ไวรัสมาร์บวร์ก เชื้อที่มีความสัมพันธ์กับโรคไวรัสอีโบลา
ไวรัสมาร์บวร์ก เชื้อที่มีความสัมพันธ์กับโรคไวรัสอีโบลา

ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg Virus) คือ ไวรัสชนิดเฉียบพลันในตระกูล ฟิโลไวริเดอี มีความสัมพันธ์กับโรคไวรัสอีโบลา เชื้อนี้ทำให้มนุษย์ป่วยเป็นโรคเลือดออกอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่พบในประเทศแถบแอฟริกากลาง ใต้ และเคยส่งผลกระทบต่อวงกว้างในบางพื้นที่ของทวีปยุโรป อีกทั้งตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยถือเป็นชีววัตถุมีความเป็นอันตราย องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงให้ตรวจภายใต้การควบคุมทางชีวภาพขั้นสูงสุด และขนส่งสิ่งโดยใช้ระบบบรรจุภัณฑ์สามชั้น

 

 

สาเหตุของเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก

 

พาหะจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วย เช่น

 

  • ลิงเขียว (Green Monkey)

 

  • หมู

 

  • ค้างคาวผลไม้อียิปต์

 

  • การสัมผัสกับเหมืองหรือถ้ำที่เป็นเวลานาน

 

  • การบริโภคเนื้อสัตว์ป่า

 

 

 ลิงแอฟริกา

 

 

การติดต่อของเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก

 

เกิดการระบาดครั้งแรก ที่เมืองมาร์บูร์กและแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และเบลเกรด เมืองหลวงของเซอร์เบีย ปี 1967 แพทย์ในห้องปฏิบัติการ รับเชื้อจากลิงเขียว (Green Monkey) ประเทศยูกันดา และสัมผัสเลือดของผู้ป่วย จนแพร่สู่บุคลากรด้วยกัน

 

ทั้งนี้การติดต่อจากคนสู่คน มาจากการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือของเหลวอื่นๆ ในร่างกายของผู้ติดเชื้อ รวมทั้งหมอน ผ้าห่ม เสื้อผ้า และเครื่องนอนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

 

 

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก

 

  • มีไข้สูง

 

  • ปวดหัวอย่างรุนแรง และกล้ามเนื้อ

 

  • เจ็บคอ

 

  • ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ

 

  • ปวดท้อง

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • เฉื่อยช้า เซื่องซึม

 

  • สับสน

 

  • หงุดหงิด

 

  • ก้าวร้าว

 

  • ผื่นนูนแดงตามร่างกาย

 

  • อัณฑะอักเสบ

 

  • ตับถูกทำลาย

 

  • ไตวาย

 

  • หากมีภาวะเลือดออกจำนวนมาก สามารถเสียชีวิตใน 8-9 วัน จากการช็อก และความเสื่อมของอวัยวะหลายระบบ

 

 

ค้างคาวในถ้ำ

 

 

การวินิจฉัยเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก

 

RT-PCR หรือการตรวจหาแอนติเจนโดยวิธี ELISA ในสารคัดหลั่ง ส่งตรวจผ่านห้องปฏิบัติการ

 

  • เป็นการตรวจผสมผสานระหว่างหาแอนติเจนหรือ RNA ร่วมกับแอนติบอดี IgM หรือ IgG

 

การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ

 

  • หาความเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนชนิด IgM และ IgG ในนํ้าเหลือง ของผู้ป่วย อาจใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในชิ้นเนื้อ บริเวณตับ ม้าม ผิวหนัง หรืออวัยวะอื่นๆ

 

เป็นเรื่องยากที่จะแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก เพราะมีอาการคล้ายกับหลาย ๆ โรค เช่น มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรืออีโบลา ไข้ลาสซา (Lassa Fever)

 

 

วิจัยเชื้อไวรัส

 

 

การรักษาไวรัสมาร์บวร์ก

 

ปัจจุบันยังไม่มียา หรือวัคซีนโดยเฉพาะ แพทย์จะรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย เช่น

 

  • การให้น้ำทางปากและหลอดเลือดดำ

 

  • การให้เลือด

 

  • รับประทานยาต้านไวรัส และยาเสริมภูมิคุ้มกัน

 

 

ตัวอย่างเลือดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก

 

 

การป้องกันไวรัสมาร์บวร์ก

 

  • ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่า

 

  • เลี่ยงการสัมผัสสุกรในพื้นที่การระบาด

 

  • ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ ควรสวมใส่ถุงยางอนามัยจนกว่าผลตรวจอสุจิเป็นลบ 2 ครั้ง

 

  • ระมัดระวังการสัมผัสผู้เสียชีวิตจากเชื้อนี้โดยตรง

 

 

เรามักจะได้ยินข่าวการระบาดของเชื้อไวรัสมาร์บวร์กในคองโก ยูกันดา แองโกลา มีผู้เสียชีวิตรวม ๆ แล้ว หลักร้อยคน แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่ก็ควรจับตาเฝ้าระวังไว้ เพราะ สภาพภูมิอากาศ บุคคลภายนอกเดินทางเข้ามายังในประเทศ อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

อีโบลา (Ebola) โรคไข้เลือดออกจากไวรัส