การนอนกัดฟัน
การนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟัน (Bruxism) คือ ความผิดปกติในขณะนอนหลับอย่างหนึ่ง เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวอาหารมีการหดตัวผิดปกติ จึงเกิดการกัดฟันขึ้น ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันมักจะไม่ทราบพฤติกรรมนอนกัดฟันด้วยตนเองคล้ายกับผู้ที่มีอาการนอนกรน แต่ถ้าหากพบว่าฟันสึกหรอ ฟันบิ่น หรือว่ามีอาการปวดขากรรไกร ปวดศีรษะ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

 

 

สาเหตุของการนอนกัดฟัน

 

  • ความเครียด และความวิตกกังวล ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีน และคอร์ติซอล ซึ่งเป็นสารที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เลือดสูบฉีด กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง ส่งผลให้เกิดการกัดฟันขึ้น

 

  • อายุ หากการนอนกัดฟันเกิดขึ้นกับเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาการนอนกัดฟันจะหายไปเอง

 

  • บุคลิกภาพ หรือลักษณะเฉพาะบุคคล เช่น ผู้ที่สมาธิสั้น อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว

 

  • การใช้ยารักษาโรค ยาบางชนิดก็มีผลต่อสมอง และจิตใจ เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้า

 

  • สารกระตุ้น เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน บุหรี่

 

  • ลักษณะฟันกรามที่มาจากพันธุกรรม

 

 

อาการนอนกัดฟัน

 

  • มีอาการเจ็บปวด บริเวณล้ามเนื้อใบหน้า เช่น แก้ม หน้าหู

 

  • มีอาการเจ็บปวด บริเวณขากรรไกร และกล้ามเนื้อที่ขากรรไกร ส่งผลให้อ้าปากได้ลำบาก

 

  • ฟันสึกหรอ มีการแตก ร้าว หรือบิ่น มีความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียฟันได้

 

  • มีอาการเสียวฟัน

 

  • ปวดศีรษะ

 

 

รู้ได้อย่างไรว่านอนกัดฟัน

 

  • หลังจากตื่นนอน สามารถสังเกตอาการด้วยตนเองว่ามีอาการ เจ็บปวดบริเวณขากรรไกร หรือเจ็บตึงบริเวณแก้ม และใบหูหรือไม่ รวมทั้งสังเกตความผิดปกติของฟันว่ามีการสึกหรอหรือไม่

 

  • การตรวจการนอน (Sleep Test) ในสถานพยาบาล เป็นการวัดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวขณะนอนหลับ

 

  • การใช้แผ่นบรั๊กเชคเกอร์ เครื่องมือทดสอบการนอนกัดฟันขณะนอนหลับ

 

 

การรักษาการนอนกัดฟัน

 

  • การใส่ฟันยาง หรือเฝือกสบฟัน ทำจากอะคริลิกแข็ง หรือวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม สามารถป้องกันฟันถูกทำลายจากการบดเคี้ยว จะใส่ระหว่างการนอนหลับ

 

  • การจัดฟัน ทันตแพทย์จะทำการปรับแต่งพื้นผิวฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยว รวมทั้งการผ่าตัด และจัดฟัน

 

  • การจัดการกับความเครียด โดยการปรึกษาปัญหากับบุคคลผู้เชี่ยวชาญ หรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายเช่น การนั่งสมาธิ และการออกกำลังกาย

 

  • การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ โดยแพทย์อาจใช้กับผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันในบางราย ด้วยการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในระยะเวลาสั้น ๆ

 

  •  การฉีดโบทอกซ์ จะฉีดบริเวณกราม ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะจากการตึงของกล้ามเนื้อกรามได้ 2-3 เดือน

 

 

นอนกัดฟัน

 

 

การป้องกันการนอนกัดฟัน

 

  • เลิกดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่

 

  • หาวิธีผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสม

 

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

 

  • สังเกตความผิดปกติของฟัน และอาการเจ็บปวดขากรรไกรหลังตื่นนอน

 

  •  ฝึกนอนให้ตรงเวลา เพื่อประสิทธิภาพในการนอนหลับ

 

 

การนอนกัดฟันมักจะเกิดร่วมกับนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ไม่ใช่แค่ผลกระทบในช่องปากเพียงอย่างเดียว ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ที่เกิดจากความผิดปกติในการนอนหลับ

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)