ตัดต่อมทอนซิลอันตรายหรือไม่
ตัดต่อมทอนซิลอันตรายหรือไม่

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าต่อมทอนซิลมีหน้าที่ในการดักจับ ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเรา แต่เมื่อต่อมทอนซิลติดเชื้อจากแบคทีเรีย และเกิดความรุนแรงมากจนต้องทำการตัดออก ซึ่งหลายคนอาจจะรู้สึกกังวลว่าหากตัดต่อมทอนซิลออกแล้วจะมีผลกระทบต่อร่างกายในแง่ร้ายหรือไม่ ดังนั้นเรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน

 

 

เมื่อไหร่ที่ต้องผ่าต่อมทอนซิล

 

ก่อนที่เราจะไปพูดถึงเรื่องผลกระทบจากการตัดต่อมทอนซิล เรามาดูกันก่อนว่าต้องมีอาการอย่างไรถึงจะต้องผ่าตัดต่อมทอนซิล

  • ต่อมทอนซิลมีขนาดโตจนขัดขวางการหายใจ ทำให้คนไข้มีอาการนอนกรน หรือเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • มีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร เช่น กลืนอาหารลำบาก เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบที่คอบ่อย ๆ หรือมีอาการเป็นต่อมทอนซิลแบบเป็น ๆ หาย ๆ
  • มีอาการเจ็บคอมากจนอาเจียนออกมาหลังรับประทานอาหาร

 

 

ตัดต่อมทอนซิลแล้วภูมิคุ้มกันร่างกายจะลดลงหรือไม่

 

แม้ต่อมทอนซิลจะมีหน้าที่สร้างภูมิกัน แต่การเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อนั่นเท่ากับว่าต่อมทอนซิลจะไม่สามารถทำหน้าที่เดิมได้อีกต่อไป ในทางกลับกัน ต่อมทอนซิลจะกลายเป็นต่อมที่สะสมเชื้อโรค และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อถูกตัดออกไปแล้ว จะไม่เกิดผลเสียใด ๆ ต่อร่างกาย รวมถึงระบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังไม่ต้องทรมานกับการป่วยเป็นต่อมทอนซิลอักเสบอีก

 

ต่อมทอนซิลอักเสบ

 

 

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล

 

แม้การผ่าตัดจะเป็นทางรักษาต่อมทอนซิลอักเสบที่ดี แต่การผ่าตัดอาจมีความเสี่ยงดังนี้

  • อาการบวม หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการบวมที่บริเวณผนังคอ และเพดานอ่อน ทำให้อาจเกิดปัญหาหายใจลำบากได้
  • เลือดออก อาจเกิดภาวะเลือดออกขณะผ่าตัดจนเลือดไหลลงไปที่ปอดจนเกิดการอักเสบจากการสำลัก (Aspiration Pneumonia) และยังเสี่ยงเลือดออกหากแผลปริ ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลนานขึ้น
  • การติดเชื้อ หลังผ่าตัดอาจมีการติดเชื้อทำให้ผู้ป่วยมีไข้ จึงต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลนานขึ้น

 

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ผ่าตัดต่อมทอนซิล

 

การตัดต่อมทอนซิลมีความเสี่ยง เราจึงมีวิธีแนะนำในการปฏิบัติตนหลังการผ่าต่อมทอนซิล ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารเหลว เพื่อไม่ให้เลือดไหลออกจากแผล และป้องกันอาการเจ็บคอ
  • หลังผ่าตัด 7 วัน ควรรับประทานอาหารอ่อน และไม่ร้อน  เช่น เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกจากแผล
  • หลังผ่าตัด  14 วัน ควรรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง และพยายามดื่มน้ำสะอาดอยู่เสมอ

 

การผ่าตัดต่อมทอนซิลไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น ดังนั้นหากเราป่วยเป็นโรคต่อมทอนซิลควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรักษาต่อไปเพื่อป้องกันโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมา

 

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง