กระดูกอักเสบ จากการติดเชื้อรา และแบคทีเรีย
กระดูกอักเสบ จากการติดเชื้อรา และแบคทีเรีย

กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis) คือ การติดเชื้อโรคที่แพร่กระจายผ่านทางกระแสโลหิตเข้าสู่กระดูก มักจะเกิดจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย สามารถพบการอักเสบในกระดูกได้หลายส่วน หรือเพียงส่วนเดียวของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ขา และเท้า โรคนี้เกิดได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย แต่ถ้าเกิดขึ้นกับผู้ป่วยวัยเด็กจะมีผลกระทบในด้านการเจริญเติบโต และผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ถ้ารักษาอย่างไม่ถูกวิธี สามารถเสี่ยงถึงขั้นทุพพลภาพได้

 

 

สาเหตุการเกิดโรคกระดูกอักเสบ

 

การติดเชื้อจากบาดแผล

 

  • เช่น บาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัด หรืออุบัติเหตุ

 

การติดเชื้อบนเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะใกล้เคียงบริเวณที่กระดูกเกิดการอักเสบ

 

  • เมื่อเชื้อโรคเกิดการลุกลาม สามารถเข้าสู่กระดูกในบริเวณใกล้เคียง

 

การติดเชื้อผ่านทางกระแสเลือด

 

  • การติดเชื้อตามอวัยวะในร่างกาย แล้วแพร่เข้าสู่กระดูก

 

ปัจจัยอื่นๆ

 

  • ผู้ป่วยโรคกระดูก หรือผ่าตัดกระดูก

 

  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV โรคเบาหวาน และพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น

 

  • ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ

 

  • ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

 

  • ผู้ที่ติดสารเสพติด

 

  • ผู้ใส่สายสวนอวัยวะเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยที่ล้างไต

 

 

อาการของโรคกระดูกอักเสบ

 

  • เป็นไข้

 

  • หนาวสั่น

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • ปวด บวม แดง หรือมีหนองบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ

 

  • เคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อบริเวณกระดูกที่เกิดการอักเสบได้อย่างลำบาก

 

  • สามารถพบก้อนที่เกิดจากต่อมน้ำเหลืองโต บริเวณอวัยวะใกล้เคียงกับกระดูกที่เกิดการอักเสบ

 

  • หากกระดูกไขสันหลังอักเสบ ในตอนกลางคืนจะทำผู้ป่วยรู้สึกปวดมาก

 

 

การวินิจฉัยกระดูกอักเสบ

 

ขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติความเจ็บป่วย การผ่าตัด หรืออุบัติเหตุในอดีตของผู้ป่วย ถึงอาการของโรคกระดูกอักเสบ หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาการติดเชื้อโรค

 

การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ ถ่ายภาพรังสีในส่วนอวัยวะที่มีอาการของโรค

 

  • ได้แก่ การเอกซเรย์

 

  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

  • การใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

การตรวจเลือด

 

  • เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

 

  • การตรวจหาระดับโปรตีนที่บ่งบอกถึงการอักเสบ

 

การตรวจเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่งต่างๆ

 

  • เช่น สารคัดหลั่งในคอ

 

  • หนอง

 

การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก

 

  • เป็นการใช้เข็มเจาะเพื่อนำชิ้นเนื้อบนกระดูกไปวินิจฉัยในการติดเชื้อ ทำให้รู้ถึงการเลือกใช้ยารักษาผู้ป่วย

 

 

การรักษาโรคกระดูกอักเสบ

 

การใช้ยา

 

  • ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ

 

  • ยาแก้ปวด

 

  • ยาฆ่าเชื้อรา

 

  • ผู้ป่วยสามารถรับประทาน หรือทางหลอดเลือดดำ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการตามดุลยพินิจจากแพทย์

 

การผ่าตัด

 

  • ได้แก่ การผ่าตัดนำหนองออก

 

  • การผ่าตัดนำเนื้อเยื่อ เศษกระดูก หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกมา เช่น เหล็กดามกระดูก

 

  • การตัดกระดูกที่ติดเชื้อออก (Amputation)

 

  • การปลูกกระดูกใหม่ (Bone graft)

 

 

กระดูกอักเสบ

 

 

การดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกอักเสบ

 

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

  • ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ แม้ว่าอาการจะทุเลาลงก็ไม่ควรหยุดยาเอง

 

  • หากกระดูกอักเสบเกิดจากโรคเรื้อรัง ควรควบคุมโรคนั้นไม่ให้กำเริบ หรือมีอาการที่รุนแรง

 

  • พบแพทย์ตามคำนัดหมายทุกครั้ง แม้ว่าจะมีอาการเป็นปกติแล้วก็ตาม

 

 

การป้องกันโรคกระดูกอักเสบ

 

  • ระมัดระวังอุบัติเหตุที่จะทำให้เกิดบาดแผลขึ้น

 

  • ผู้ที่มีบาดแผล หรือใส่อวัยวะเทียมควรรักษาสุขอนามัยให้สะอาด

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และสารเสพติดต่างๆ เพราะเป็นสาเหตุของโรค และอุบัติเหตุ

 

  • หากมีแผล และอาการที่ผิดปกติ เช่น มีหนอง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

 

โรคกระดูกอักเสบมีอัตราการรักษาหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยในวัยเด็กนั้น ที่จะต้องทุพพลภาพไปตลอดชีวิต รวมทั้งผู้ป่วยบางรายสามารถรักษาด้วยการสูดดมออกซิเจนบริสุทธิ์ภายใต้ความดันบรรยากาศสูงกว่า (Hyperbaric oxygen therapy) เพื่อเพิ่มการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อของกระดูก และฆ่าเชื้อโรคที่เกิดการอักเสบได้