เต้านมอักเสบ
เต้านมอักเสบ ภาวะติดเชื้อที่คุณแม่ต้องระวัง

 

เต้านมอักเสบ หรือ Mastitis เป็นภาวะติดเชื้อที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านม ส่งผลให้มีอาการบวมแดง รู้สึกเจ็บ และร้อนที่เต้านม โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชาย และหญิงอีกด้วย

 

 

เต้านมอักเสบ อาการเป็นอย่างไร 

 

 

  • เต้านมบวม

 

 

  • เจ็บ และแสบ ขณะให้นมบุตร

 

 

 

 

  • ไม่สบาย มีไข้ขึ้นสูงถึง 38 องศา หรืออาจจะมากกว่า 

 

 

  • เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมหนาขึ้น 

 

 

  • มีเลือด หรือของเหลวไหลออกจากเต้านม

 

 

สาเหตุของเต้านมอักเสบ 

 

 

  • ท่อน้ำนมอุดตัน 

 

 

  • การระบายน้ำนมไม่ดีเท่าที่ควร 

 

 

  • มีเชื้อโรคเข้าไปภายในเต้านม ทำให้เกิดการอักเสบ และติดเชื้อ 

 

 

  • มีน้ำนมค้างอยู่ภายในเต้า

 

 

  • ร่างกายของคุณแม่ ผลิตน้ำนมเยอะกว่าปกติ ทำให้การระบายของน้ำนมไม่สมดุลกับปริมาณน้ำนมที่ร่างกายสร้างขึ้นมา

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดเต้านมอักเสบ 

 

 

  • เคยมีประวัติการเป็นภาวะเต้านมอักเสบมาก่อน

 

 

 

 

 

 

  • ให้นมบุตรไม่ถูกวิธี

 

 

  • การใช้อุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้เต้านมถูกรัดแน่นจนเกินไป เช่น เข็มขัดนิรภัย กระเป๋าสะพาย เป็นต้น 

 

 

การวินิจฉัยเต้านมอักเสบ 

 

 

เป็นการตรวจเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเต้านม และน้ำนม เพื่อให้สามารถระบุวิธีที่เหมาะสมกับการรักษา โดยแพทย์อาจจะรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ, ตรวจแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวด์ ในกรณีที่ยาปฏิชีวนะไม่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น 

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของเต้านมอักเสบ

 

 

หากไม่ได้รับการรักษา อาจจะเกิดการอุดตันภายในท่อน้ำนม จนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฝีที่บริเวณเต้านมได้ 

 

 

การรักษาเต้านมอักเสบ

 

 

 

 

การใช้ยาปฏิชีวนะ

 

 

ให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 วัน โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาให้หมด เพื่อป้องกันการเกิดเต้านมอักเสบซ้ำ 

 

 

การใช้ยาบรรเทาอาการปวด

 

 

แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน หรืออะเซตามิโนเฟน เพื่อทำการรักษาเต้านมอักเสบ ผู้ป่วยสามารถให้นมบุตรได้ ถึงแม้จะมีอาการเต้านมอักเสบ เพราะการให้นมบุตร จะช่วยรักษาภาวะเต้านมอักเสบ ส่วนผู้ป่วยท่านใดที่บุตรอยู่ในช่วงหย่านม อาจจะทำให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้นได้

 

 

วิธีการป้องกันเต้านมอักเสบ 

 

 

  • ปรับเปลี่ยนท่าทางในการให้นมบุตร

 

 

  • ทำการตรวจสอบน้ำนมที่ไหลออกมาจากเต้า

 

 

 

 

  • ควรให้นมบุตรข้างใดข้างหนึ่งจนหมด แล้วจึงสลับข้าง

 

 

  • ถ้าผู้ป่วยเกิดเป็นแผลบริเวณเต้านม ให้ดูแลแผลให้ดี 

 

 

 

 

เต้านมอักเสบ เป็นอีกหนึ่งภาวะที่มีความอันตรายต่อคุณแม่ทุกท่านเป็นอย่างมาก หากมีอาการเข้าข่าย ให้รีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาและรับคำแนะนำเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการให้นมบุตรที่ถูกต้อง 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

สูตินรีเวช

 

วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองง่าย ๆ