได้ แต่ผู้ป่วยภาวะนี้น้ำยังไม่เต็มกระเพาะปัสสาวะก็เกิดการบีบตัว เมื่อปลดเปลื้องของเสียจะมีปริมาณน้อยกว่าการปวด เสี่ยงที่กลั้นไม่อยู่ปล่อยราดออกมาได้

 

 

ปัสสาวะบ่อยเกิดจากอะไร

 

ดื่มน้ำมากกว่าปกติ

 

  • โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนที่ต้องป้องกันภาวะขาดน้ำ บางรายรู้สึกคอแห้งบ่อย ต้องดื่มเรื่อย ๆ

 

รับประทานผัก ผลไม้ที่มีส่วนผสมของน้ำเยอะ

 

  • เช่น แตงโม แคนตาลูป สาลี่ ชมพู่ แตงกวา และมะเขือเทศ เป็นต้น

 

ใช้ยารักษาโรคประจำตัว

 

  • ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ กับ ยาโรคเบาหวาน

 

ตั้งครรภ์

 

  • มดลูกของผู้หญิงมีครรภ์จะขยายใหญ่จนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ

 

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งคาเฟอีน

 

 

ดื่มน้ำเยอะ

 

 

ปัสสาวะบ่อยเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

 

เบาหวาน

 

  • ร่างกายกำจัดกลูโคสส่วนเกินออกทางปัสสาวะ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมน้ำตาลชนิดนี้ในโลหิตได้

 

โรคไต

 

  • ไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเหลวจึงถูกขับออกมากผิดปกติ

 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

  • เป็นเพราะพฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะและรักษาความสะอาดไม่ถูกสุขลักษณะ จนอักเสบติดเชื้อ

 

ต่อมลูกหมากโต

 

  • ลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง

 

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (OAB)

 

  • ปวดปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ค่อยได้ อาจมีการเล็ดราดออกมา

 

ต่อมไร้ท่อผิดปกติ

 

  • เช่น เบาจืด กับ Cushing syndromes

 

ผลกระทบต่อพื้นที่ ขนาด และขัดขวางการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

 

  • การเกิดของเหลวตกค้าง นิ่ว เนื้องอก รวมทั้งการฉายรังสีจากอาการอักเสบ

 

 

ผลข้างเคียงยาเบาหวาน

 

 

อาการปัสสาวะบ่อยที่ต้องมาพบแพทย์

 

มีภาวะร่วมอื่น ๆ ได้แก่

 

  • เป็นไข้

 

  • มีเลือดปนออกมา รวมทั้งสารคัดหลั่งอื่น หรือตกขาว

 

  • สีปัสสาวะขาวขุ่น แดง น้ำตาลเข้มจัด

 

  • ขณะถ่ายเบา เจ็บ ขัด แสบ เหมือนไม่สุด

 

  • ปวดท้องน้อยหรือมีก้อนอยู่บริเวณนั้น

 

  • ปวดหลัง

 

  • ตื่นมาปัสสาวะมากกว่า 2 ครั้งต่อคืน

 

 

ฉี่เป็นสีเข้ม

 

 

การวินิจฉัยปัสสาวะบ่อยเกินไป

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติ ถามถึงปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวัน ใช้ยาอะไรอยู่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนหรือไม่ หลังจากนั้นทำการตรวจเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น

 

ตรวจเก็บปัสสาวะ

 

  • ดูแบคทีเรียและเซลล์เม็ดเลือดขาวว่าพบการติดเชื้อหรือไม่

 

อัลตราซาวด์

 

  • เพื่อตรวจดูเนื้องอก

 

ส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ

 

  • ใช้ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบ ถ่ายเบาบ่อยเรื้อรังโดยเฉพาะสตรีวัยกลางคนที่ผ่านการคลอดบุตรมานานหลายปี

 

 

ตรวจฉี่

 

 

การรักษาปัสสาวะบ่อย

 

หากพบความผิดปกติแพทย์จะรักษาตามอาการของโรค หากเป็นการตั้งครรภ์เมื่อคลอดบุตรแล้วจะหายได้เอง สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหรือภาวะผิดปกติแต่อย่างไร เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่

 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณที่เหมาะสม

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำปริมาณมากก่อนเข้านอน

 

  • ออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงในกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

 

  • หากมีการเล็ดราดของปัสสาวะ ควรสวมใส่ชุดชั้นในหรือแผ่นซึมซับ

 

 

แม้ว่าปัสสาวะบ่อยจะไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตแต่อย่างใด แต่ผลกระทบทางจิตใจของผู้ป่วยภาวะนี้ไม่ควรมองข้าม เพราะเขาอาจมีความกังวลในอาการที่ผิดปกติจนรู้สึกไม่อยากออกไปไหน เครียดอยู่กับการต้องหาห้องน้ำคอยขับถ่าย บางรายอาจเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ดังนั้นลูกหลานควรเปิดรับทำความเข้าใจ และหาทางแก้ไขอย่างถูกวิธี

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต

 

 

FAQ รวมโปรแกรมตรวจคัดกรองโรค