ลำไส้แปรปรวน
ลำไส้แปรปรวน โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

 

ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลำไส้ส่วนปลายที่ผิดปกติ ทำให้มีการบีบรัดตัวมาก และไวต่อสิ่งกระตุ้น ส่งผลให้มีอาการปวดเกร็ง, แน่นอึดอัดท้อง, การขับถ่ายผิดปกติ เป็นต้น

 

 

ลำไส้แปรปรวน เกิดจากสาเหตุใด

 

 

 

 

 

 

  • จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้ป่วยเป็นลำไส้แปรปรวนได้

 

 

  • ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ 

 

 

  • การติดเชื้อทางเดินอาหาร

 

 

ลำไส้แปรปรวน อาการเป็นอย่างไร

 

 

ลำไส้แปรปรวนจะมีอาการที่สามารถบ่งชี้ได้ คือ การขับถ่ายที่ผิดปกติ และปวดท้องเรื้อรังแบบเป็น ๆ หาย ๆ โดยจะไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มอาการ เช่น กลุ่มอาการท้องผูก, กลุ่มอาการท้องเสีย และกลุ่มอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ ดังนี้

 

 

  • คลำเจอก้อนภายในท้อง

 

 

 

 

  • มีไข้ น้ำหนักลดลง

 

 

 

 

  • คลื่นไส้ อาเจียนแบบรุนแรง

 

 

การวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน

 

 

 

 

 

 

  • การเอกซเรย์

 

 

  • ตรวจอุจจาระ เพื่อค้นหาการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินอาหาร

 

 

ลำไส้แปรปรวน มีวิธีการรักษาอย่างไร 

 

 

  • แพทย์จะให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีองค์ประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรต

 

 

 

 

  • ให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม โดยแพทย์จะค้นหาวิธีที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยอาการกำเริบ 

 

 

  • รักษาโดยให้ยาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดท้อง, ยาระบาย, ยาต้านบีบเกร็ง, ยาต้านอาการซึมเศร้า เป็นต้น

 

 

วิธีป้องกันลำไส้แปรปรวน 

 

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร 

 

 

  • ในแต่ละวัน ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ

 

 

 

 

  • ลดความเครียด คลายความกังวล

 

 

  • ไม่กลั้นอุจจาระ

 

 

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

 

 

ลำไส้แปรปรวน เป็นโรคที่อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบากในแต่ละวัน ดังนั้น ทุกท่านควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดความเครียด และหันมาใส่ใจสุขภาพกันให้มากขึ้น ท่านใดที่เข้าข่ายอาการของโรคลำไส้แปรปรวน ให้เข้าพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยอาการ และดำเนินการรักษาต่อไป



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

รวมโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่ควรรู้

 

ลำไส้อักเสบ ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

 

เมื่ออาหารทำพิษชีวิตเปลี่ยน

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้