โรคเมลิออยโดสิส
โรคเมลิออยโดสิส อันตรายที่พ่วงมากับฤดูฝน

 

โรคเมลิออยด์, เมลิออยโดสิส (melioidosis) เป็นโรคที่หน้าฝนควรต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่ร่างกาย ต้องสัมผัสกับน้ำ และดินตลอด

 

 

โรคเมลิออยด์ มีสาเหตุมาจาก 

 

 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งพบในน้ำ และดิน โรคชนิดนี้อาจจะแพร่จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ภายในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิด ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อ

 

 

โรคเมลิออยด์ อาการเป็นอย่างไร 

 

 

 

 

  • เกิดบาดแผลตามเท้า 

 

 

  • ไข้ขึ้นสูง ไอ

 

 

 

 

 

 

  • เกิดหนอง หรือฝีขึ้นตามร่างกาย 

 

 

ระยะฟักตัวของโรคเมลิออยด์ 

 

 

ระยะฟักตัวในผู้ป่วยที่เกิดอาการเฉียบพลัน จะมีระยะเวลา 1-21 วัน แต่มักจะพบอาการโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9 วัน 

 

 

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อสูง

 

 

 

 

  • ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร

 

 

 

 

 

 

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง

 

 

  • ผู้ป่วยโรคปอด

 

 

 

 

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 


การวินิจฉัยโรคเมลิออยด์

 

 

 

 

วินิจฉัยโดยการตรวจสารคัดหลั่ง เช่น ปัสสาวะ แผลที่ผิวหนัง หรือเสมหะของผู้ป่วย และการเพาะเชื้อจากเลือดของผู้ป่วย ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ห้องปฏิบัติการ จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจเลือด เพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อ และสารก่อภูมิต้านทาน

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเมลิออยด์

 

 

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 

 

  • ฝีในสมอง ตับ และม้าม

 

 

 

 

 

 

ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตได้

 

 

โรคเมลิออยด์ รักษาอย่างไร 

 

 

แพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์แรก จากนั้นให้รับประทานยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลา 3 เดือน ถ้าหากผู้ป่วยติดเชื้อ แล้วมีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์

 

 

โรคเมลิออยด์ มีวิธีป้องกันอย่างไร 

 

 

  • หลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำดิน หรือลุยน้ำ ในช่วงฤดูฝน

 

 

 

 

  • หากต้องเดินลุยน้ำ หรือสัมผัสดิน ให้สวมถุงมือยาง และรองเท้าบูทเสมอ

 

 

  • กรณีที่มีบาดแผล ควรรีบทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และยาฆ่าเชื้อทันที

 

 

  • ควรทำความสะอาดร่างกาย หลังจากที่มีการสัมผัสน้ำ และดินมา

 

 

  • ดื่มน้ำ และรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก และไม่มีสารปนเปื้อน 

 

 

เมื่อถึงฤดูฝน ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร ควรป้องกัน และระมัดระวังตนเองให้ดี โดยการสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เมื่อต้องมีการสัมผัสดิน หรือน้ำ ผู้ป่วยท่านใดที่มีอาการเข้าข่าย หรือคล้ายว่าจะเป็นโรคเมลิออยด์ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพราะโรคนี้มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จนอาจนำพาไปสู่การเสียชีวิตได้



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

เตรียมสุขภาพต้อนรับหน้าฝน

 

วัคซีนที่ควรฉีด ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพช่วงหน้าฝน

 

5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่มากับหน้าฝน