เลือดกำเดาไหล ความผิดปกติหลายปัจจัย พร้อมการปฐมพยาบาล
เลือดกำเดาไหล ความผิดปกติหลายปัจจัย พร้อมการปฐมพยาบาล

เลือดกำเดา (Epistaxis) คือ โลหิตที่ไหลออกมาจากโพรงจมูก ทั้งข้างเดียวหรือสองข้างพร้อมกัน ซึ่งไม่ใช่แค่เส้นเลือดภายในโพรงจมูกค่อนข้างเปราะบางแตกได้ง่าย มีอีกหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกตินี้ บางรายมีความรุนแรง เลือดสามารถออกมาทางช่องปากได้ หากกลืนลงไป หรือไหลลงเข้าไปในปอด สามารถไอ อาเจียน ออกมาเป็นเลือด อีกทั้งยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้

 

 

เลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไร

 

  • ล้วง แคะ แกะ เกลา ในโพรงจมูก หรือสั่งน้ำมูกออกอย่างรุนแรง

 

  • จามบ่อย ปฏิกิริยาภูมิแพ้สารเคมี หรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

 

  • อุบัติเหตุ หรือถูกทำร้ายโดยการกระแทกบริเวณจมูก

 

  • การใช้ยาประเภทรักษาโรคหวัด ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ที่ส่งผลให้จมูกแห้ง เช่น ยาต้านฮิสตามีน ยาแก้คัดจมูก รวมทั้งการใช้แอสไพรินมากจนเกินไป

 

  • อุณหภูมิต่ำลง หนาว สภาพอากาศแห้ง

 

 

อากาศหนาว

 

 

เลือดกำเดาไหลเป็นโรคอะไร

 

  • ภูมิแพ้

 

  • ความดันโลหิตสูง

 

  • เลือดออกผิดปกติ

 

  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น โรคฮีโมฟีเลีย

 

  • ภาวะหลอดหลอดเลือดแข็ง

 

  • ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน

 

  • มะเร็ง เนื้องอก วัณโรคในโพรงจมูก

 

 

แคะจมูก

 

 

เลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ อันตรายไหม

 

ปกติแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้ร้ายแรง แต่ถ้าหากเกิดจากโพรงจมูกด้านหลังจะอันตรายกว่าทางด้านหน้า และมีอาการร่วมต่าง ๆ ดังนี้

 

  • เลือดกำเดาไหลไม่หยุด มากกว่า 20 นาที หรือไหลออกข้างเดียวซ้ำ ๆ รวมทั้งออกมามีลักษณะเป็นลิ่มเลือด

 

  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม

 

  • หัวใจเต้นเร็ว การหายใจมีปัญหา

 

  • หูอื้อ

 

  • รู้สึกมีก้อนหรืออะไรติดที่คอ จมูก

 

  • ไข้สูง 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป

 

  • หากมีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที

 

 

สั่งน้ำมูกแรง

 

 

การวินิจฉัยเลือดกำเดาไหล

 

ขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติ ทั้งอาการเจ็บปวด โรคประจำตัว และการประสบอุบัติเหตุในอดีต หลังจากนั้นจะทำการตรวจเบื้องต้นเพื่อหาสิ่งแปลกปลอม ความผิดปกติในโพรงจมูก โดยการใช้สำลีชุบยาสอดเข้าไปในจมูกของผู้ป่วย และทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่

 

ส่องกล้องตรวจภายในโพรงจมูก (Nasal Endoscopy)

 

ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)

 

  • เพื่อดูปริมาณเม็ดเลือดแดง ขาว และเกล็ดเลือด

 

ตรวจวัดระยะเวลาการแข็งตัวของโลหิต

 

  • หากมีความผิดปกติ เลือดจะแข็งตัวในเวลามากกว่า 25-35 วินาทีขึ้นไป

 

วินิจฉัยภาพถ่ายภายในโพรงจมูก

 

  • เอกซเรย์ (X-ray)

 

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

ใส่อุปกรณ์ป้องกันเมื่อต่อยมวย

 

 

 

การปฐมพยาบาลเลือดกำเดาไหล

 

  • หยุดการเคลื่อนไหวทุกกิจกรรมที่กำลังปฏิบัติอยู่

 

  • บีบจมูกประมาณ 5 นาที หายใจทางปาก

 

  • นั่งตัวตรง ยกศีรษะเงยขึ้นพอประมาณ เพื่อป้องกันการสำลักโลหิต

 

  • ประคบเย็นบริเวณจมูก

 

  • เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการจาม สั่งน้ำมูก แหย่ เกลา ในโพรงจมูก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง รวมทั้งอยู่ในสภาพอากาศที่เหมาะสม ไม่หนาวเย็นหรือแห้งจนเกินไป

 

  • หากเลือดไม่หยุดไหลให้มาโรงพยาบาลทันที

 

 

ปฐมพยาบาลเลือดกำเดาไหลอย่างถูกวิธี

 

 

การป้องกันเลือดกำเดาไหล

 

  • ตัดเล็บให้สั้น หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูก แคะ แกะ เกลา ในโพรงจมูก

 

  • หากอยู่ในช่วงฤดูหนาว ควรทาปิโตรเลียมเจล

 

  • ไม่สูบบุหรี่

 

  • ระมัดระวังการกระทบกระเทือนบริเวณจมูกโดยตรง เช่น การเล่นกีฬา หรือประสบอุบัติเหตุทางจราจร

 

 

เลือดกำเดาไหลสามารถพบได้ทุกเพศ และทุกวัย แต่เด็กเล็กและผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงอาการรุนแรง โรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการตรวจ CBC ซึ่งจะอยู่ในแพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพ เหมาะสมสำหรับท่านที่กังวลใจว่าร่างกายของตนเองนั้นมีความผิดปกติอยู่หรือไม่ ดังนั้นแล้วควรใส่ใจกับสุขภาพเพราะสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนั้นเป็นมลพิษมากมาย โดยเฉพาะ ฝุ่น P.M. 2.5

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566

 

 

รู้จักความดันโลหิต ก่อนเกิดอาการสูง-ต่ำ

 

 

ริดสีดวงจมูก เกิดขึ้นและรักษาอย่างไร