หน้าแรก
> รวมบทความสุขภาพ
> โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) ความผิดปกติทางเส้นประสาทที่ไม่ควรปล่อยผ่าน
การแสดงออกทางใบหน้า เป็นการบ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ทั้งการยักคิ้ว การขยิบตา หรือการเบ้ปาก แต่หากเราไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Bell’s palsy ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของเส้นประสาท และเป็นโรคอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า
ภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือเส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อเริม (Herpes simplex virus) งูสวัด (Herpes zoster) ที่แฝงอยู่ในปมประสาท หากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจะทำให้เกิดโรคนี้ได้
อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง โดยจะมีอาการ ดังนี้
โรคหน้าเบี้ยวกับโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตนั้นเป็นคนละโรคกัน โดยโรคหน้าเบี้ยวจะเกิดความผิดปกติขึ้นที่เส้นประสาท แต่โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดความผิดปกติขึ้นที่เนื้อสมอง แม้จะมีอาการหน้าเบี้ยวเหมือนกัน แต่โรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แขนและขาอ่อนแรง มีอาการชาตามแขน เป็นต้น
โรคนี้จะดีขึ้น และสามารถหายได้เองโดยใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติประมาณ 65 % แต่หากได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติสูงถึง 97 % โดยโรคนี้จะมีวิธีการรักษา ดังนี้
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกแม้จะสามารถหายเองได้ แต่หากปล่อยไว้นานจะทำให้กลับมาเป็นปกติได้น้อย ดังนั้นหากพบว่าตนเอง หรือคนในครอบครัวมีอาการควรรีบพาเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI