โรคทนรอไม่ได้ Hurry Sickness ผลกระทบจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์
โรคทนรอไม่ได้ Hurry Sickness ผลกระทบจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์

โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) คือ พฤติกรรมที่มีอาการใจร้อน หงุดหงิด และฉุนเฉียวง่าย กับการรออะไรบางสิ่งบางอย่าง  ซึ่งเป็นผลกระทบจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือมักจะเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่เสพติดการใช้โซเชียลมีเดีย  ดังนั้นควรสังเกตตนเอง หรือบุคคลรอบข้างว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ควรหาทางแก้ไขเพราะโรคทนรอไม่ได้นี้ จะทำให้ร่างกาย และจิตใจเข้าสู่ภาวะผิดปกติ

 

 

การกำเนิดของโรคทนรอไม่ได้ 

 

แม้ว่าโรคทนรอไม่ได้ จะเกิดขึ้นในยุคสมัยของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี  แต่คำนิยามของคำว่า Hurry Sickness เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1974 จากแพทย์รักษาโรคหัวใจ 2 ท่าน คือ Meyer Friedman และ Ray Rosenman นิยามถึงพฤติกรรม หรือลักษณะอาการของคนที่มักจะรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว เร่งรีบ ผ่านหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหมู่เลือด A กับเรื่องหัวใจ (Type A Behavior And Your Heart) ซึ่งภาวะทนรอไม่ได้ก็เป็นหนึ่งในลักษณะของคนหมู่เลือด A เช่นเดียวกัน

 

 

โรคทนรอไม่ได้ มีอาการอย่างไร

      

  • มีอาการหงุดหงิด รำคาญ กับสถานการณ์ที่ล่าช้า

      

  • มีอาการเร่งรีบ ในกิจกรรมประจำวัน เช่น รับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ

      

  • มักจะทำการแซงคิวขณะต่อแถว หรือขับรถปาดหน้าแทรกคันอื่น

      

  • ไม่ค่อยมีสมาธิ มักจะทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมๆ กัน

      

  • ชอบพูดแทรกผู้อื่น

      

  • มักจะบ่นว่าเวลาไม่ค่อยพอ

      

  • ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร

      

  • หากมีการวางแผนสิ่งที่จะทำในแต่ละวัน แต่มีการคลาดเคลื่อนของเวลา จะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว

      

  • สามารถสังเกตผู้ป่วยโรคทนรอไม่ได้ เช่น การใส่เสื้อผ้ากลับด้าน

 

 

ผลกระทบที่เกิดจากโรคทนรอไม่ได้ 

 

ผลกระทบต่อสุขภาพ

      

  • หัวใจเต้นเร็ว

      

  • ปวดศีรษะ

      

  • อ่อนเพลีย

      

  • ความดันโลหิตสูง

      

  • ภูมิต้านทานในร่างกายลดต่ำลง

      

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

ผลกระทบในด้านอื่นๆ

      

  • ผลกระทบความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง

      

  • มีความเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะหมดไฟ (Burnout)

      

  • มีปัญหาในด้านการตัดสินใจ จากความไม่ละเอียด

 

 

โรคทนรอไม่ได้

 

 

โรคทนรอไม่ได้ แก้ไขได้อย่างไร

      

  • หากรู้ตัวว่าเกิดอารมณ์ร้อน หงุดหงิด ควรสูดหายใจเรียกสติ

      

  • ปรับทัศนคติให้กลายเป็นคนคิดบวก ลดความเร่งรีบ

      

  • หากิจกรรมเพื่อการผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ฟังเพลง

      

  • ออกกำลังกาย

      

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

      

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) ไม่ใช่โรคทางจิตเวชแต่อย่างใด แต่ถ้าหากประสบกับภาวะนี้ และยังไม่ทำการแก้ไข สามารถมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคประสาทได้ อีกทั้งถ้าทำการแก้ไขด้วยตนเอง และยังรู้สึกว่าไม่สบายใจ หรือยังไม่รู้สึกปล่อยวางอารมณ์ฉุนเฉียวลงได้ ควรที่จะได้รับการปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

Social Addiction ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ

 

งานหนักไปไหม BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟจากการทำงาน