ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) เกิดจากการทำงานหนักของสมองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการทำงาน หรือการอ่านหนังสือเรียน ส่งผลให้เกิดอาการทางอารมณ์ที่แปรปรวน หรือการทำงานของสมองที่ผิดปกติ เช่น ความจำไม่ดีชั่วขณะหนึ่ง ถึงแม้อาการเหล่านี้จะสามารถหายได้เองในเวลาต่อมา แต่หากเกิดภาวะสมองล้าบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอันตราย เช่น เกิดอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และสมองเสื่อมก่อนวัย เป็นต้น
ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) เป็นภาวะที่สมองทำงานหนักมากเกินไปเป็นเวลานานจนส่งผลต่อสมองในส่วนของสารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ระบบประสาททำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนกับการมีหมอกมาบดบังการทำงานของสมองเป็นที่มาของชื่อ “Brain Fog Syndrome” ถึงแม้อาการจะไม่อันตรายแต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา และสามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยทั้งจากการทำงานในแต่ละวัน และภาวะร่างกาย ได้แก่
นอกจากนี้ภาวะสมองล้ายังสามารถเกิดขึ้นได้จากภาวะขาดสารอาหารบางประเภท เช่น วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน หรือสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งหาได้จากผักผลไม้เป็นหลัก
ภาวะสมองล้าเป็นภาวะทางกายภาพของสมองที่ทำงานหนัก เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลต่อสภาพร่างกายได้ แต่ภาวะหมดไฟเป็นสภาวะด้านจิตใจที่เกิดขึ้นจากภาระการทำงานที่หนักมากเกินไป หรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสุขกับการทำงานส่งผลให้มีความรู้สึกไม่อยากทำงานไม่ได้มีผลต่อสภาพร่างกายโดยตรงเหมือนภาวะสมองล้า
ถึงแม้จะไม่ได้อันตรายมากแต่การปล่อยให้เกิดภาวะสมองล้าบ่อย ๆ จะทำให้เสี่ยงโรคอื่นที่มีความอันตรายเนื่องจากเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมอง โรคที่อาจตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน การทำงานของสมองแย่ลงจนอาจเกิดอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมก่อนวัย โรคพาร์กินสัน และสำหรับเพศหญิงจะมีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น
ภาวะสมองล้าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะวัยทำงานและวัยเรียน ถึงแม้อาการจะสามารถหายได้ในเวลาต่อมา แต่หากไม่ใส่ใจอาจมีโรคอื่น ๆ ตามมาในภายหลังการผ่อนคลายตนเองไม่ให้สมองทำงานหนักจึงเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึงอยู่ตลอด
____________________________________
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI