สเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ สาเหตุของโรคไข้อีดำอีแดง  
สเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ สาเหตุของโรคไข้อีดำอีแดง  

สเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (Group A Streptococcus) คือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) สามารถพบในผู้ป่วยวัยเด็กอายุ 5-15 ปี หากผู้ปกครองปล่อยปละละเลยไม่ดูแลบุตรหลาน สามารถเป็นอันตรายต่อไต หัวใจ และอวัยวะภายในอื่นๆ ได้ อีกทั้งหลังจากประเทศในทวีปยุโรปยกเลิกมาตรการโควิด-19 แต่โรคนี้กลับระบาดขึ้น ในประเทศไทยก็พบเด็กเสียชีวิตจากโรคนี้ด้วยเช่นกัน

 

 

การติดต่อของเชื้อโรค

 

  • ผ่านการไอ

 

  • จาม

 

  • รับประทานอาหาร ดื่มน้ำในภาชนะเดียวกัน

 

โดยมักจะระบาดในสถานศึกษา ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 2-5 วัน อาศัยอยู่ภายในอวัยวะทางเดินหายใจของผู้ป่วย

 

 

อาการของโรค

 

ผู้ที่รับเชื้อมาแล้ว 1 สัปดาห์ จะมีความผิดปกติ ดังนี้

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • มีไข้สูง

 

  • คลื่นไส้

 

  • อาเจียน

 

  • เจ็บคอ

 

  • ลิ้นนูนแดง หรือขาว ในส่วนปลายจะมีลักษณะคล้ายผิวสตรอว์เบอร์รี

 

  • ผดผื่นสีชมพู หรือแดง เป็นตุ่มเล็กขึ้นตามร่างกาย ใบหน้า ข้อพับ รักแร้ และข้อศอก

  

 

เจ็บคอ

 

 

การวินิจฉัยหาเชื้อโรค

 

ในขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติของผู้ป่วย โดยสอบถามผู้ปกครอง หรือครูผู้ดูแล หลังจากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาเชื้อโรค ได้แก่

 

  • ตรวจลำคอ ลิ้น ต่อมน้ำเหลือง และต่อมทอนซิล

 

  • การเพาะเชื้อ (Throat Swab Culture) โดยใช้ไม้ป้ายลำคอเก็บตัวอย่างเชื้อ นำไปวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ

 

  • ตรวจโลหิตหาภูมิต้านทานเชื้อแบคทีเรีย

 

 

การรักษาเมื่อติดเชื้อ

 

  • ใช้ยาปฏิชีวนะ ในระยะเวลา 10-14 วัน

 

  • รับประทานยาบรรเทาอาการไข้

 

  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อแก้เจ็บคอ

 

  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ

 

  • ผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

ปวดหัว

 

 

การป้องกันเชื้อโรค

 

  • สวมหน้ากากอนามัย

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะเดียวกันตอนรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ

 

  • ขณะไอ จาม ควรใช้ทิชชู หรือผ้าปิดปาก

 

  • ล้างมือบ่อยๆ

 

  • ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้เป็นประจำ

 

 

ความอันตรายของโรคจะรุนแรงก็ต่อเมื่อเด็กป่วยเป็นโรคประจำตัวก่อนอยู่แล้ว เมื่อได้รับเชื้อสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน บุตรหลานท่านใดมีอาการตามข้างต้นควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที อีกทั้งผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด แม้ว่าความผิดปกติจะบรรเทาลงแล้วก็ตาม

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

กุมารเวช