หนองในเยื่อหุ้มปอด  มักจะเกิดหลังติดเชื้อปอดอักเสบ
หนองในเยื่อหุ้มปอด  มักจะเกิดหลังติดเชื้อปอดอักเสบ

หนองในเยื่อหุ้มปอด  (Empyema Thoracis) หรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด คือโรคที่เกิดความผิดปกติบริเวณช่องว่างระหว่างเยื่อ 2 ชั้นที่หุ้มอยู่รอบๆ ปอด ซึ่งปกติแล้ว จะมีน้ำหล่อลื่นอยู่เพียงเล็กน้อย แต่เมื่อมีโลหิต หรือหนองขังอยู่ในบริเวณนั้น ทำให้เยื่อหุ้มปอด เกิดการระคายเคือง หรืออักเสบขึ้นได้ โดยโรคหนองในเยื่อหุ้มปอด  มักจะเกิดหลังติดเชื้อปอดอักเสบ ผู้ป่วยโรคประจำตัวอื่นๆ หรือแม้กระทั่งบุคคลปกติทั่วไปที่ไม่มีปัญหาสุขภาพก็เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้

 

 

สาเหตุของหนองในเยื่อหุ้มปอด

 

มักจะเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ ดังนี้

 

  • ปอดอักเสบ

 

  • วัณโรคปอด

 

  • มะเร็งปอด

 

  • ฝีตับอะมีบา

 

  • ตับแข็ง

 

  • ตับอ่อนอักเสบ

 

  • ภาวะหัวใจวาย

 

  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

 

  • โรคปวดข้อรูมาตอยด์

 

  • เอสแอลอี

 

 

อาการโรคหนองในเยื่อหุ้มปอด

 

  • เจ็บหน้าอก

 

  • เจ็บแปลบๆ เมื่อหายใจ

 

  • หายใจไม่สะดวก

 

  • เหนื่อย หอบ

 

อาการอื่นๆ ตามสาเหตุของโรค ได้แก่

 

  • เป็นไข้

 

  • ไอเรื้อรัง

 

  • มีโลหิต หรือหนองออกมาร่วมกับเสมหะ หลังจากการไอ

 

  • ปวดท้อง หรือมีอาการท้องบวม

 

  • ปวดตามข้อกระดูก

 

 

การวินิจฉัยหนองในเยื่อหุ้มปอด

 

  • แพทย์จะทำการใช้เครื่องตรวจฟังปอดของผู้ป่วย หากเป็นโรคหนองในเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะไม่ค่อยได้ยินเสียงหายใจ

 

  • การเจาะปอด (Thoracentesis) เพื่อวินิจฉัยการแยกโรค ที่มีลักษณะคล้ายหนองในเยื่อหุ้มปอด เช่น วัณโรค หรือมะเร็งปอด

 

  • การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan)

 

  • การใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

การรักษาหนองในเยื่อหุ้มปอด

 

  • การใส่ท่อระบายหนองออก

 

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ

 

  • การผ่าตัดระบายหนองแบบปิด (Decortication)

 

  • การผ่าตัดระบายหนองส่องกล้อง (Video assisted thoracoscopic surgery ; VATs)

 

 

เจ็บปอด

 

 

การป้องกันโรคหนองในเยื่อหุ้มปอด

 

  • รักษาโรคประจำตัว หรืออาการความผิดปกติของร่างกายให้หายขาด

 

  • เลิกพฤติกรรมสูบบุหรี่

 

  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวก

 

  • หลีกเลี่ยงฝุ่น หรือสภาพแวดล้อมใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหนองในเยื่อหุ้มปอดอย่างรุนแรง จะต้องเข้ารับการผ่าตัดระบายหนอง ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้องนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากของเหลวบริเวณนั้น และลดการหนาตัวของเยื่อหุ้มปอด ที่ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากเพราะปอดแฟบขยายตัวได้น้อยลง อีกทั้งแผลจากการผ่าตัดในรูปแบบนี้จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ ลดการพักฟื้นกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติในระยะเวลาที่น้อยลง

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

 

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ