ฝีดาษลิง โรคจากเชื้อไวรัสในตระกูลไข้ทรพิษ
ฝีดาษลิง โรคจากเชื้อไวรัสในตระกูลไข้ทรพิษ

ฝีดาษลิง (Monkeypox) คือ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อยู่ในตระกูลฝีดาษ หรือไข้ทรพิษจากไวรัส Orthopoxvirus  โดยเชื้อนี้มักจะอยู่ในสัตว์ในตระกูลลิงและฟันแทะ เช่น  หนู กระรอก กระต่าย มักจะพบในป่าดิบชื้นบริเวณตอนกลางและทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา จึงแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ตามถิ่นกำเนิดของโรค clade 1 และ clade 2 แต่สายพันธุ์แอฟริกากลาง จะมีการติดเชื้อที่รุนแรงและแพร่กระจายได้รวดเร็ว

 

 

ฝีดาษลิงเกิดจากอะไร

 

ฝีดาษลิงถูกค้นพบครั้งแรกใน ค.ศ. 1968 เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae ในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งมีเชื้อไวรัสหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น

 

  • Variola Virus โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ

 

  • Vaccinia Virus

           

  • Cowpox Virus หรือ โรคฝีดาษวัว

 

เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะมีระยะในการฟักตัวเป็นเวลาเฉลี่ย 7-14 วัน อาจจะใช้เวลานานถึง 24 วัน ในบริเวณต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมีการค้นพบผู้ที่ติดเชื้อเป็นครั้งแรกของโลกใน ค.ศ. 1970 ที่ประเทศคองโก ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

 

สัตว์สู่คน

 

  • จากการสัมผัสสารคัดหลั่งและโลหิตผ่านทางผิวหนัง เช่น โลหิต และน้ำมูก

 

  • ถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัดหรือขีดข่วน

 

  • นำเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อมารับประทาน

 

คนสู่คน

 

  • สัมผัสสารคัดหลั่ง เช่นเดียวกับการติดต่อกันจากสัตว์สู่คน

 

  • ใช้สิ่งของส่วนบุคคลร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อฝีดาษลิง

 

  • ได้รับเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจ

 

 

กระรอก

 

 

อาการของโรคฝีดาษลิง

 

  • เป็นไข้

           

  • ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ

           

  • ต่อมน้ำเหลืองโต

 

  • เจ็บคอ

           

  • อ่อนเพลีย

 

  • เกิดผื่นบนใบหน้า ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ เช่น แขน ฝ่ามือ ขา รวมทั้งเยื่อบุบริเวณตา ช่องปาก และอวัยวะเพศ

           

  • หลังจากนั้นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ฝี และตกสะเก็ด

 

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายเองตามธรรมชาติ และจะมีอาการป่วยเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ นอกเสียจากว่าจะติดเชื้อซ้ำซ้อนที่บริเวณปอด ลามไปสมองจนเกิดการอักเสบขึ้น หรือติดเชื้อที่กระจกตา มีความเสี่ยงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

 

 

 

ผื่นฝีดาษลิง

 

การรักษาโรคฝีดาษลิง

 

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงเฉพาะ ทำได้เพียงการให้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษซึ่งผลการรักษาจะมีประสิทธิภาพเพียง 85% รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัส ได้แก่

           

  • Cidofovir

            

  • Tecovirimat

           

  • Brincidofovir

 

ประคับประคองอาการ

 

  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

 

  • ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน

 

ดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อ

 

  • หลีกเลี่ยงการแกะเกาแผล

 

  • บริเวณที่เป็นผื่น ต้องมีการระบายอากาศ เพื่อไม่ให้ผิวหนังอับชื้น

 

  • ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสผื่น

 

  • ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า

 

 

พบแพทย์เมื่อมีผื่น

 

 

การป้องกันโรคฝีดาษลิง

           

  • ล้างมือบ่อยๆ

           

  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และใส่หน้ากากอนามัย

           

  • งดรับประทานเนื้อสัตว์ป่า

           

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า แม้ว่าสัตว์ตัวนั้นจะตายไปแล้ว

           

  • ไม่ควรพบปะผู้ที่มีอาการเสี่ยงของโรค หรือมาจากพื้นที่เสี่ยงโดยตรง

 

 

วัคซีนฝีดาษลิง

 

 

ฝีดาษลิงในไทยล่าสุด

 

สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงและการระบาดเพิ่มมากขึ้น เพราะเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มีข่าวพบผู้เสียชีวิตที่มีโรคประจำตัวอย่าง HIV ซิฟิลิส แล้วติดเชื้อฝีดาษลิง ทางเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงว่าพฤติกรรมเสี่ยงที่ปัจจัยในการติดเชื้อ คือ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ที่ไม่ใช่คู่สมรสของตนเอง โดยเฉพาะความสัมพันธ์แบบชายรักชาย ทั้งนี้หากผู้ที่ประสบกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแล้ว มีโอกาสที่จะได้รับความรุนแรงของอาการ ดังนั้นหากพบความผิดปกติ เช่นมีตุ่ม ผื่น บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือบนผิวหนังช่วงใดก็ตาม ควรรีบพบแพทย์โดยทันที แม้ว่าจะมียาต้านไวรัสอย่าง Tecovirimat (TPOXX) จากองค์การอนามัยโลกเป็นจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม ควรป้องกันโดยไม่มีกิจกรรมทางเพศกับคนแปลกหน้า เฝ้าติดตามข่าวสารเป็นประจำโดยไม่ตื่นตระหนก

 

 

สวมหน้ากากอนามัย

 

 

ฝีดาษและฝีดาษลิงแตกต่างกันอย่างไร

 

ทั้ง 2 โรคนี้แม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มไวรัสเดียวกัน แต่เป็นคนละชนิด โดยเชื้อไข้ทรพิษนี้จะติดต่อกันแบบคนสู่คนผ่านระบบทางเดินหายใจเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการไอ จาม ทำให้แพร่ผ่านละอองฝอย สารคัดหลั่ง ผิวหนังจะแห้งตกสะเก็ด และหลุดจนหมด เมื่อหายแล้วจะกลายเป็นรอยแผลเป็นทิ้งไว้ มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าฝีดาษลิง หากสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับเชื้อฝีดาษ อาจส่งผลถึงขั้นแท้งบุตรในครรภ์ได้

 

 

บทความนี้เป็นเพียงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นกับสถานการณ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้ตนเองและบุคคลรอบข้างนั้นติดเชื้อโรค อีกทั้งฝีดาษลิงไม่ได้ระบาดได้ง่ายเหมือนกับโควิด-19 เพราะความเสี่ยงการติดเชื้อโดยผ่านระบบทางเดินหายใจมีน้อยกว่าการสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ