ปวดข้อนิ้วมือ สัญญาณของโรคข้อเสื่อม
ปวดข้อนิ้วมือ สัญญาณของโรคข้อเสื่อม

อาการปวดข้อนิ้วมือ เป็นสัญญาณของโรคข้อเสื่อม และโรคต่างๆ รวมทั้งเกิดจากการบาดเจ็บได้เช่นกัน สามารถพบได้ในทุกเพศ และทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานโดยการใช้นิ้วมือ หรือมือเคลื่อนไหวเป็นประจำ นอกจากจะมีอาการปวดข้อนิ้วมือแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ เช่น เหน็บ ชา หรือข้อนิ้วมือบวม สามารถรักษาอาการปวดข้อนิ้วมือให้หายได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าหากมีอาการปวดข้อนิ้วมือแบบเรื้อรัง ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

 

 

สาเหตุของการปวดข้อนิ้วมือ

 

เกิดจากโรคข้ออักเสบ เช่น

 

  • 1. โรครูมาตอยด์

      

  • 2. ข้อกระดูกอักเสบ

 

เกิดจากโรคอื่นๆทั่วไป เช่น

      

  • 1. ภาวะเอ็นฝ่ามือหดรั้ง

      

  • 2. อาการประสาทมือชา

      

  • 3. โรคปลายประสาทอักเสบ

      

  • 4. การติดเชื้อบริเวณบริเวณนิ้วมือ

      

  • 5. เนื้องอกบริเวณนิ้วมือ

      

  • 6. โรคผิวหนังอักเสบ

 

เกิดจากอาการบาดเจ็บ

 

หากส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของนิ้วมือได้รับการบาดเจ็บสามารถเกิดการปวดข้อนิ้วมือได้ เช่น

      

  • 1. กระดูกข้อนิ้วมือหัก

      

  • 2. นิ้วมือซ้น

      

  • 3. นิ้วมือเคล็ด

 

 

การวินิจฉัยอาการปวดข้อนิ้วมือ

      

  • 1. แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย

      

  • 2. ทำการเจาะเลือด

     

  • 3. เอกซเรย์นิ้วมือ เพื่อหาความผิดปกติของข้อนิ้วมือ เช่น เนื้องอก

 

 

การรักษาอาการปวดข้อนิ้วมือ

 

การรักษาอาการปวดข้อนิ้วมือด้วยตนเอง

      

  • 1. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะต้องใช้งานนิ้วมือหนักๆ เช่น การพิมพ์ข้อความแชท และการเล่นกีฬา เป็นต้น

      

  • 2. ทำการประคบเย็นด้วยน้ำแข็ง ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ครั้งละ 20 นาที

     

  • 3. เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ หรือเภสัชกร เกี่ยวกับการใช้ยาแก้อักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์

      

  • 4. ใช้แผ่นแปะบรรเทาอาการปวดข้อนิ้วมือได้ ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด

 

การรักษาอาการปวดข้อนิ้วมือโดยแพทย์

 

แพทย์จะรักษาตามอาการบาดเจ็บ และสาเหตุในการปวดข้อนิ้วมือ

      

  • 1. ในกรณีที่เกิดจากนิ้วมือซ้น แพทย์จะให้ผู้ป่วยสวมอุปกรณ์ดามนิ้ว

      

  • 2. สำหรับผู้ป่วยข้อนิ้วอักเสบ แพทย์จะให้รับประทานยาแก้อักเสบ กายภาพบำบัด หรือทำการผ่าตัดในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรงมาก

 

 

ปวดข้อนิ้วมือ

 

 

การป้องกันอาการปวดข้อนิ้วมือ

      

  • 1. หากต้องกำกิจกรรมหนักๆ เช่น เล่นกีฬา ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันนิ้วมือ

      

  • 2. ผู้ที่ทำงานโดยการใช้นิ้วหนักๆ เช่น ผู้ที่ต้องพิมพ์งานบ่อยๆ ควรผ่อนคลายนิ้วมือให้หยุดพักเป็นบางช่วงเวลา

      

  • 3. ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่

 

 

อาการปวดข้อนิ้วมือ เกิดขึ้นได้กับนิ้วเดียว หรือหลายๆนิ้วได้ เช่นกัน มักจะมีอาการร่วม เช่น นิ้วบวม เจ็บนิ้วขณะเคลื่อนไหว ปวดแสบ ร้อน บริเวณข้อนิ้วมือจนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนสีไป หากมีอาการหนัก เช่น นิ้วมีมีอาการเหน็บชา ไร้ความรู้สึก เคลื่อนไหวไม่ได้ มีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นไข้ ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับรักษาให้หายขาด

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมแก้ปัญหามือและข้อมือด้วยการผ่าตัด