ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่กระทบต่อชีวิตประจำวัน

 

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) หลายท่านอาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าหากเป็นผู้ที่เคยประสบพบเจอกับอาการปวดศีรษะประเภทนี้มาก่อน จะทราบดีว่านี่คือหนึ่งในอาการปวดศีรษะที่รุนแรงและทรมานจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก 

 

 

สาเหตุของการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

 

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์นั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติไตรเจมินัลและต่อมไฮโปทาลามัส 


โดยอาจมีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ขึ้น เช่น

 

เครียดสะสม

 

 

  • การเผชิญแสงจ้า, อุณหภูมิที่สูงขึ้น 

 

  • การสูดดมหรือได้รับกลิ่นที่แรง 

 

  • การอดนอน, ออกกำลังกายหนัก

 

  • การสูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์

 

 

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

 

ปวดกระบอกตา

 

  • มีอาการปวดที่รุนแรงบริเวณกระบอกตา, ขมับ หรือหน้าผาก

 

 

  • ในบางวันผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดหลายครั้ง 

 

  • หากเกิดอาการปวดจะนานติดต่อกันทุกวัน อาจไปจนถึงหลายสัปดาห์ และอาจปวดในช่วงเวลาเดิมของวันหรือของปี

 

  • อาการปวดที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจนาน 15 นาที - 3 ชั่วโมง 

 

อาการร่วมที่อาจพบได้บ่อย เช่น 

 

  • ตาแดง, หนังตาบวม, ลืมตาลำบาก

 

  • มีน้ำตาและน้ำมูกไหล, คัดจมูกข้างเดียวกับที่เกิดอาการปวด

 

  • เหงื่อออกที่ใบหน้า 

 

  • รู้สึกกระวนกระวายจากความเจ็บปวด ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ 

 

 

กลุ่มบุคคลเสี่ยงต่อการปวดหัวแบบคลัสเตอร์

 

ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์

 

เป็นอาการที่พบได้น้อย ส่วนมากจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุระหว่าง 20-40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นอาการนี้มาก่อน, ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ประจำ เป็นต้น 

 

 

การวินิจฉัยอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

 

การวินิจฉัยผู้ป่วยต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบประสาทและสมอง โดยแพทย์จะสอบถามประวัติอาการอย่างละเอียด หากผู้ป่วยเข้าข่ายว่ามีอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ แพทย์อาจพิจารณาวิธีการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น MRI, CT-Scan เป็นต้น 

 

 

การรักษาอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

 

  • การบรรเทาอาการปวดแบบเฉียบพลัน เช่น การให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงแก่ผู้ป่วย เป็นต้น 

 

  • การใช้ยารักษา เช่น ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) ในรูปแบบของการทาน, พ่นจมูก หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม และยากลุ่มไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ชนิดทา, เม็ด หรือน้ำ เพื่อบรรเทาอาการปวด เป็นต้น

 

  • การฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการปวดที่รุนแรง

 

 

วิธีป้องกันการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

 

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, เป็นต้น 

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามเข้านอนให้ตรงตามเวลาแบบสม่ำเสมอ

 

ออกกำลังกาย

 

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ, ลดความเครียด

 

  • หลีกเลี่ยงการเจอแสงจ้า, สิ่งของหรือสถานที่ที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง 

 

  • หากมีอาการปวดหัวรุนแรง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที 

 

 

แม้อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์จะพบในชีวิตประจำวันได้ไม่บ่อยนัก แต่เป็นอีกหนึ่งประเภทของการปวดหัวที่ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ ถ้าหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

ศูนย์สมองและระบบประสาท

 

ปวดศีรษะแบบไหนเป็นโรคใดได้บ้าง