ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ สาเหตุของโรคสมองเสื่อม
ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ สาเหตุของโรคสมองเสื่อม

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) คือ น้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลังในโพรงสมองมากเกินไป ส่งผลให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ และเกิดการกดทับเนื้อสมอง อันตรายร้ายแรงถึงขั้นสมองเสื่อมได้ ภาวะนี้เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้ป่วยวัยเด็ก และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

 

 

สาเหตุของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

 

  • 1. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 

  • 2. เนื้องอกในสมอง

 

  • 3. เลือดออกในสมอง

 

  • 4. ลิ่มเลือดอุดตันในสมอง

 

  • 5. การบาดเจ็บทางสมอง  เช่น การเกิดอุบัติเหตุกระแทกบริเวณศีรษะ จนสมองได้รับการกระทบกระเทือน

 

  • 6. ลักษณะทางกายภาพของทางน้ำไหลผ่านในโพรงสมองตีบแคบ

 

  • 7. เกิดการติดเชื้อในสมอง

 

 

อาการภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

 

  • 1. ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ

 

  • 2. คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • 3. ภาพซ้อน มีปัญหาในการทรงตัว

 

  • 4. มีปัญหาทางด้านความจำ ความคิด และสมาธิ

 

  • 5. มีการตอบสนองช้า

 

  • 6. ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ หรือกลั้นอุจจาระได้

 

  • 7. มีอาการของโรคสมองเสื่อม

 

  • 8. หมดสติ ร้ายแรงถึงขั้นโคม่า ไม่มีการตอบสนอง

 

 

การวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

 

การวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำในวัยเด็ก แพทย์จะตรวจหาภาวะตาโหล อาการกระหม่อมโป่งพอง และการตรวจดูการตอบสนองช้าหรือไม่

 

การวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำในวัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท การเคลื่อนไหว และการสัมผัส

 

นอกจากนี้การวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ทุกวัย ได้แก่

      

  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan)

      

  • การตรวจสมองโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

การรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

 

  • 1. ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะทำการเจาะน้ำในโพรงสมองระบายออก และใช้ยาลดการสร้างน้ำในโพรงสมอง

 

  • 2. การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องในโพรงสมอง ผ่าตัดด้วยกล้องขนาดเล็กส่องภายในโพรงสมอง เพื่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมอง เข้าสู่เนื้อสมองที่ดูดซึมน้ำในสมองได้

 

 

โพรงสมองคั่งน้ำ

 

 

การดูแลผู้ป่วยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

 

  • 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

  • 2. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ

 

  • 3. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อการกระทบกระเทือนของสมอง

 

  • 4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งยาที่ได้รับจากแพทย์

 

  • 5. ควรพบแพทย์โดยทันทีหากมีอาการผิดปกติ

 

 

การป้องกันภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

 

  • 1. ป้องกันอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อการกระทบกระเทือนของสมอง เช่น ใส่หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน เวลาโดยสารด้วยมอเตอร์ไซค์

 

  • 2. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ตามอายุ เพศ หรือคำแนะนำของแพทย์

 

  • 3. ควบคุมโรคต่างๆที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ เช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น

 

 

โพรงสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ เพราะมีหน้าที่ลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงสมอง และขับของเสียจากสมองออกไป อีกทั้งยังสามารถช่วยลดแรงกระแทกของสมอง เมื่อมีการกระแทกของศีรษะเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะโพรงสมองคั่งน้ำขึ้น จะมีความเสี่ยงที่ทำให้สมองเสื่อม โดยอัตราการเกิดโรคนี้จะพบผู้ป่วย 1-5 ใน 100,000 ราย

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคทางสมอง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI