โซเดียมแฝง ในอาหาร สาเหตุในการเกิดโรคที่ปราศจากความเค็ม
โซเดียมแฝง ในอาหาร สาเหตุในการเกิดโรคที่ปราศจากความเค็ม

โซเดียมแฝง คือ โซเดียมที่อยู่ในสารประกอบต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งโซเดียมเหล่านี้อาจไม่ได้มีรสชาติเค็มเหมือนเกลือแกงที่คิดว่าเป็นโซเดียมเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมแฝงมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคร้ายต่างๆ เป็นอันตรายต่อร่างกาย สามารถกล่าวได้ว่าโซเดียมแฝง ในอาหารเป็นสาเหตุในการเกิดโรคที่ปราศจากความเค็ม

 

 

โซเดียมแฝงมีอะไรบ้าง

 

โมโนโซเดียมกลูตาเมต

      

  • หรือผงชูรส วัตถุเจือปนอาหาร ที่มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น รสชาติแปลกๆ แต่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยขึ้นได้ ซึ่งสารกลูตาเมตในผงชูรสนั้นจะไปกระตุ้นตุ่มรับรสในปาก และลำคอให้ขยายตัวจึงทำให้รับรสได้ไวกว่าปกติ ทำให้อาหารที่โมโนโซเดียมกลูตาเมต หรือผงชูรสนั้นมีความอร่อย

 

โซเดียมไนไตรท์

      

  • วัตถุเจือปนอาหาร ที่มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น รสชาติออกไปทางเค็ม ช่วยป้องกันการเน่าเสียของอาหาร และทำให้เนื้อสัตว์มีสีที่สดใหม่อยู่เสมอ โซเดียมไนไตรท์มักจะอยู่ในอาหารจำพวก ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง และปลาเค็มตากแห้ง เป็นต้น

 

โซเดียมเบนโซเอต

      

  • หรือสารกันบูด ที่มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว สามารถละลายในน้ำได้ มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงใช้โซเดียมเบนโซเอต หรือสารกันบูด ใช้ในการถนอมอาหาร เพื่อให้อาหารเกิดการเน่าเสียได้นานกว่าปกติ สารกันบูดมักจะอยู่ในอาหารจำพวก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ อาหารดอง และน้ำส้มสายชู เป็นต้น

 

โซเดียมไบคาร์บอเนต

      

  • หรือเบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ละลายในน้ำได้ ช่วยให้ลักษณะอาหารฟูขึ้น เบกกิ้งโซดามักจะอยู่ในอาหารจำพวก เบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ และขนมปัง เป็นต้น

 

โซเดียมอัลจิเนต

           

  • วัตถุเจือปนอาหาร ที่มีคุณสมบัติที่ทำให้ให้เกิดการคงตัว ลักษณะอาหารที่ใช้โซเดียมอัลจิเนตเป็นส่วนประกอบ จึงมีลักษณะหนืด ข้น มักจะอยู่ในอาหารจำพวก เจลลี่ ไข่มุก และไอศกรีม เป็นต้น

 

โซเดียมซอร์เบต

 

  • สารกันเสียชนิดหนึ่ง ใช้ในการถนอมอาหาร เพื่อให้อาหารเกิดการเน่าเสียได้นานกว่าปกติ มักจะอยู่ในอาหารจำพวก เนย ชีส และโยเกิร์ต เป็นต้น

 

 

อาหารที่มีโซเดียมแฝง

 

เครื่องปรุงรสต่างๆ ได้แก่

      

  • ซีอิ๊วขาว

      

  • กะปิ

      

  • น้ำปลา

      

  • ซอสปรุงรส

      

  • ผงชูรส

      

  • ซุปก้อน

      

  • เครื่องปรุงรส

 

อาหารแปรรูป ที่มักจะวางขายอยู่ตามร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าทั่วไป ได้แก่

       

  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

      

  • โจ๊กสำเร็จรูป

      

  • อาหารกระป๋อง

      

  • ข้าวกล่องสำเร็จรูป

      

  • อาหารแช่แข็ง

           

  • น้ำจิ้ม และน้ำพริกต่างๆ

 

ขนมประเภทเบเกอรี่ ต่างๆ ได้แก่

      

  • เค้ก

      

  • คุกกี้

      

  • ขนมปัง

      

  • แพนเค้ก

 

เครื่องดื่มที่มีสีสันตามห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ ได้แก่

      

  • น้ำอัดลม

      

  • เครื่องดื่มชูกำลัง

      

  • น้ำผลไม้ ที่มีการแต่งกลิ่น (ที่ไม่ได้คั้นจากผลไม้)

 

วัตถุดิบอาหารที่มีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ได้แก่

      

  • อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ แต่ก็ยังมีปริมาณโซเดียมที่น้อยกว่าอาหารที่ผ่านการปรุงแต่ง

 

 

โรคที่เกิดจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไป

 

  • ไตวาย

     

  • โรคกระดูกพรุน

      

  • โรคความดันโลหิตสูง

           

  • โรคหัวใจ

      

  • โรคหลอดเลือดในสมอง

      

  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

      

  • โรคหอบหืด

 

 

เครื่องปรุงรส

 

 

วิธีลดโซเดียมในอาหาร

 

  • ควรบริโภคอาหารธรรมชาติ เช่น ทำอาหารเองจาก ผักสด ผลไม้สด และธัญพืช

           

  •  หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป หรืออาหารแช่แข็ง

      

  • หลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรสต่างๆ โดยเฉพาะผงชูรส

      

  • หลีกเลี่ยงอาหารลดจัด ไม่ว่าจะเป็น เค็มจัด หวานจัด

      

  • หลีกเลี่ยงวัตถุดิบอาหารที่มีส่วนของโซเดียมแฝง โดยการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ

 

 

แม้ว่าจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเค็มแล้ว แต่โซเดียมก็ไม่ได้มีอยู่ในอาหารรสชาติเค็ม เพราะ เครื่องดื่มบางอย่างที่มีรสชาติหวาน ก็มีโซเดียมแฝงอยู่เยอะ เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้สีสันต่างๆ ควรบริโภคน้ำเปล่าแทน โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ว่า ร่างกายควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หากได้รับปริมาณโซเดียมตามที่กำหนดนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ขึ้น แก่ร่างกายได้