วัคซีนเด็ก ควรได้รับชนิดไหน ช่วงอายุเท่าไหร่บ้าง
วัคซีนเด็ก ควรได้รับชนิดไหน ช่วงอายุเท่าไหร่บ้าง

สภาพแวดล้อมในสังคมปัจจุบันมีมลพิษและเชื้อโรคมากมาย ประกอบกับธรรมชาติของร่างกายของเด็กจะยังไม่ค่อยแข็งแรง เสี่ยงต่อการติดเชื้อกลายเป็นโรคร้ายได้ ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เมื่อแรกเกิด ซึ่งเป็นการวางแผนสุขภาพให้บุตรหลานมีสุขภาพที่แข็งแรงต่อไปในอนาคต

 

 

วัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด

 

วัณโรค BCG

 

  • ฉีดเมื่อแรกคลอด ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร ที่บริเวณไหล่ซ้าย

 

ตับอักเสบบี HBV

 

ขึ้นอยู่กับผลเลือด HBsAg ของมารดา

 

  • ผลเป็นลบ ฉีดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด

 

  • ผลเป็นบวก  ฉีดเมื่อแรกคลอด ไม่เกิน 12 ชั่วโมง ร่วมกับ HBIG ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร ที่แขนด้านตรงข้ามกัน ภายใน 7 วัน

 

  • ไม่ทราบผลเลือดของมารดา ฉีดภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด

 

 

ทารกแรกคลอดฉีดวัคซีน

 

 

วัคซีนสำหรับเด็กก่อน 1 ขวบ

 

ฉีดตามช่วงอายุ 2 4 และ 6 เดือน

 

  • คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก DPT

 

  • โปลิโอ รวมทั้งหยอด Bivalent OPV

 

  • ฮิบ (Haemophilusinfluenzae type b)

 

  • นิวโมคอคคัส - PCV ป้องกันปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 

โรต้า

 

  • ชนิด Monovalent ให้รับประทาน 2 ครั้ง และชนิด Pentavalent  3 ครั้ง อายุ 2 4 และ 6 เดือน ตามลำดับ

 

ตับอักเสบบี

 

  • เข็มที่ 2-3 เมื่ออายุ 1 และ 6 เดือน

 

ไข้หวัดใหญ่

 

  • ฉีดครั้งแรก เมื่ออายุ 6 เดือน

 

วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี 

 

  • ครั้งแรก เมื่ออายุ 9 เดือน

 

 

วัคซีนเด็กผู้ชาย

 

 

วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป

 

โปลิโอ

 

  • เข็มกระตุ้นอีก 2 ครั้ง เมื่อ 1 ปี กับ 2 ขวบครึ่ง

 

หัด หัดเยอรมัน คางทูม MMR

 

  • 1 ขวบ และ 2 ปี 6 เดือน

 

คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก DPT

 

  • ฉีดกระตุ้นการทำงานในช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน, 4-6 ขวบ และ 11-12 ปี

 

ป้องกันโรคอีสุกอีใส

 

  • ทั้งหมด 2 เข็ม ตั้งแต่ 2 ขวบครึ่ง และ 4-6 ปี

 

ตับอักเสบ เอ

 

  • 2 ครั้ง 1 ขวบขึ้นไป ห่างกัน 6 เดือน – 1 ปี

 

ไข้เลือดออก

 

  • ตั้งแต่ 9 ขวบขึ้นไป จำนวน 3 ครั้ง

 

HPV

 

  • เน้นช่วงอายุ 11-12 ปี ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ฉีดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

 

 

วัคซีนเด็กผู้หญิง

 

 

ข้อแนะนำก่อนพาบุตรหลานมารับวัคซีน

 

  • นำสมุดบันทึกวัคซีนมาทุกครั้ง

 

  • บุตรหลานที่มีประวัติแพ้วัคซีน อาหาร ชนิดใด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่

 

  • เด็กมีไข้สูงควรเลื่อนนัดหมาย

 

  • หากเป็นหวัด หรือท้องเสียโดยไม่มีไข้ ควรปรึกษาแพทย์

 

  • หลังรับวัคซีนควรนั่งพักดูอาการแพ้ก่อนกลับบ้าน 30 นาที

 

 

เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้านหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว บุตรหลานของท่านอาจมีอาการเป็นไข้ หนาวสั่น ให้รับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาลดไข้ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นสะอาด ดื่มน้ำในปริมาณมากกว่าปกติ หากปวด บวม แดง หรือเมื่อย บริเวณต้นแขนที่สัมผัสกับเข็ม ให้แกว่งแขนเบา ๆ และประคบเย็น หากไม่บรรเทาลงควรปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาล ทั้งนี้วัคซีนบางชนิด ผู้ใหญ่ก็สามารถรับได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโรค ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ไวรัสตับอักเสบ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ปอดอักเสบ และมะเร็งปากมดลูก HPV เป็นต้น

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

กุมารเวช

 

 

วัคซีนที่ควรฉีด ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพช่วงหน้าฝน

 

 

โปลิโอ วัคซีนที่ทุกคนเคยได้รับในวัยเด็ก

 

 

โรคหัดเยอรมัน ป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน

 

 

ทำความรู้จักวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก