ไตเสื่อมจากการใช้ยา
ไตเสื่อมจากการใช้ยา

ไตเสื่อม ไตวายเฉียบพลัน และโรคไตเรื้อรัง เป็นผลกระทบของภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งผู้ที่ใช้ยาในปริมาณมากๆ เป็นเวลานาน หรืออาจจะรับประทานโดยไม่ได้รับคำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร ซึ่งยาบางชนิดจะทำให้ไตมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง เกลือแร่ และน้ำไม่มีความสมดุลกัน จึงเกิดการสะสมของเสียไว้ในร่างกาย จึงทำให้มีอาการความผิดปกติขึ้น

 

 

ยาที่ทำให้ไตเสื่อม

 

ยาต้านจุลชีพ

 

  • ยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides)

 

  • แอมโฟเทอริซินบี (Amphotericin B)

 

  • ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals)

 

  • ยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides)

 

สเตียรอยด์ และยาสมุนไพรแผนโบราณ

 

  • เป็นสารเจือปนในยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือยาผีบอก ที่เป็นลักษณะแบบเม็ด ผง แคปซูล รวมทั้งยาลูกกลอน นอกจากนี้ยังมีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ เช่น ปรอท ตะกั่ว ทองแดง

 

ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

 

  • ไดโคลฟีแนค (Diclofenac)

 

  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

 

  • เมเฟนามิค แอซิด (Mefenamic Acid)

 

  • ไพร็อกซิแคม (Piroxicam)

 

  • เซเลโคซิบ (Celecoxib)

 

  • เอทอริค็อกซิบ (Etoricoxib)

 

ยาลดความดันโลหิต

 

  • ไฮดราลาซีน (Hydralazine)

 

  • ยาลดความดันในกลุ่ม Angiotensin-Converting Enzyme inhibitor (ACE inhibitor)

 

  • ยาในกลุ่ม ARBs (Angiotensin Receptor Blockers)

 

  • กลุ่มยาต้านเรนิน อินฮิบิเตอร์ (Renin inhibitor)

 

ยาปรับภูมิคุ้มกัน

 

  • เมโทเทรกเซต (Methotrexate)

 

  • ไซโคลสปอรีน (Cyclosporin)

 

  • เอเวอโรลิมัส (Everolimus)

 

ยาเคมีบำบัด

 

  • ซีสพลาทิน (Cisplatin)

 

  • ไอฟอสฟาไมด์ (Ifosfamide)

 

  • ไมโตมัยซิน (Mitomycin)

 

  • กลุ่มยาสแตติน (Statins) ใช้ในการลดไขมันในเลือด

 

 

ไตเสื่อมจากการใช้ยาได้อย่างไร

 

  • ยาบางชนิดทำให้เกิดตะกอน หรือการตกผลึกในไต

 

  • ยาบางชนิดทำให้เกิดการหดตัว หรือขยายตัวของหลอดเลือดที่มาหล่อเลี้ยงไต ส่งผลให้การกรองของเสียมีประสิทธิภาพลดลง

 

  • การอุ้มน้ำมาก (Osmotic nephrosis) จนทำให้เซลล์ไตเกิดการอักเสบ

 

  • ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน จนทำให้ไตเกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลัน

 

 

อาการไตเสื่อมจากการใช้ยา

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • อ่อนเพลีย อ่อนแรง

 

  • ความจำไม่ค่อยดี

 

  • ปวดบั้นเอว

 

  • บวมตามร่างกาย และมีจ้ำเลือด

 

  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีเลือดออก หรือมีปริมาณน้อยลง แต่ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น

 

 

ยา

 

 

การป้องกันไตเสื่อมจากการใช้ยา

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นสาเหตุให้ไตเสื่อม

 

  • หากจำเป็นต้องใช้ยาที่ทำให้ไตเสื่อม ควรใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุด

 

  • ก่อนใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร

 

  • ผู้ป่วยโรคประจำตัวต่างๆ หากรู้สึกว่ามีอาการบรรเทาลงแล้ว ไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด

 

  • หากใช้ยาควรดื่มน้ำในปริมาณที่มากกว่าปกติเพียงเล็กน้อย

 

  • ไม่ใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ไตเสื่อมตามโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อต่างๆ

 

  • หากเข้ารับการบริการทางการแพทย์ต่างๆ ควรแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ว่าใช้ยาโรคประจำตัวชนิดอะไรบ้าง หรือนำมาให้แพทย์เพื่อประกอบการพิจารณาการรักษา

 

 

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกรองของเสียระบายออกมาเป็นปัสสาวะ จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่มีความผิดปกติตรงบริเวณไต ควรระมัดระวังการใช้ยาให้มากที่สุด

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต