หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบได้บ่อย
หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบได้บ่อย

หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น คือการฉีกขาดของเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกชั้นนอก (Annulus fibrosus) ทำให้ส่วนที่อยู่ชั้นในที่มีลักษณะคล้ายวุ้น (Nucleus Pulposus) ที่อยู่ตรงกลางเคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท (Nerve root) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง ที่พบได้บ่อย และอาการปวดชาร้าวลงขาไปจนถึงปลายเท้าได้เช่นกัน

 

 

ประเภทของหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น

 

หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น มี 3 ประเภท ได้แก่

 

Protusion

 

  • ตัวนิวเคลียสด้านในมีการทะลักออกมา โดยที่ขอบด้านนอกยังไม่เกิดการฉีกขาด

 

Extrusion

 

  • ขอบด้านนอกมีการขาดออก และมีนิวเคลียสทะลักออกมาโดยที่ยังติดกับด้านในอยู่ ไม่ได้หลุดออกมาเป็นชิ้นอิสระ

 

Sequestration

 

  • ขอบด้านนอกมีการขาดออก โดยที่นิวเคลียสมีการปลิ้นหลุดออกมาเป็นชิ้นอิสระจากด้านใน

 

 

สาเหตุหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น

 

  • การได้รับอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือปลิ้นไปทับเส้นประสาท

 

  • หมอนรองกระดูกเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น

 

  • นั่งทำงานเป็นเวลานานๆ

 

  • ก้มและเงย อย่างรวดเร็ว และรุนแรง

 

  • ยกของหนัก

 

 

อาการหมอนรองกระดูกปลิ้น

 

  • มีอาการปวดหลังร้าวลงขา

 

  • ขณะไอ หรือจาม มักจะมีอาการปวดหลังร่วมด้วย

 

  • หากไม่มีอาการปวดหลัง ก็จะมีอาการชา โดยเฉพาะหากมีการเบ่งในขณะขับถ่าย

 

  • หากมีอาการปวด หรือชารุนแรง อาจทำให้ขา และเท้าเกิดการอ่อนแรงได้

 

  • มีอาการปวดหลังร้าวลงขา และมีอาการชา รวมทั้งอ่อนแรง ร่วมกับภาวะท้องผูก และปัสสาวะไม่ออก

 

 

การวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น

 

ขั้นต้นแพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการตรวจร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยเครื่องมือนั้นคือการใช้ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ เพราะ MRI สามารถเห็นโครงสร้างของหมอนรองกระดูกสันหลังและเส้นประสาทได้ชัดเจน และเห็นว่ามีการกดทับเส้นประสาทที่ตำแหน่งใด

 

 

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น

 

รักษาด้วยการใช้ยารับประทาน และการฉีดยา

          

  • ยาแก้ปวด

 

  • ยาลดการอักเสบ

 

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ

 

  • ยาลดความปวดของระบบประสาท

 

กายภาพบำบัด

           

  • การนวด

           

  • การทำกายบริหาร

 

  • การอัลตราซาวด์

 

  • การใช้เลเซอร์

 

  • การทำช็อกเวฟ

 

การผ่าตัด

          

  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกแบบเปิดแผล (Open discectomy) เป็นการเปิดแผลในบริเวณที่หมอนรองกระดูกถูกกดทับ

           

  • การผ่าตัดโดยหมอนรองกระดูกโดยใช้กล้องกำลังขยายสูง (Microscopic discectomy) แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง โดยใช้กล้อง Microscope

           

  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง Endoscope (Endoscopic discectomy) แพทย์จะทำการเจาะรูสอดท่อขนาดเล็ก และสอดอุปกรณ์เข้าไปเพื่อทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกออกมาผ่านกล้อง Endoscope แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 8 มิลลิเมตร และใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

 

 

หมอนรองกระดูกปลิ้น

 

 

การป้องกันหมอนรองกระดูกปลิ้น

 

  • หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานานๆ

 

  • หลีกเลี่ยงก้ม และเงยบ่อยๆ ในเวลาสั้นๆ

 

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

 

  • ลดน้ำหนัก

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

 

  • ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย หรือขณะขับรถ

 

 

หลังจากผู้ป่วยทำการผ่าตัดแล้ว อาการปวดหลังร้าวลงขา และอาการชา หรืออ่อนแรงจะบรรเทาอย่างดีขึ้น สามารถกลับไปดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ภายใน 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้หลังจากการผ่าตัดแล้ว ไม่ปฏิบัติตามการป้องกันหมอนรองกระดูกปลิ้น ก็สามารถกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำได้เช่นกัน