เสมหะในคอ สามารถบอกโรคอะไรได้บ้าง
เสมหะในคอ สามารถบอกโรคอะไรได้บ้าง

เสมหะ หรือเสลด คือ การระคายเคืองในลำคอ ที่เกิดจากเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม รวมทั้งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดเสมหะ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดกระตุ้นการหลั่งเสมหะออกมาเคลือบในลำคอ เมื่อหลังออกมาในปริมาณมาก มีความเหนียว ข้น สามารถติดคอได้ สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งเสมหะในคอนี้ สามารถบอกโรคได้เช่นกัน  

 

 

สีของเสมหะบอกโรคอะไรได้บ้าง

 

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้จากสีของเสมหะผู้ป่วย ได้แก่

 

เสมหะสีใส หรือไม่มีสี

 

เสมหะสีนี้จะมีลักษณะเป็นเมือกจะออกมาจากทางจมูก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจเป็นโรคดังนี้

      

  • โรคไข้หวัด

     

  • โรคภูมิแพ้

      

  • โรคหลอดลมอักเสบ

 

  • เสมหะสีขาว

      

  • โรคหลอดลมอักเสบ

      

  • โรคที่เกี่ยวกับปอด

      

  • โรคกรดไหลย้อน

 

เสมหะสีเขียว หรือเหลือง

 

แสดงว่าร่างกาย มีการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจเป็นโรคดังนี้

      

  • โรคไซนัสอักเสบ

      

  • โรคหลอดลมอักเสบ

      

  • โรคปอดบวม

      

  • โรคซิสติกไฟโบรซิส

      

  • โรคภูมิแพ้

 

เสมหะสีชมพู

 

แสดงว่าร่างกาย มีเลือดออกภายในร่างกาย อาจเป็นโรคดังนี้

      

  • โรคฝีในปอด

      

  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

      

  • โรคมะเร็งปอด

      

  • วัณโรค

 

เสมหะสีน้ำตาล

 

เกิดจากสาเหตุเดียวกับเสมหะสีชมพู เพียงแต่ว่าเลือดที่ออกภายในร่างกายนั้น เป็นเลือดที่มีการค้างคาในร่างกายนานมากกว่า อาจเป็นโรคดังนี้

      

  • โรคปอดบวม

      

  • โรคฝีในปอด

      

  • โรคฝุ่นจับปอด

      

  • มีพยาธิในปอด

 

เสมหะสีดำ

 

แสดงว่าร่างกายมีการติดเชื้อรา อาจเป็นโรคดังนี้

      

  • โรคฝีในปอด

      

  • โรคฝุ่นจับปอด

      

  • โรคมะเร็งปอด

 

 

อาการร่วมเมื่อไอมีเสมหะ

 

ไอมีเสมหะ และมีอาการเป็นไข้

      

  • อาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน

      

  • หากมีเสมหะสีเขียว หรือสีเหลือง ร่วมกับเป็นไข้สูง หายใจถี่  อาจเป็นโรคปอดบวม และปอดอักเสบ

 

ไอมีเสมหะ และมีน้ำมูก

      

  • โรคไข้หวัด

      

  • หากมีเสมหะสีเขียว หรือสีเหลือง น้ำมูกไหลในปริมาณมาก และปวดโพรงจมูก อาจเป็นโรคไซนัสอักเสบ

 

ไอมีเสมหะ และมีอาการคันคอ

      

  • โรคภูมิแพ้

      

  • โรคหลอดลมอักเสบ

 

ไอมีเสมหะเรื้อรัง และมีอาการเจ็บคอที่รุนแรง

      

  • มีแผลในลำคอ

      

  • วัณโรค

      

  • ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย

      

  • ได้รับสารพิษจากการสูดดม รวมทั้งมลภาวะสิ่งแวดล้อม

 

ไอมีเสมหะออกมาเป็นเลือด

      

  • โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

      

  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

      

  • วัณโรค

      

  • โรคฝีในปอด

      

  • โรคมะเร็งปอด

 

ไอมีเสมหะ และแสบร้อนกลางอก

      

  • โรคกรดไหลย้อน

 

ไอมีเสมหะ และมีอาการแน่นหน้าอก

      

  • โรคถุงลมโป่งพอง

      

  • โรคหืด

 

 

ยาแก้ไอมีเสมหะ

 

ยาบรรเทาอาการไอมีเสมหะ มี 2 ชนิด หลากหลายรูปแบบ

 

ชนิดของยาแก้ไอมีเสมหะ ได้แก่

 

ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)

      

  • ลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้ขับออกมาได้ง่าย รวมทั้งสามารถบรรเทาอาการแก้อักเสบได้ แต่มีความเสี่ยงในการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

 

ยาขับเสมหะ (Expectorants)

      

  • กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างสารที่มีน้ำออกมาในทางเดินหายใจ เพื่อลดความเหนียวข้นของเสมหะ  ส่งผลให้ขับออกมาได้ง่าย บรรเทาอาการไอได้ดี แต่มีความเสี่ยงในการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

 

รูปแบบของยาแก้ไอมีเสมหะ ได้แก่

 

ยาแก้ไอแบบน้ำ

     

  • เหมาะสมกับเด็ก และผู้ที่มีปัญหาในการกลืนยาเม็ด ร่างกายดูดซึมยาประเภทนี้ได้ดีขึ้น

 

ยาแก้ไอแบบผง รับประทานโดยผสมน้ำ

      

  • โดยน้ำยาผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ มีรสหวาน รับประทานง่าย เหมาะสมกับเด็ก และผู้สูงอายุ

 

ยาแก้ไอแบบเม็ด และแคปซูล

      

  • ยาแก้ไอแบบเม็ดมีรสขม รับประทานยาก แต่ถ้าหากเป็นแบบเม็ดแคปซูล จะทำให้รับประทานง่ายขึ้น

 

 

เสลด

 

 

การรักษาเมื่อมีอาการไอมีเสมหะ

      

  • ดื่มน้ำสะอาด อุณหภูมิปกติ วันละ 8-10 แก้ว

      

  • ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น น้ำขิง หรือน้ำผึ้งผสมน้ำมะนาว

      

  • รับประทานยาแก้ไอ

      

  • ใช้น้ำเกลือกลั้วภายในลำคอ

      

  • งดอาหารประเภทของทอด ของมัน น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

      

  • พบแพทย์ เมื่อรับประทานยาแล้วอาการไอไม่บรรเทาลง

 

 

อาการไอมีเสมหะ มี 2 ชนิด คือ การไอมีเสมหะแบบเฉียบพลัน จะมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์ และการไอแบบเรื้อรัง มีอาการไอ 8 สัปดาห์ขึ้นไป สำหรับเด็ก 4 สัปดาห์ โดยทั่วไปแล้วไอมีเสมหะแบบเฉียบพลัน สามารถหายเองได้ 2-3 สัปดาห์ หากมีอาการในระยะเวลานานกว่านี้ ควรมาทำการพบแพทย์ เพื่อทำการรรักษา เพราะอาจจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ และหากไม่ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้