ไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายหากรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต
ไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายหากรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทโรซีน และไอโอโดไทโรนีนออกมามากจนเกินไป ระบบเผาผลาญจึงทำงานผิดปกติ โรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในหลายระบบในร่างกาย เป็นอันตรายต่อสุขภาพหากรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต  รวมทั้งการดำเนินในชีวิตประจำวัน

 

 

ไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากอะไร

 

รับประทานไอโอดีนมากเกินไป

 

เนื้องอกบริเวณไทรอยด์ หรือต่อมใต้สมอง

 

การอักเสบของต่อมไทรอยด์

 

  • เมื่อฮอร์โมนจากไทรอยด์ผลิตมากจนเกิดการรั่วไหลในกระแสโลหิต ปกติแล้วมักจะไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ นอกจากแบบกึ่งเฉียบพลัน

 

โรคเกรฟวส์ (Graves' Disease)

 

  • เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่หลั่งฮอร์โมนไทโรซีนออกมามากผิดปกติ มักจะเกิดกับสตรีวัยรุ่น ถึงวัยกลางคน และผู้สูบบุหรี่

 

การได้รับยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน

 

  • เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

 

อาการไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • คอพอก มีก้อนที่บริเวณคอ

 

  • น้ำหนักลดลง

 

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

 

  • ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว

 

  • ตาโปน เห็นภาพซ้อน

 

  • เหงื่อออกง่าย ร้อนบ่อย

 

  • ท้องเสีย

 

  • มือสั่น

 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

 

 

Hyperthyroidism

 

 

การวินิจฉัยไทรอยด์เป็นพิษ

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติสอบถามอาการเจ็บป่วย หลังจากการตรวจร่างกายภายนอกเพื่อหาสัญญาณของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่

 

การเอกซเรย์

 

  • ตรวจอัลตราซาวด์

 

  • ตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan)

 

  • ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

การตรวจเลือด

 

  • วัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์

 

  • วัดการทำงานของต่อมใต้สมอง

 

  • ตรวจระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์

 

 

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

 

รับประทานยาต้านไทรอยด์

 

  • ยาเมไทมา

 

  • ยาโพพิลไทโออูรซิล

 

รับประทานสารรังสีไอโอดีน

 

  • การรักษาด้วยนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

 

ใช้ยาต้านเบต้า

 

  • บรรเทาอาการใจสั่น ลดอัตราการเต้นของหัวใจ

 

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy)

 

  • สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยยา หรือรังสีไอโอดีน เช่น ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ อีกทั้งหลังผ่าตัดจะต้องรับประทานยาควบคุมระดับฮอร์โมนไปตลอดชีวิต

 

 

Overactive Thyroid

 

 

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ

 

ส่วนประกอบของแร่ซีลีเนียม แคลเซียมและโซเดียมสูง ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ข้าวกล้อง

 

  • ไข่ต้ม

 

  • เนื้อไก่ หรือวัว

 

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง

 

  • อาหารทะเล ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ได้รับรังสีไอโอดีน

 

 

การป้องกันโรคไทรอยด์เป็นพิษ

 

โรคนี้ไม่สามารถป้องกันได้ ทำได้เพียง

 

  • สังเกตความผิดปกติของร่างกายบ่อยๆ

 

  • ไม่สูบบุหรี่

 

  • หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

 

 

ไทรอยด์เป็นพิษ และประกันสังคม

 

โรคนี้เป็นหนึ่งใน 26 โรคเรื้อรังที่สำนักประกันสังคมจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการทางการแพทย์ให้ทั้งผู้ป่วยใน และนอก อีกทั้งโรงพยาบาลเพชรเวชได้เตรียมพร้อมรับผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคม ในปี 2566 ที่กำลังจะถึง รวมทั้งเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ

 

 

ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาโดยพลการ เพราะมีโอกาสสูงมากที่จะไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ อีกทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยเฉพาะระบบหัวใจที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย อีกทั้งบุคคลทั่วไปสามารถตรวจต่อมไทรอยด์เบื้องต้นได้ เพียงสังเกต และใช้นิ้วสัมผัสบริเวณลำคอ หากมีก้อน และอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์