มะเร็งโพรงจมูก ผลกระทบที่ไม่ใช่แค่ระบบทางเดินหายใจ
มะเร็งโพรงจมูก ผลกระทบที่ไม่ใช่แค่ระบบทางเดินหายใจ

มะเร็งโพรงจมูก (Nasopharyngeal Carcinoma) คือ โรคที่เซลล์มีความผิดปกติ หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อตัวโพรงและด้านหลังของจมูก ซึ่งเป็นทางผ่านของอากาศไปยังผนังคอ ทำให้สารบางอย่างไหลผ่านเข้าไปได้ง่าย จึงระคายเคืองขึ้น โดยโรคนี้มักพบในเพศชายมากกว่าหญิง ในกลุ่มอายุ 15-25 และ 50-60 ปี หากรู้ว่าตนเองป่วยแล้วรีบรักษา ยิ่งทำให้โอกาสหายขาดมากยิ่งขึ้น

 

 

สาเหตุมะเร็งโพรงจมูก

 

  • ติดเชื้อเรื้อรังของไวรัส EBV

 

  • พันธุกรรมของคนในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

  • การรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ปลาเค็ม แหนม ไส้กรอกอีสาน อาหารเหล่านี้จะมีสาร ไนโตรซามีน เมื่อสูดดมเข้าไป DNA ของเซลล์เยื่อบุผิว อาจเปลี่ยนแปลงจนเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์

 

  • การสัมผัสสารต่าง ๆ ได้แก่ ฝุ่นจากการทำไม้ หนัง หรือสิ่งทอ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ สารประกอบนิกเกิลฟอร์มาดีไฮด์ โครเมียม

 

 

ขี้เลื่อย

 

 

มะเร็งโพรงจมูกมีกี่ระยะ

 

ระยะแรก

 

  • มะเร็งจะอยู่ในโพรงหลัง หรือรูจมูก

 

ระยะที่ 2

 

  • ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อคอหอย ต่อมน้ำเหลือง

 

ระยะที่ 3

 

  • ลุกลามไปยังไซนัส กระดูกฐานสมอง

 

ระยะสุดท้าย

 

  • แพร่กระจายไปยังประสาทสมอง เบ้าตา กระแสโลหิต กระดูก ปอด ตับ

 

 

รูจมูก

 

 

อาการมะเร็งโพรงจมูก

 

ระบบประสาท

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • มองเห็นภาพซ้อน

 

  • ใบหน้าชา

 

  • เจ็บเสียวที่แก้ม

 

  • กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต

 

  • เสียงแหบ

 

  • กลืนลำบาก

 

  • สำลักอาหาร

 

  • การรับรสและกลิ่นผิดเพี้ยน

 

จมูก

 

  • คัดแน่นจมูก

 

  • เสมหะหรือน้ำมูกปนเลือด

 

หู

 

  • การได้ยินบกพร่อง มีเสียงดังหรือปวดหู รวมทั้งมีของเหลวไหลออกมา

 

นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติอื่น ๆ ดังนี้

 

  • มีก้อนโตที่คอ

 

  • น้ำหนักตัวลดลง

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • มีไข้ต่ำ

 

 

คัดแน่นจมูก

 

 

การวินิจฉัยมะเร็งโพรงจมูก

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย ถามถึงอาการความผิดปกติ อาชีพการงาน พฤติกรรมการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หลังจากนั้นจะตรวจร่างกายเบื้องต้นที่บริเวณจมูก แก้ม ดวงตา เพื่อหาก้อนแข็ง การคลำต่อมน้ำเหลือง อาจมีการส่องกล้องทางประสาทวิทยา ต่อมาก็จะทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม ได้แก่

 

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (CBC)

 

  • เพื่อวัดจำนวนคุณภาพของเม็ดเลือดขาว แดง และเกล็ดเลือด

 

การตรวจโพรงหลังจมูกจากเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์

 

  • เช่น การเอกซเรย์

 

  • CT scan

 

  • MRI

 

 

ตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง

 

 

การรักษามะเร็งโพรงจมูก

 

การฉายรังสี

 

  • มีประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้ป่วยในระยะแรก

 

เคมีบำบัด

 

  • ผู้ป่วยในระยะที่ 2 ขึ้นไป จะต้องได้รับคีโมร่วมกับการรักษาแบบแรก

 

การผ่าตัด

 

  • หากไม่มีการตอบสนองต่อการฉายรังสี

 

 

ผู้ป่วยได้รับการฉายแสง

 

 

การป้องกันมะเร็งโพรงจมูก

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ฝุ่น หรือควันมลพิษ

 

  • สำหรับพนักงานที่ต้องอยู่กับสารก่อมะเร็งควรสวมเครื่องแบบอย่างมิดชิด และปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

 

  • สังเกตความผิดปกติของร่างกายเป็นประจำ

 

  • หากมีอาการที่กล่าวมาในหัวข้อข้างต้น รีบมาพบแพทย์หู คอ จมูกโดยทันที

 

 

มะเร็งโพรงจมูกเป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อการกลับมาเป็นอีกครั้ง แพทย์จึงต้องเฝ้าติดตามและสังเกตอาการจากผลข้างเคียงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เช่น ปากแห้ง ฟันหลอ ผมร่วง ทั้งนี้ก่อนเข้ารับการฉายรังสีผู้ป่วยจะต้องทำการรักษาทางทันตกรรมให้เรียบร้อยก่อน เพราะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อรวมทั้งกระดูกกรามอักเสบ โรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการตรวจ CBC ผ่านโปรแกรมการตรวจสุขภาพ แต่ยังไม่มีการคัดกรองโรคมะเร็งนี้โดยตรง

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

คลินิกหูคอจมูก

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566