ไส้เลื่อนกับผู้สูงอายุ
ไส้เลื่อนกับผู้สูงอายุ

เป็นอย่างที่ทราบกันดีว่า ไส้เลื่อน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศ วัย จากการเคลื่อนตัวของลำไส้จนกลายเป็นก้อน โดยที่ผนังช่องท้องหรือกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่แข็งแรง ยิ่งสูงอายุมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงจะประสบกับโรคนี้มากเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ชายวัยทำงานจนถึงเลยวัยเกษียณ ที่ต้องได้รับผลกระทบรบกวนวิถีชีวิตประจำวัน ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนอนาคตภายภาคหน้า จะได้ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดและเกิดอาการภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

 

 

ไส้เลื่อนที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

 

ไส้เลื่อนขาหนีบ

 

  • โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะรู้สึกว่ามีก้อนบริเวณขาหนีบ และอาการจุก เมื่อปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาจะไหลลงไปยังอัณฑะ ต้องใช้มือดันตามเป้ากางเกงอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้ก้อนนี้กลับเข้าไป บางรายที่มีปัญหากับต่อมลูกหมาก จะทำให้เวลาปัสสาวะผิดปกติ ใช้เวลานานในการเบ่ง  

 

ไส้เลื่อนติดคา

 

  • ภาวะที่ลำไส้เลื่อนออกมา แล้วมีการพับ หักมุม หมุนติดกันจนไม่สามารถดันกลับเข้าไปสู่ที่เดิมได้ เสี่ยงต่อการอุดตันของอวัยวะนี้มาก เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป จะเกิดการขาดเลือด ลำไส้อาจเน่า หรือทะลุ แตก ส่งผลให้เชื้อโรคกระจายไปทั่วช่องท้อง เข้าสู่กระแสโลหิตบานปลายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

  • หากเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที แพทย์จะนำไส้ในส่วนที่เคลื่อนออกมากลับเข้าไปในตำแหน่งเดิมก่อนผ่าตัด แต่ถ้าไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้แล้ว ก็จะต้องผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันลำไส้เน่า

 

ดันไส้เลื่อนกลับเข้าไป

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนในผู้สูงอายุ

 

  • เคยประสบอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบบริเวณช่องท้อง

 

  • เบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระ

 

  • แบกสัมภาระเป็นประจำ

 

  • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • สูบบุหรี่

 

  • ความผิดปกติบริเวณต่อมลูกหมาก

 

  • ไอ จามเรื้อรังอย่างรุนแรง

 

  • ออกกำลังกายบางประเภท

 

 

  • ผ่าตัดคลอดบุตร

 

 

ผู้สูงอายุเตะฟุตบอล

 

 

ผ่าตัดไส้เลื่อนในผู้สูงอายุ

 

ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำ ทั้งจากความเสื่อมสมรรถภาพของสภาพร่างกายหรือประสิทธิภาพของการทำงานบริเวณอวัยวะต่าง ๆ  รวมทั้งโรคประจำตัว  แพทย์จึงพิจารณาการผ่าตัดโดยการประเมินผู้ป่วยก่อน จึงจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้แต่ละบุคคล ซึ่งการผ่าตัดไส้เลื่อนมีด้วยกันอยู่ 2 วิธี ได้แก่

 

แบบส่องกล้อง MIS

 

  • เป็นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่ช่วยให้ผู้เข้ารับการหัตถการมีแผลเล็ก เจ็บน้อย พักฟื้นตัวได้ไวขึ้น โดยแพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ บริเวณหน้าท้อง จากนั้นสอดกล้องหาจุดที่ผิดปกติและนำเครื่องมือเข้าไปทำการผ่าตัด

 

แบบเปิดหน้าท้อง

 

  • ผู้ป่วยวัยชราจะมีผนังกล้ามเนื้อหน้าท้องที่อ่อนแอ แพทย์จะใช้ตาข่ายสังเคราะห์ในการเย็บซ่อม จนมันไปประสานกับเนื้อเยื่อ ซึ่งต้องรอเป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป

 

 

พิจารณาผู้สูงอายุก่อนผ่าตัด

 

 

การป้องกันไส้เลื่อนในผู้สูงอายุ

 

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

 

  • รักษาโรคประจำตัวให้หายขาด โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมาก

 

  • เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่

 

  • รับประทานผัก ผลไม้ ที่มีกากใยสูง

 

  • ลดกิจกรรมโลดโผนหรือการออกกำลังกายอย่างหนัก

 

  • ไม่เบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ หรือไอ จาม แรง ๆ

 

  • หากมีน้ำหนักตัวเยอะ ควรลดความอ้วนลงอย่างถูกวิธี

 

  • ผู้ที่เคยเข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนมาแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

 

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็ย่อมประสบกับความเสื่อมไปทีละเล็กน้อย ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมที่ทำให้มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไส้เลื่อน และบุตรหลานท่านใดที่มีผู้สูงอายุมีอาการคล้ายกับโรคดังกล่าว ควรมาเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าจะเข้ารับการผ่าตัดได้หรือไม่ หากมีปัญหาสุขภาพหรือข้อเสนอแนะอะไร สามารถพูดคุยกับน้องมังคุดผ่านช่องทาง Line@petcharavej

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด

 

 

ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง

 

 

รู้จักโรคไส้เลื่อน/ไม่ใส่กางเกงในคือสาเหตุของโรคไส้เลื่อนจริงหรือ?

 

 

รวมเรื่องสงสัยโรคไส้เลื่อน