วัคซีน IPD ป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย
วัคซีน IPD ป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine) หรือวัคซีน IPD (Invasive pneumococcal disease) เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบได้มากกว่า 90 สายพันธุ์  สามารถลุกลามไปยังอวัยวะในระบบหายใจ และอวัยวะสำคัญอื่นๆ เป็นอันตรายถึงขั้นภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือดได้

 

 

ชนิดของวัคซีน IPD

 

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine) เกิดจากส่วนประกอบของเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อแบคทีเรีย ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ วัคซีน IPD มี 2 ชนิด ได้แก่

 

  • 1. วัคซีนชนิด 13 สายพันธุ์ PCV13 (Pneumococcal conjugate vaccine) เป็นวัคซีนที่เกิดจากโครงสร้างส่วนพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ โดยนำไปเชื่อมกับโปรตีนพาหะ ช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ครอบคลุมสายพันธุ์ 6B, 14 และ 19A สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต อีกทั้งยังสร้างการกระตุ้นภูมิคุ้มกันบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจ จึงทำให้โอกาสการเป็นพาหะของเชื้อนิวโมคอคคัสลดลง โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ได้รับวัคซีน PCV13 ก่อน 2 ขวบ จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี 

 

  • 2. วัคซีนชนิด 23 สายพันธุ์ PPSV23 (Pneumococcal polysaccharide vaccine)  เป็นวัคซีนที่เกิดจากโครงสร้างส่วนพอลิแซคคาไรด์ ของเชื้อนิวโม  คอคคัส 23 สายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุในการเกิดโรครุนแรง ครอบคลุมเชื้อสายพันธุ์ 6B, 14 และ 19A แต่วัคซีน PPSV23 ไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต การสร้างภูมิคุ้มกันทำได้ไม่ดีในเด็กอายุน้อย และไม่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดไม่รุกรานในวัยเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบได้

 


 

ผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน IPD

 

ผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน IPD จะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ ได้แก่

      

  • วัยเด็ก ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี

      

  • วัยชรา ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

      

  • ผู้ที่เคยรับยา และการรักษาที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เคมีบำบัด การใช้สเตียร์รอยในระยะยาว

      

  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือด ไตวาย โรคปอด โรคหัวใจ เบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV

      

  • ผู้ที่สูบบุหรี่

 

 

ผู้ที่ไม่ควรได้รับการฉีดวัคซีน IPD

      

  • ผู้ที่มีอายุ 18-50 ปี

      

  • ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว

      

  • ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบในวัคซีน IPD

 

 

ควรได้รับการฉีดวัคซีน IPD ตอนไหน

 

วัยเด็ก ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีน IPD ทั้งหมด 4 เข็ม

      

  • เข็มแรก ในเด็กที่มีอายุ 2 เดือน

      

  • เข็มที่ 2 ในเด็กที่มีอายุ 4 เดือน

      

  • เข็มที่ 3 ในเด็กที่มีอายุ 6 เดือน

      

  • เข็มที่ 4 ในเด็กที่มีอายุ 12-15 เดือน

 

ผู้ที่มีอายุ 2 ปี – 64 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีน IPD 1-3  เข็ม

      

  • ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยในการฉีดวัคซีน IPD จากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ที่ทำการเข้ารับการฉีดวัคซีน IPD

 

วัยชรา ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีน IPD ทั้งหมด 2 เข็ม

      

 

วัคซีนปอดอักเสบ

 

 

ผลข้างเคียงเมื่อได้รับการฉีดวัคซีน IPD

 

อาการทั่วไป

      

  • เกิดตุ้มแข็งๆ ตรงบริเวณจุดที่ฉีดวัคซีน IPD

      

  • มีการระคายเคือง บวม แดง ตรงบริเวณจุดที่ฉีดวัคซีน IPD

      

  • มีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส

      

  • หงุดหงิด

      

  • เซื่องซึม ง่วงนอน

      

  • เบื่ออาหาร

      

  • นอนไม่หลับ

 

อาการรุนแรง

      

  • คอบวม อุดกั้นหลอดลม

      

  • ช็อค หมดสติ

      

  • หายใจผิดปกติ

 

 

การได้รับการฉีดวัคซีน IPD เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกของการป้องกันโรคปอดอักเสบ อีกทั้งในช่วงการระบาดของเชื้อโควิด-19 วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ยังมีความสำคัญต่อผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 รวมทั้งผู้ที่ต้องการได้รับการฉีดวัคซีน IPD ป้องกันโรคปอดอักเสบในทุกช่วงอายุ และช่วงวัย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการได้รับการฉีดวัคซีน

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ