ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ เป็นอันตรายหรือไม่
ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ เป็นอันตรายหรือไม่

การพบโปรตีนในปัสสาวะจากการตรวจหาโมเลกุลโปรตีนที่รั่วออกจากปัสสาวะ (Urine protein test) เป็นการบ่งบอกว่าไตมีปัญหา โดยปกติแล้ว โปรตีนจะกลับคืนเข้าสู่ร่างกายจากการกรองของไต จะไม่ปล่อยโปรตีนออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งถ้าหากมีการขับโปรตีนออกมาจากการปัสสาวะมากเกินไป แสดงว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง หรือโรคไตบางชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน

 

 

วิธีการตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ

 

การตรวจวิเคราะห์โปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24-hour urine protein test) คือการตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะที่ให้ผลแน่นอน และได้มาตรฐาน โดยโปรตีนส่วนใหญ่ที่ออกมาทางปัสสาวะจะเป็นชนิดอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดเดียวกับในไข่ขาว

 

การตรวจโดยใช้แผ่นทดสอบสำเร็จรูป (Urine dipstick for protein) แผ่นทดสอบสำเร็จรูปนี้จะมีสารเคมีเคลือบอยู่ มีความไวต่อการตรวจพบโปรตีนชนิดอัลบูมินมากที่สุด การตรวจโดยใช้แผ่นทดสอบอาจเกิดผลตรวจปลอมได้ เช่น ความเข้มข้นสูงในปัสสาวะ  ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น

 

 

การรายงานผลตรวจโปรตีนในปัสสาวะ

 

       ตรวจไม่พบโปรตีน Negative (0 mg/dL) เกิดจากสภาวะบางอย่าง เช่น มีความเครียดสูง มีไข้ การออกกำลังกายอย่างหักโหม มีการปนเปื้อนของเลือด หรืออสุจิในปัสสาวะ เป็นต้น ถือว่าเป็นภาวะปกติ

 

       พบในโปรตีนปริมาณน้อย Trace (15-30 mg/dL) - 1+ (30-100 mg/dL)  เกิดจากสภาวะเดียวกับการไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ เช่น เมื่อหายเครียด หรือหายจากการเป็นไข้แล้ว ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะแสดงว่าเป็นการเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวของโปรตีนในปัสสาวะ (Transient proteinuria) ถือว่าเป็นภาวะปกติ

 

       พบโปรตีนในปริมาณมากตามลำดับ 2+ (100-300 mg/dL),  3+ (300-1,000 mg/dL), 4+ (มากกว่า 1,000 mg/dL) เกิดจากการถูกทำลายของไต อาจมาจากสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานลงไต ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ปกติ

 

 

โรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโปรตีนในปัสสาวะมากเกิน

 

       กลุ่มอาการเนฟโฟรติก

 

       โรคไต

 

       ภาวะหัวใจวาย

 

       โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

       โรคกรวยไตอักเสบ

 

       โรคเอสแอลอี

 

       โรคมาลาเรีย

 

 

โปรตีนในปัสสาวะ

 

 

การรักษาภาวะโปรตีนในปัสสาวะ

 

หากโปรตีนในปัสสาวะเกิดจากโรคเบาหวาน รักษาด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การลุกลามช้าลง

 

       การใช้สารยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซิน (ACE) มักจะใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการควบคุมโปรตีนในปัสสาวะด้วย ACE inhibitors การเพิ่ม aldosterone antagonist หรือ angiotensin receptor blocker (ARB) ช่วยลดการสูญเสียโปรตีนได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง หากมีการเพิ่มสารเหล่านี้ใน ACE inhibitor therapy เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อภาวะโพแทสเซียมสูง

 

 

การตรวจโปรตีนในปัสสาวะเป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพทั่วไป หากมีความผิดปกติแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุที่แน่นอนในการรักษา อีกทั้งการตรวจโปรตีนในปัสสาวะยังช่วยลดความเสี่ยง และป้องกันจากโรคไตได้อีกด้วย

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต