ฟอสฟอรัสในร่างกายสูงเกินไป เสี่ยงปัญหาการนอนหลับ
ฟอสฟอรัสในร่างกายสูงเกินไป เสี่ยงปัญหาการนอนหลับ

ฟอสฟอรัส คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่ง มีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อ และเป็นโครงสร้างสำคัญของกระดูกและฟัน ใกล้เคียงกับแคลเซียม  แต่หากร่างกายได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง หรือต่ำเกินไป อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงกลายเป็นปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ เช่น ภาวะอ่อนเพลีย ปัญหาการนอนหลับ และปวดกระดูก อีกทั้งปัญหาหาดังกล่าวจะมีความรุนแรงขึ้น หากเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยโรคไต

 

 

ระดับฟอสฟอรัสในร่างกาย

 

ฟอสฟอรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึม อีกส่วนหนึ่งที่เหลือในเลือดจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และอุจจาระ หากประสิทธิภาพในการขับฟอสฟอรัสลดลง จะทำให้เกิดการคั่งของฟอสฟอรัสในเลือด 

 

  • ระดับฟอสฟอรัสปกติในเลือด 3.5 – 5.5 mEq/L

 

  • ระดับฟอสฟอรัสต่ำในเลือด < 3.5 mEq/L 

 

  • ระดับฟอสฟอรัสสูงในเลือด  > 5.5 mEq/L

 

 

ปริมาณฟอสฟอรัสที่ควรได้รับในแต่ละวัน

 

  • ทารกแรกเกิด-6 เดือน 100 มิลลิกรัม/วัน

 

  • ทารกอายุ 6-11 เดือน 275 มิลลิกรัม/วัน

 

  • เด็กอายุ 1-3 ปี 460 มิลลิกรัม/วัน

 

  • เด็กอายุ 4-8 ปี 500 มิลลิกรัม/วัน

 

  • เด็ก และวัยรุ่นอายุ 9-18 ปี 1,000 มิลลิกรัม/วัน

 

  • ผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป 700 มิลลิกรัม/วัน

 

 

ภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ (Hypophosphatemia)

 

ซึ่งเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

           

  • โรคเบาหวาน

           

  • โรคพิษสุราเรื้อรัง

           

  • การรับประทานยาลดกรด

 

จะมีอาการ ดังนี้

           

  • อ่อนเพลีย

         

  • ปวดกระดูก

           

  • ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis)

           

  • ไม่รู้สึกตัว 

 

 

ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง (Hyperphosphatemia)

 

ซึ่งเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

           

  • การควบคุมระดับแคลเซียมในโลหิตบกพร่อง

           

  • โรคไต

 

จะมีอาการ ดังนี้

          

  • อ่อนเพลีย

           

  • ปวดกล้ามเนื้อ

           

  • หายใจไม่อิ่ม

           

  • คลื่นไส้

          

  • อาเจียน

           

  • ปากชา

           

  • ปวดกระดูก และข้อต่อ

           

  • รู้สึกคัน และมีผื่นขึ้นตามร่างกาย

           

  • มีอาการชักกระตุก

           

  • มีปัญหาในการนอนหลับ

 

 

ฟอสฟอรัสไต

 

 

อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

 

ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ ได้แก่

           

  • นม และผลิตภัณฑ์จากนม

           

  • ไข่แดง

           

  • ถั่ว และเมล็ดธัญพืช

           

  • เครื่องในสัตว์

           

  • ไข่ปลา

           

  • ปลา หรือสัตว์น้ำที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง เป็นต้น

           

  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ลูกชิ้น แหนม ไส้กรอก และกุนเชียง เป็นต้น

           

  • อาหารแช่แข็ง เช่นข้าวกล่องเวฟสำเร็จรูปตามร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น 

           

  • เบเกอรี เช่น เค้ก คุกกี้ และพายสอดไส้รสต่างๆ เป็นต้น

           

  • เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เป็นต้น

           

  • เครื่องดื่มที่ทำมาจากถั่ว และเมล็ดธัญพืช เช่น น้ำเต้าหู้ เป็นต้น

 

 

อาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำ

 

สามารถรับประทานได้ ไม่ว่าจะเป็น

           

  • ไข่ขาว

           

  • เนื้อปลา เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ ไม่ติดหนัง

           

  • ข้าวขาว แป้งที่ผ่านการขัดสี เช่น เส้นใหญ่ เส้นเล็ก เส้นหมี่ วุ้นเส้น

          

  • ชา และกาแฟดำ

           

  • น้ำสมุนไพร เช่น น้ำมะนาว น้ำใบเตย น้ำอัญชัน น้ำขิง

 

 

ปกติแล้วผู้ที่มีระดับฟอสฟอรัสสูงเกินไป มักจะไม่ปรากฏอาการใดๆ หากเกิดในขณะที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณน้อย ผู้ที่มีระดับฟอสฟอรัสต่ำเกินไป แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานฟอสฟอรัสเพิ่มในรูปแบบอาหารเสริม ในส่วนของผู้ที่ต้องการรับประทานฟอสฟอรัสในรูปแบบอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพื่อป้องกันผลข้างเคียง

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต