สมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถชะลอความเสี่ยงได้
สมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถชะลอความเสี่ยงได้

สมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia Syndrome in the Elderly) คือ ภาวะถดถอยทางด้านสติปัญญา และการรับรับรู้ สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มักแสดงพฤติกรรมจากความจำ คำนวณ ตัดสินใจ จินตนาการ และภาษาบางอย่างออกมาผิดปกติ เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้นบุคลิกภาพจะเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งมีวิธีที่สามารถชะลอความเสี่ยงของภาวะนี้โดยทำได้ทุกวัย

 

 

สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

 

การฝ่อตัวของเซลล์สมองที่เสื่อมไปตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่

 

โรค

 

  • หลอดเลือดสมอง

 

  • พาร์กินสัน

 

  • โพรงสมองคั่งน้ำ

 

  • อัลไซเมอร์

 

  • ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือวิตามินบี 12

 

  • เนื้องอกในสมอง

 

  • เอดส์

 

  • ซิฟิลิส

 

พฤติกรรม

 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

  • สูบบุหรี่

 

  • เครียด

 

  • ไม่ออกกำลังกาย

 

  • ขาดการใช้ความคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ รวมทั้งการเข้าสังคม พบปะผู้คน

 

อุบัติเหตุทางสมอง

 

 

Dementia Syndrome Elderly

 

 

อาการภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

 

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

 

ระยะแรก

 

  • สูญเสียความจำเล็กน้อย โดยเฉพาะเรื่องในปัจจุบัน

 

  • ลืมสิ่งของบ่อย

 

ระยะปานกลาง

 

  • จำชื่อบุคคล และสถานที่แปลกใหม่ไม่ได้

 

  • ลืมประวัติของตัวผู้ป่วยเอง

 

  • สับสนในเรื่องของวัน เวลา สถานที่สำคัญในชีวิต

 

ระยะสุดท้าย

 

  • ไม่สามารถจำอะไรได้เลย

 

  • ไร้การตอบสนองต่อสิ่งเร้า ที่ระบบประสาทสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหว

 

 

การรักษาภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

 

การบำบัด

 

เพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้เหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะสอดคล้องกับกิจกรรม เช่น

 

  • การอ่านหนังสือ

 

  • ฝึกจำใบหน้าบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งแต่งกายด้วยตนเอง

 

  • ทายสิ่งของ

 

กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความจำในอดีต โดยปฏิบัติกิจกรรมตามวิถีชีวิตที่ผ่านมาของผู้ป่วย เช่น

 

  • ดูรูปภาพสถานที่ต่างๆ เช่น ที่ทำงาน โรงเรียน และมหาลัย

 

  • เปิดอ่านหนังสือรุ่นที่มีบุคคลที่ผู้ป่วยรู้จักอยู่ในนั้น

 

ปรับอารมณ์ และความคิดของผู้ป่วย เช่น

 

  • ฟังดนตรี

 

  • ทำงานหัตถกรรม

 

  • เขียนบันทึกประจำวัน

 

การใช้ยา

 

ยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors

 

  • สำหรับผู้ป่วยเริ่มต้นที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

ยาในกลุ่ม NMDA Receptor Antagonist

 

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

 

 

Dementia Syndrome Elderly

 

 

การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด

 

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

 

  • ฝึกใช้สมอง เช่น อ่านหนังสือ คิดเลข และหัดทำงานฝีมือ เป็นต้น

 

  • เข้าชมรมที่สามารถพบปะผู้คน เพื่อพูดคุยกัน

 

  • ระมัดระวังอุบัติเหตุที่กระทบต่อสมอง โดยมีสติ สมาธิ ตลอดเวลา

 

 

สมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จะมีอารมณ์ที่หดหู่ หลง ก้าวร้าวผิดปกติ แต่จะไม่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า หรือจิตเวช ปัญหานี้สามารถส่งผลกระทบในระดับชาติได้ ตามที่เห็นกันในข่าว ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น การถูกทารุณกรรม ทอดทิ้ง กลายเป็นบุคคลไร้ญาติ เร่ร่อนอยู่ตามที่สาธารณะ ดังนั้นบุตรหลาน ญาติผู้ป่วย ควรทำความเข้าใจ ไม่ปล่อยปละละเลย อีกทั้งรัฐบาลจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือ เพื่อลดปัญหานี้ในสังคม

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์สมองและระบบประสาท

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคทางสมอง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI