อกบุ๋ม
อกบุ๋ม ภาวะความผิดปกติของกระดูกหน้าอก

 

อกบุ๋ม หรือ Pectus Excavatum คือ ภาวะความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกอ่อนที่เชื่อมกับกระดูกหน้าอก และกระดูกซี่โครง ทำให้บริเวณกลางอกยุบลงมากกว่าปกติ และกลายเป็นอกบุ๋ม

 

 

อกบุ๋ม มีสาเหตุมาจาก 

 

 

อกบุ๋ม โดยทั่วไปแล้วจะพบได้ในเพศชาย มากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีปัจจัยมาจากทางพันธุกรรม ที่มีส่วนทำให้เป็นอกบุ๋มได้ตั้งแต่กำเนิด และมักจะมีโอกาสเป็นกระดูกสันหลังคดได้ ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม เช่น กลุ่มอาการความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หรือเส้นเอ็นทั่วร่างกายเกิดหย่อนแต่กำเนิด มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นอกบุ๋ม

 

 

อกบุ๋ม มีอาการอย่างไร 

 

 

  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย

 

 

 

 

 

 

 

 

  • อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายได้น้อยลง 

 

 

ถ้ามีอาการรุนแรง ผู้ป่วยควรงดกิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬาบางชนิด ในบางรายอาจจะมีปัญหาในการเข้า หรืออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม 

 

 

การตรวจวินิจฉัยอกบุ๋ม

 

 

 

 

  • เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan เพื่อหาระดับความรุนแรงของโรค และสามารถเห็นโครงสร้างกระดูกว่านูน หรือบุ๋ม

 

 

 

 

  • การตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อดูการทำงานของปอด ว่าปกติดีหรือไม่

 

 

อกบุ๋ม มีวิธีการรักษาอย่างไร 

 

 

แบบไม่ผ่าตัด

 

 

ใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องดูดสุญญากาศ ดึงบริเวณที่กระดูกอกยุบขึ้นมา อาจจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 1-2 ปี จึงจะเห็นผล 

 

 

เหมาะสำหรับ

 

 

  • ผู้ที่ไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด

 

 

  • มีอายุที่น้อยเกินไป และยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด

 

 

  • ผู้ที่มีภาวะอกบุ๋มเล็กน้อยถึงปานกลาง และไม่รุนแรง

 

 

แบบผ่าตัด

 

 

การผ่าตัดส่องกล้อง

 

 

คือ การผ่าตัดโดยใช้แท่งโลหะ ลอดผ่านใต้กระดูกหน้าอก และทำการดัดโลหะให้เข้ารูป เพื่อไปดามกระดูกที่ผิดรูปร่าง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปี ก่อนจะนำแท่งโลหะออก

 

 

เหมาะสำหรับผู้ป่วย

 

 

 

 

  • หายใจไม่สุด เหนื่อยง่าย 

 

 

  • เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

 

 

  • ลักษณะของหน้าอกผิดปกติ 

 

 

การผ่าตัดแบบเปิด 

 

 

นำกระดูกอ่อนที่ขึ้นผิดรูปร่าง ซึ่งเชื่อมอยู่กับซี่โครงใต้กระดูกออกก่อน หลังจากนั้นจะใช้วิธีการสอดแท่งโลหะ แทรกเข้าระหว่างช่องว่างบริเวณกระดูกสันอก และเยื่อหุ้มหัวใจ เพื่อช่วยดันกระดูกหน้าอก ให้ยกตัวขึ้นมาอยู่ในระดับที่ปกติ แพทย์จะนำแท่งโลหะออก หลังจากผ่าตัดเป็นระยะเวลา 2-3 ปี

 

 

วิธีดูแลตนเอง หลังการผ่าตัดอกบุ๋ม

 

 

 

 

ให้งดการยกของที่มีน้ำหนักเยอะ และกีฬาที่ต้องใช้ร่างกายปะทะ แนะนำให้ออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้แรง หรือเข้าการปะทะเยอะ เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือว่ายน้ำ เป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังการผ่าตัด

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของอกบุ๋ม

 

 

ผู้ป่วยที่มีอาการอกบุ๋มรุนแรง อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ และปอด เช่น ปอดที่ไม่ขยายอย่างเต็มที่ ซึ่งความผิดปกติดังกล่าว อาจจะส่งผลให้เกิดการเบียดบริเวณหัวใจ จนเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ทำให้มีผลต่อการสูบฉีดเลือด

 

 

อกบุ๋ม มีวิธีการป้องกันอย่างไร 

 

 

ปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ เพราะเป็นความผิดปกติที่พบได้ตั้งแต่กำเนิด แต่ถ้าหากสังเกตเห็นความผิดปกติ หรือมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติการป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอกบุ๋ม เช่น โรคกระดูกอ่อนในเด็ก

กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ หรือโรคหนังยืดแบบผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบเจอว่าเข้าข่ายอกบุ๋ม จะได้เข้ารับการรักษาโดยทันที 

 

 

เชื่อว่าหลายท่าน น่าจะเพิ่งเคยได้ยินชื่อภาวะอกบุ๋มเป็นครั้งแรก ตอนอ่านบทความนี้ หรืออาจจะรู้จักภาวะนี้กันมาอยู่แล้ว อกบุ๋มเป็นภาวะที่อาจจะมีอาการไม่รุนแรง โดยความรุนแรงจะทวีคูณขึ้น ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนของอกบุ๋มโผล่ขึ้นมา ท่านใดที่มีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อน ที่เข้าข่ายว่าจะเป็นอกบุ๋ม ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาโดยทันที 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์เอกซเรย์