เชื้อราแมว สาเหตุที่ทำให้ทาสแมวเป็นโรคผิวหนัง
เชื้อราแมว สาเหตุที่ทำให้ทาสแมวเป็นโรคผิวหนัง

เชื้อราแมว มีหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยคือเชื้อ Microsporum canis จะอาศัยอยู่ตามผิวหนังของสัตว์ สามารถติดต่อกันจากแมวสู่แมว และยังสามารถติดต่อจากแมวสู่คนได้จากการสัมผัสโดยตรง ทำให้ทาสแมวทั้งหลายที่ชอบเข้าไป กอด อุ้ม หรือเล่นกับแมว เป็นโรคผิวหนัง จากสาเหตุการติดเชื้อราแมวได้ ซึ่งต้องใช้เวลานานสักระยะหนึ่งในการรักษา เพราะสามารถกลับมาเป็นซ้ำ และเพิ่มรอยดำจากแผลเป็นมากขึ้นอีก

 

 

เชื้อราแมวสังเกตได้อย่างไร

 

ความชื้นสะสมส่วนต่างๆ ในร่างกายของแมวเป็นสาเหตุของการเกิด  Microsporum Canis สามารถสังเกตได้จากผิวหนังของแมวที่มีลักษณะแห้ง แดง และอาจมีอาการลอกของผิวหนัง และขนร่วงเป็นหย่อมๆ โดยแมวขนยาวจะมีความเสี่ยงในการเกิดเชื้อราได้มากกว่าแมวที่มีขนสั้น เพราะสามารถสะสมความชื้นได้มากกว่า นอกจากแมวแล้วสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นก็สามารถเป็นเชื้อรา ที่ติดต่อสู่คนได้อีก จากการทำความสะอาดไม่เพียงพอ

 

 

ติดเชื้อราแมวมีอาการเป็นอย่างไร

      

  • เกิดผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง มีลักษณะเป็นวง มีขุยรอบ และลุกลามขยายวงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

      

  • มีอาการคัน

      

  • เกาแผล และไปเกาที่ส่วนอื่นๆ สามารถติดเชื้อราได้

 

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อราแมว

      

  • เด็ก

      

  • ผู้สูงอายุ

      

  • ผู้ที่ภูมิคุ้นกันในร่างกายไม่แข็งแรง

 

 

การรักษาผู้ที่ติดเชื้อราแมว

      

  • ใช้ยาฆ่าเชื้อทาบริเวณผิวหนังที่เป็นผื่น แดง ประมาณ 3 สัปดาห์ จะสามารถบรรเทาอาการ และหายได้ สำหรับผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อย

      

  • การรับประทานยา ร่วมกับการทายา 3 สัปดาห์ขึ้นไป สำหรับผู้ที่เป็นผื่น แดง ทั่วทั้งร่างกาย

 

 

เชื้อราแมว

 

 

เพราะเหตุใด รอยดำจากแผลเป็นจากการติดเชื้อราแมวถึงไม่หาย

      

รอยดำจากแผลเป็นสำหรับผู้ที่ติดเชื้อราแมว มักจะหายจากการรักษาประมาณ 2-3 เดือน แต่เกิดการติดเชื้อซ้ำขึ้นใหม่ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อราแมวเข้าใจผิด คิดว่ารักษาแล้วแต่ไม่มีการบรรเทาอาการ แต่ความจริงแล้ว รอยดำจากแผลเป็นได้ลดลง แต่เมื่อติดเชื้อซ้ำก็ทำให้เกิดรอยดำใหม่ขึ้นนั่นเอง

 

 

การป้องกันเชื้อราแมว

      

  • ล้างมือ และอวัยวะต่างๆ ที่สัมผัสกับแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ให้สะอาด

      

  • ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ที่มีการสัมผัสกับแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

      

  • นำแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไปทำความสะอาด โดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ป้องกันเชื้อรา และเป่าขนให้แห้ง หลังจากทำความสะอาดเป็นประจำ

      

  • นำแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อราเป็นประจำ

      

  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส และใกล้ชิดแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ตลอดเวลา เช่น การนำแมวไปนอนบนเตียงด้วย เป็นต้น

      

  • หากพบว่าแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ มีความผิดปกติ ควรรีบนำไปพบสัตวแพทย์

 

 

นอกจากเชื้อราแล้ว ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ทำให้คนติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงได้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพวกปรสิต เช่น เห็บ หมัด ต่างๆ ซึ่งทำให้คนติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงเป็นโรคต่างๆได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหิด หรือพิษสุนัขบ้า อีกทั้งเชื้อโรคบางชนิดในสัตว์เลี้ยงยังเป็นสาเหตุทำให้คนติดเชื้อ และแพร่เข้าสู่คนด้วยกันเองได้  ดังนั้นทาสแมวทั้งหลายที่มีอาการของโรคผิวหนัง และสังเกตว่าแมวมีอาการติดเชื้อรา ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที