แก้วหูทะลุ
แก้วหูทะลุ ความเสี่ยงของผู้ที่ชอบแคะหู

 

แก้วหูทะลุ หรือ Ruptured Eardrum เป็นการติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลาง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่บางทีหูอาจจะมีอาการคัน ผู้ป่วยจึงนำไม้แคะหู หรือคอตตอนบัด แหย่เข้าไปภายในรูหู เพื่อบรรเทาอาการคัน ถ้าหากทำผิดวิธี หรือพลาดแคะ และปั่นแรงจนเกินไป อาจจะเสี่ยงทำให้เกิดแก้วหูทะลุได้

 

 

แก้วหูทะลุ มีอาการอย่างไร

 

 

  • ไข้ขึ้นสูง ไม่สบาย คลื่นไส้ และอาเจียน

 

 

  • หลังจากบรรเทาอาการคันในหู แล้วรู้สึกปวด หรือเจ็บภายในหูทันที

 

 

 

 

  • ความสามารถในการได้ยินลดลง 

 

 

  • มีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งอาจจะเป็นหนอง น้ำสีใส หรือเลือดปนออกมา

 

 

  • ถ้ามีอาการรุนแรง อาจส่งผลให้ใบหน้าเบี้ยว

 

 

แก้วหูทะลุ เกิดจากสาเหตุใด 

 

 

  • การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง 

 

 

  • หูชั้นกลางอักเสบจากของเหลวที่คั่งอยู่ภายในหู

 

 

 

 

  • การใส่สิ่งของแปลกปลอมเข้าไปในภายในหู เช่น ก้านสำลี ไม้แคะหู เป็นต้น 

 

 

  • หูได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ แรงกระแทก และแรงดัน 

 

 

  • อยู่ในสถานที่ หรือสถานการณ์ที่มีเสียงดังจนเกินไป

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของแก้วหูทะลุ

 

 

หากเกิดภาวะการฉีกขาด หรือทะลุ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ภายในหูได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ถ้าติดเชื้อรุนแรง อาจทำให้ใบหน้าเป็นอัมพาต หรือบิดเบี้ยวได้ แต่กรณีการติดเชื้อรุนแรง ยังพบเจอได้ไม่บ่อย นอกจากนี้ภาวะการฉีกขาด หรือทะลุของหู สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณหูชั้นในได้ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือส่งผลให้ความสามารถในการได้ยินบกพร่อง 

 

 

การวินิจฉัยแก้วหูทะลุ 

 

 

  • ตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง เพื่อดูความสามารถในการได้ยินเสียงของผู้ป่วย ว่าปกติดีหรือไม่

 

 

 

 

  • ตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง เพื่อดูการตอบสนองของแก้วหู

 

 

  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการเก็บตัวอย่างของเหลวที่ไหลออกมา แล้วส่งตรวจ หรือเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ 

 

 

วิธีการรักษาแก้วหูทะลุ

 

 

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นแก้วหูทะลุ จะสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่อาจนานไปถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสาเหตุ โดยแพทย์อาจจะใช้วิธีการรักษาผู้ป่วย ดังนี้

 

 

  • รักษาโดยการปิดเยื่อที่แก้วหู แพทย์จะใช้กระดาษเพื่อปิดรูหูบริเวณที่เกิดการฉีกขาด ซึ่งอาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งถึงจะหายสนิท

 

 

  • รักษาโดยการผ่าตัดปะแก้วหู แพทย์จะนำเนื้อเยื่อส่วนอื่นที่ใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อแก้วหู มาปิดที่บริเวณแก้วหูทะลุแทน 

 

 

การป้องกันแก้วหูทะลุ

 

 

  • หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ 

 

 

  • ไม่นำสิ่งแปลกปลอม หรือวัตถุใด ๆ แหย่เข้าไปภายในรูหู

 

 

  • หากมีไข้ หรืออาการปวดหู และความสามารถในการได้ยินลดลง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

 

 

 

 

  • หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ควรใส่ที่ครอบหู เพื่อป้องกัน และลดเสียงที่ได้รับลง 

 

 

แก้วหูทะลุ เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงของผู้ที่มีพฤติกรรมการบรรเทาอาการคันโดยการปั่น และแคะหู จริง ๆ แล้วขี้หูสามารถหลุดออกมาเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องแคะออกมาเลย หากท่านใดที่มีอาการเข้าข่ายแก้วหูทะลุ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

คลินิกหูคอจมูก

 

หูตึง อาการที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

 

แคะหูบ่อยๆ เป็นอันตรายหรือไม่