เห็ดเผาะ อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพประจำฤดูฝน  
เห็ดเผาะ อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพประจำฤดูฝน  

เห็ดเผาะ คือ สิ่งมีชีวิตจำพวกรา ที่มีเส้นใยรวมกันเป็นโครงสร้างลักษณะดอกกลมแบน สีขาวออกเหลือง น้ำตาลอ่อน เข้ม เทาดำ ขึ้นกับอายุของมัน สามารถพบได้ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน มักจะได้รับความนิยม มีราคาสูง เพราะนำไปทำอาหารจะมีความอร่อยและประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ซึ่งในแต่ละภูมิภาคก็จะเรียกไม่เหมือนกัน ภาคเหนือ เรียกว่า เห็ดถอบ ภาคอีสาน จะเรียก เห็ดสะแบง หรือเห็ดยาง

 

 

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดเผาะ

 

ปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ได้แก่

 

  • โปรตีน

 

  • ไขมันดี

 

  • ฟอสเฟต

 

  • แคลเซียม

 

  • ธาตุเหล็ก

 

  • ไนอะซีน

 

  • วิตามินบี บี2 และซี

 

 

เห็ดถอบ

 

 

ประโยชน์ของเห็ดเผาะ

 

  • ป้องกันโรคหัวใจ โรคตับ

 

  • บรรเทาอาการโรคกระเพาะอาหาร

 

  • ช่วยล้างสารพิษ

 

  • บำรุงร่างกาย และพละกำลัง

 

  • แก้ช้ำใน

 

  • ต้านเบาหวาน การอักเสบ สารอนุมูลอิสระ รวมทั้งเซลล์มะเร็ง

 

  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

 

  • ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ ความดันโลหิตสูง

 

 

เห็ดพิษ

 

 

ข้อควรระวังในการบริโภคเห็ดเผาะ

 

ผู้ที่เก็บเห็ดมาอาจจะไม่มีความรู้มากพอว่าอันไหนสามารถรับประทานได้ หรือว่าเป็นเห็ดพิษ รวมทั้งเห็ดที่ขึ้นใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมจะดูดซึมสารพิษ เมื่อนำไปประกอบอาหาร จะเกิดอาการความผิดปกติขึ้น ได้แก่

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

  • คลื่นไส้

 

  • อาเจียน

 

  • หัวใจเต้นเร็ว

 

  • หายใจลำบาก

 

อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหลังบริโภคเข้าไปไม่กี่นาที หรือข้ามวัน ซึ่งตับ ไต ถูกทำลายเสียหายอย่างมาก มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้เช่นกัน

 

 

ผัดเห็ด

 

 

เห็ดเผาะนำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง

 

ควรนำมาล้างทำความสะอาดก่อน แล้วจึงนำไปประกอบเป็นเมนูอาหาร เช่น

 

  • ต้มเค็ม

 

  • แกงใส่ยอดมะขาม

 

  • แกงเผ็ด

 

  • ผัดใส่หน่อไม้

 

  • ห่อหมก

 

  • ยำ ต้มยำ

 

  • แกงเลียง

 

  • อ่อม

 

  • ลวกจิ้มกับน้ำพริก

 

  • ผัดเห็ด

 

 

หากรับประทานเห็ดเผาะแล้วมีอาการผิดปกติดังกล่าวมาในหัวข้อข้างต้น ให้ดื่มน้ำอุ่นผสมเกลือหรือผงถ่าน แล้วอาเจียนออกมาให้มาก แล้วรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้อย่างเร่งด่วน เป็นไปได้เก็บตัวอย่างเห็ดเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบสด ๆ แม้ว่าจะล้างทำความสะอาด ผ่านความร้อนแล้วก็ตาม เพราะพิษบางชนิดในนั้นสามารถทนความร้อนได้