การจัดท่าทางให้เหมาะสมกับร่างกายตามหลักการยศาสตร์
การจัดท่าทางให้เหมาะสมกับร่างกายตามหลักการยศาสตร์

พนักงานหลายท่านทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรือออฟฟิศทั่วไป มักจะประสบปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกอย่าง Office Syndrome ทำให้มีอาการปวดหลัง คอ ไหล่ หรือบริเวณส่วนอื่น ทั้งนี้หากนำการจัดร่างกายของเราให้อยู่ในท่าทางตามหลักการยศาสตร์ สามารถลดผลกระทบที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งอุบัติเหตุได้

 

 

สาเหตุปัญหาตามหลักการยศาสตร์

 

การทำงานหนักเกินไปและซ้ำซาก เป็นปัจจัยในการเกิดปัญหาสุขภาพสำหรับพนักงาน ซึ่งบางงานไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่ผิดหลักสุขลักษณะ ส่งผลกระทบต่อร่างกายบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่

 

ไหล่ แขน

 

  • เป็นผลจากการรับน้ำหนัก ยกวัสดุที่อยู่ไกลตัว กางไหล่ยื่นแขนไปทางด้านหน้า

 

หลัง บั้นเอว

 

  • กระดูกสันหลังที่ผิดลักษณะ แรงกดบนหมอนรองกระดูกด้านหน้าจะมากกว่า ซึ่งมาจากการนั่งหลังค่อม ก้มตัวยกของ

 

หัวเข่า ขา

 

  • การย่อตัว งอเข่าลงไปยกของทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะบริเวณนี้

 

 

นั่งหลังค่อม

 

 

การจัดท่ายืนในการทำงาน

 

  • ปรับระดับความสูงของพื้นที่ให้เหมาะสม

 

  • จัดให้มีที่วางพักเปลี่ยนอิริยาบถได้

 

  • ใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่น ไม่ลื่น สะอาด ทำเป็นแผ่นรองพื้น

 

  • มีที่ว่างสำหรับการเคลื่อนเท้าไปด้านข้าง เดินหน้าและถอยหลังในแนวราบได้ โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง

 

  • ขณะปฏิบัติงานหลีกเลี่ยงการเอนตัวไปด้านข้างหลัง หรือต้องหมุนลำตัว เอื้อมมือสูงกว่าระดับไหล่ หยิบต่ำกว่ามือ รวมทั้งก้ม เงยศีรษะ

 

  • มีสถานที่นั่งพักช่วงระหว่างทำงาน

 

  • สวมรองเท้าให้เหมาะสม

 

 

ยืนเสนองาน

 

 

การจัดท่านั่งในการทำงาน

 

  • ลักษณะศีรษะสมดุลกับกึ่งกลางของไหล่ สายตามองระดับราบ

 

  • ลำตัวตั้งตรง มีพนักพิงของเก้าอี้เพื่อรองรับหลัง

 

  • ข้อศอกทำมุม 90-120 องศา

 

  • มีที่ว่างสำหรับสอดเข่า วางเท้า

 

  • หลีกเลี่ยงการเอื้อม บิด ขณะนั่งปฏิบัติงาน

 

จัดโต๊ะและเก้าอี้

 

  • โต๊ะจะต้องมีระดับความสูงเท่ากับข้อศอก สามารถวางแขน หรือมีที่พักเท้า

 

  • ปรับเก้าอี้สูงพอดีกับโต๊ะ จัดพนักพิงให้สามารถปรับเอนได้ง่าย

 

  • วัสดุจะต้องมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่สั่นคลอน

 

  • นั่งทับผ้าที่มีอากาศไหลผ่าน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุลื่นตกจากเก้าอี้

 

 

จัดโต๊ะและท่านั่ง

 

 

จัดท่ายกของตามหลักการยศาสตร์

 

  • ไม่ก้มหลังยกสิ่งของ แต่ใช้การย่อเข่าลง 2 ข้าง โดยยืดหลังตรงมากที่สุด

 

  • หากมีการเคลื่อนย้ายควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นพาหนะ

 

  • ลดน้ำหนักสิ่งของที่จะยก

 

  • ไม่ควรยกต่อเนื่องกัน มีหยุดพักบ้าง

 

  • ไม่กระชากสิ่งของหรือเร่งรีบเกินไป

 

  • มีอุปกรณ์จับยึดที่แข็งแรง

 

  • หลีกเลี่ยงการยกวัสดุขึ้นหรือลงบันได และการบิดเอี้ยวตัวของพนักงาน

 

 

แม้ว่าการจัดท่าทางที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อสุขภาพในการทำงานแล้ว แต่ยังคงมีตัวแปรอื่นที่หากละเลยไปก็ทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น การแต่งกายรัดกุม สวมรองเท้า ถุงมือ วางแผนดำเนินงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้พนักงานจะต้องคิด ประเมินความเสี่ยงก่อนปฏิบัติ หากร่างกายไม่พร้อมสมบูรณ์ดี ควรแจ้งผู้บังคับบัญชา เพื่อที่จะได้รับมอบหมายงานอย่างเหมาะสม

 

 


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : info@petcharavej.com  หรือสอบถามช่องทาง Line : @petcharavej คลิก

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

เวชศาสตร์ฟื้นฟู