โรคลมหลับ ความผิดปกติจากการนอนหลับแบบเรื้อรัง
โรคลมหลับ ความผิดปกติจากการนอนหลับแบบเรื้อรัง

โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นโรคที่มาจากปัญหาการนอนหลับเรื้อรัง ทำให้มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และสามารถหลับได้โดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งถ้าหากไม่ทำการรักษาอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง

 

 

อาการของโรคลมหลับ

 

  • ง่วงนอนมากกว่าปกติโดยเฉพาะในเวลากลางวัน และหลับโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้

 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Cataplexy) เนื่องจากการกระตุ้นทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น และการหัวเราะ เป็นต้น

 

  • อาการผีอำ (Sleep paralysis) คือ การที่ไม่สามารถขยับตัว และส่งเสียงได้ในขณะหลับ สร้างความตกใจแต่ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างไร

 

 

สาเหตุของโรคลมหลับ

 

ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคลมหลับ แต่ในผู้ป่วยหลายรายมักจะมีไฮโปเครติน (Hypocretin) หรือระดับสารเคมีในสมองที่ต่ำกว่าปกติ

 

 

การวินิจฉัยโรคลมหลับ

 

ตรวจการนอนหลับ (Polysomnogram) เป็นการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของดวงตา และการหายใจขณะนอนหลับ

 

ตรวจความง่วงนอน (Multiple Sleep Latency Test) การตรวจวัดระยะเวลาที่รู้สึกง่วง และเวลาที่หลับไปในช่วงกลางวัน โดยให้ผู้ป่วยงีบ ประมาณ 20 นาทีห่างกันทุก 2 ชั่วโมง จำนวน 4 - 5 รอบ และบันทึกผล

 

 

ลมหลับ

 

 

การรักษาโรคลมหลับ

 

แม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาจนหายขาด แต่สามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

 

การใช้ยา

 

  • การใช้ยายากระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น Methylphenidate, Amphetamine, และ Modafinil

 

การปรับพฤติกรรม

 

  • ตื่นนอน และเข้านอนให้เป็นเวลา

 

  • ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอน

 

  • ปรับสภาพร่างกายให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอน

 

 

ผู้ที่เป็นโรคลมหลับหากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษา ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดการหลับใน เป็นอันตรายต่อทั้งคนขับ และผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)